ข้อมูลภาพรวมของสังกะสี
สังกะสี (Zinc) เป็น “แร่ธาตุที่พบน้อยแต่จำเป็น” สำหรับร่างกาย (essential trace element) เพราะว่าเพียงแค่สังกะสีปริมาณเล็กน้อยก็จำเป็นต่อการคงสุขภาพที่ดีของมนุษย์แล้ว เนื่องจากว่าร่างกายมนุษย์ไม่สามารถกักเก็บสังกะสีเองได้จึงต้องได้รับมาด้วยการรับประทานอาหารเข้าไปเท่านั้น อาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสีมีทั้งเนื้อแดง, เนื้อสัตว์ปีก, และปลา เมื่อขาดสังกะสีจะทำให้เกิดภาวะขาดสังกะสีขึ้น (Zinc deficiency) ที่จะทำให้เกิดภาวะตัวเล็ก (short stature), ลดความสามารถในการรับรสจากอาหาร, และทำให้รังไข่ทำงานผิดปรกติได้
สังกะสีถูกนำไปรับประทานเพื่อรักษาและป้องกันภาวะขาดสังกะสีและภาวะอื่น ๆ ที่จะตามมาอย่างชะลอการเจริญเติบโตและทำให้เกิดอาการท้องร่วงฉับพลันในเด็ก, ชะลอการสมานบาดแผล, และทำให้เกิดโรควิลสัน (Wilson's disease)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สังกะสียังถูกใช้เพื่อเร่งระบบภูมิคุ้มกัน, เร่งการเจริญเติบโตและสุขภาพของภาวะขาดสังกะสีในทารกและเด็กเล็ก, เพื่อรักษาไข้หวัดและการเกิดภาวะติดเชื้อในหูซ้ำซาก, ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง, ไข้หวัดหมู, การติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ, หูอื้อ, และอาการบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง อีกทั้งยังสามารถใช้สังกะสีรักษาโรคมาลาเรียและโรคอื่น ๆ จากเชื้อปรสิตได้ด้วย
บางคนใช้สังกะสีรักษาโรคจุดภาพชัดที่ตาเสื่อม (macular degeneration), สำหรับภาวะตาบอดกลางคืน, และต้อกระจก (cataracts) อีกทั้งยังสามารถใช้กับโรคหอบหืด (asthma), เบาหวาน (diabetes) และภาวะเสียหายทางประสาทจากเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, AIDS/HIV, ภาวะแทรกซ้อนกับครรภ์ที่เกิดจาก AIDS/HIV, อาการท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับ HIV, และระดับบิลิรูบิน (bilirubin) ในเลือดสูง (hyperbilirubinemia)
สังกะสียังถูกนำไปรับประทานรักษาโรคอะโนเร็กเซีย (anorexia nervosa), โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder), ภาวะซึมเศร้า (depression), ภาวะซึมเศร้าหลังตั้งครรภ์ (postpartum depression), โรคสมองเสื่อม (dementia), ปากแห้ง, โรคสมาธิสั้น (attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)), ประสาทรับรสลดลง (hypogeusia), โรคสมองจากโรคตับ (hepatic encephalopathy), โรคตับที่เกิดจากการใช้แอลกอฮอล์, โรคโครห์น (Crohn's disease), โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis), โรคลำไส้อักเสบ, แผลร้อนใน (canker sores), แผลในกระเพาะอาหาร, แผลที่ขา, และแผลกดทับ (bed sores)
ผู้ชายบางคนรับประทานสังกะสีเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยากในชายและภาวะต่อมลูกหมากโต เช่นเดียวกับรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction (ED))
สังกะสีถูกนำไปรับประทานรักษาโรคกระดูกพรุน (osteoporosis), ก้อนซิสต์บนรังไข่, โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis), โรคข้อต่ออักเสบสะเก็ดเงิน (psoriatic arthritis), หูด (warts), ตะคริวในผู้ป่วยโรคตับ อีกทั้งยังใช้เพื่อรักษาโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell disease), อาการคัน, โรคโรซาเชีย (rosacea), ผมร่วง, สะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังอักเสบ (eczema), สิว, ทาลัสซิเมีย (thalassemia), โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease), ดาวน์ซินโดรม (syndrome), โรคแฮนเซน (Hansen's disease), และโรคซิสติก ไฟโบรซิส (cystic fibrosis)
การรับประทานสังกะสียังช่วยป้องกันมะเร็งอย่างมะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, มะเร็งกระเพาะอาหาร, มะเร็งสมอง, ป้องกันการเกิดมะเร็งศีรษะและลำคอซ้ำซาก, มะเร็งจมูกและลำคอซ้ำซาก, และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin (non-Hodgkin's lymphoma) สังกะสียังช่วยป้องกันการอักเสบที่ผนังเยื่อบุระบบย่อย, ลดภาวะแทรกซ้อนจากการบำบัดเคมี, โรคโลหิตจาง (anemia), ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์อย่างภาวะขาดธาตุเหล็ก, ภาวะขาดวิตามิน A, โรคลมชัก, ภาวะเป็นพิษจากสารหนู, โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease (COPD)), หลอดเลือดแดงอุดตัน, ลิวคีเมีย (leukemia), รักษาแผลไหม้, ผื่นจากผ้าอ้อม, โรคเรื้อน (leprosy), และภาวะติดเชื้อลิชมาเนีย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
นักกีฬาบางคนรับประทานสังกะสีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายและเสริมความแข็งแรงของตนเอง
การทาสังกะสีบนผิวหนังสามารถรักษาสิว, แผลที่เท้าจากเบาหวาน, แผลที่ขา, ผื่นจากผ้าอ้อม, หูด, ชะลอการแก่วัยของผิวหนัง, ลดจุดสีน้ำตาลบนใบหน้า, การติดเชื้อเริม, การติดเชื้อปรสิต, และเร่งการสมานตัวของบาดแผล การทาสังกะสีที่ทวารหนักยังช่วยผู้ป่วยที่มีปัญหาการควบคุมการเคลื่อนตัวของลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย
Zinc citrate ถูกใช้รวมอยู่ในยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากเพื่อป้องกันการเกิดคราบหินปูนและเหงือกอักเสบ (gingivitis) สังกะสียังสามารถรวมอยู่ในหมากฝรั่ง, ลูกกวาด, และน้ำยาบ้วนปากเพื่อกำจัดกลิ่นปากได้ด้วย
การฉีดสังกะสีในรูปของสเปรย์พ่นจมูกสามารถรักษาหวัดได้
Zinc sulfate ในน้ำตาหยอดตาสามารถรักษาอาการระคายเคืองที่ตาได้
การฉีดสังกะสีเข้าเส้นเลือดดำมีเพื่อใช้เป็นสารอาหารให้กับผู้ที่กำลังพักฟื้นจากแผลไฟไหม้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ต้องพึงจำไว้ว่าผลิตภัณฑ์สังกะสีหลายตัวยังประกอบด้วยเหล็กที่เรียกว่าแคดเมียม (cadmium) เพราะว่าทั้งสังกะสี (Zinc) และแคดเมียมนั้นมีความคล้ายคลึงกันในระดับเคมีและมักจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติพร้อมกัน การสัมผัสกับแคดเมียมปริมาณสูงในระยะเวลานานสามารถทำให้ไตวายได้ โดยความเข้มข้นของแคดเมียมในอาหารเสริมที่ประกอบด้วยสังกะสีนั้นจะมีปริมาณที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงควรมองหาผลิตภัณฑ์ zinc-gluconate ที่ประกอบด้วยแคดเมียมปริมาณต่ำที่สุด
สังกะสีออกฤทธิ์อย่างไร?
สังกะสีเป็นธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการคงสภาพของร่างกายมนุษย์ สังกะสีถูกพบในระบบปฏิกิริยาทางชีวภาพมากมาย และยังเป็นสารที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน, การสมานบาดแผล, การเกิดลิ่มเลือด, การทำงานของไทรอยด์, และอื่น ๆ มากมาย โดยคุณสามารถรับสังกะสีเข้ามาได้จากการรับประทานอาหารจำพวกผลิตภัณฑ์จากนมวัว, ถั่ว, เนื้อ, อาหารทะเล, และธัญพืช
ภาวะขาดสังกะสีเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยทั่วโลก และนับว่าหายากมากในบางประเทศ อาการของภาวะนี้มีทั้งการเจริญเติบโตล่าช้า, มีระดับอินซูลินต่ำ, ความอยากอาหารน้อยลง, ฉุนเฉียว, บาดแผลหายช้า, ประสาทรับรสและกลิ่นถดถอย, ท้องร่วง, และคลื่นไส้ ภาวะขาดสังกะสีชนิดปานกลางนั้นเกี่ยวข้องกับภาวะผิดปรกติของลำไส้ที่เข้าไปรบกวนการดูดซับสารอาหาร (malabsorption syndromes), ภาวะติดแอลกอฮอล์ (alcoholism), โรคไตล้มเหลวเรื้อรัง, และโรคที่ทำให้อ่อนเพลีย (chronic debilitating diseases)
สังกะสีมีบทบาทสำคัญในการคงสภาพการมองเห็นและมีอยู่ในระดับที่เข้มข้นมากในดวงตา ภาวะขาดสังกะสีจะเปลี่ยนแปลงการมองเห็นของมนุษย์ และภาวะที่รุนแรงจะทำให้จอตา (retina) เปลี่ยนรูปไป
สังกะสียังมีบทบาทในการต่อสู้กับไวรัสต่าง ๆ โดยมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการของไข้หวัดปรกติ (rhinovirus ) แต่กระนั้นนักวิจัยส่วนมากยังคงไม่สามารถอธิบายการทำงานของสังกะสีได้ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าสังกะสีอาจมีกิจกรรมต้านไวรัสบางอย่างกับไวรัสโรคเริมเช่นกัน
ระดับสังกะสีที่ต่ำนั้นอาจมีเกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยากในชาย, โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว, HIV, ภาวะซึมเศร้ารุนแรง, และเบาหวานประเภท 2 ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการทานอาหารเสริมสังกะสีเอง
การใช้และประสิทธิภาพของสังกะสี
ภาวะที่ใช้สังกะสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ภาวะขาดสังกะสี (Zinc deficiency) ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการท้องร่วงรุนแรง,ภาวะที่ทำให้ลำไส้ดูดซับอาหารยากขึ้น, โรคตับแข็ง, และภาวะติดแอลกอฮอล์, หรือหลังจากการผ่าตัดใหญ่, และจากการใช้สายยางส่งอาหารในโรงพยาบาลในระยะยาว การทานหรือฉีดสังกะสีเข้าเส้นเลือด (intravenously (by IV)) จะช่วยคืนระดับสังกะสีในผู้ป่วยภาวะขาดสังกะสีได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยภาวะนี้ไม่ถูกแนะนำให้ใช้อาหารเสริมสังกะสี
ภาวะที่ใช้สังกะสีได้อย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ
- ท้องร่วง การทานสังกะสีจะช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของโรคท้องร่วงในเด็กที่ขาดสารอาหารหรือมีภาวะขาดสังกะสีได้ โดยภาวะขาดสังกะสีในเด็กชนิดรุนแรงนั้นมักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาต่าง ๆ อีกทั้งการให้สังกะสีกับผู้หญิงมีครรภ์ที่ขาดสารอาหารและสตรีหลังคลอดบุตรแล้วหนึ่งเดือนจะช่วยลดการเกิดอาการท้องร่วงของทารกได้ในช่วงปีแรกของชีวิต
- ภาวะทางพันธุกรรมที่เรียกว่าโรควิลสัน (Wilson's disease) การทานสังกะสีจะลดอาการจากโรควิลสันได้ โดยผู้ป่วยโรคนี้จะมีทองแดง (copper) ในร่างกายมากเกินไป ซึ่งสังกะสีจะช่วยยับยั้งการดูดซับทองแดงและเพิ่มการปลดปล่อยทองแดงออกจากร่างกายขึ้น
ภาวะที่อาจใช้สังกะสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สิว งานวิจัยกล่าวว่าผู้ที่เป็นสิวจะมีระดับสังกะสีในเลือดและผิวหนังที่ต่ำ ดังนั้นการทานสังกะสีจะช่วยรักษาสิวได้ อย่างไรก็ตามก็ยังคงไม่ชัดเจนประโยชน์จากการใช้สังกะสีว่ามากหรือน้อยกว่าการใช้ยาสำหรับสิวอย่าง tetracycline หรือ minocycline อย่างไรบ้าง อีกทั้งการทาขี้ผึ้งสังกะสีบนผิวก็ไม่สามารถช่วยรักษาสิวได้นอกจากจะใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ erythromycin
- ภาวะทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการบริโภคสังกะสี (acrodermatitis enteropathica) การทานสังกะสีอาจช่วยลดอาการจากโรคนี้ได้
- โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมจากอายุ (age-related macular degeneration) ผู้ที่บริโภคสังกะสีในอาหารมากจะมีความเสี่ยงต่อโรคทางสายตาประเภทนี้น้อยลง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานอาหารเสริมสังกะสีกับวิตามินต้านอนุมูลอิสระอาจชะลอและป้องกันการสูญเสียการมองเห็นจากอายุได้ค่อนข้างดีในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง แต่ก็ยังคงไม่ชัดเจนว่าการทานสังกะสีร่วมกับวิตามินต้านอนุมูลอิสระจะช่วยป้องกันไม่ให้โรคเหล่านี้ทรุดหนักกว่าเดิมได้หรือไม่ โดยงานวิจัยส่วนมากแสดงให้เห็นว่าการทานเพียงสังกะสีอย่างเดียวไม่อาจช่วยผู้ป่วยที่มีปัญหาสูญเสียการมองเห็นจากอายุได้ แต่ก็อาจเป็นไปได้ที่คนในกลุ่มทดลองบางคนจะมีพันธุกรรมบางตัวที่ทำให้พวกเขาอ่อนแอต่อโรคทางสายตานี้มากขึ้นและทำให้มีการตอบสนองต่ออาหารเสริมสังกะสีมากกว่าผู้อื่น
- อะโนเร็กเซีย (Anorexia) การทานอาหารเสริมสังกะสีอาจช่วยเพิ่มน้ำหนักและลดอาการจากภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่มีภาวะอะโรเร็กเซียได้
- โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)) การทานสังกะสีร่วมกับยาตามแบบแผนอาจช่วยลดความตื่นตัว, ความหุนหันพลันแล่น, และปัญหาการสื่อสารในสังคมของเด็ก ADHD ได้เล็กน้อย อย่างไรก็ตามสังกะสีอาจไม่ได้ช่วยเพิ่มระยะเวลาของสมาธิพวกเขาขึ้น งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าเด็ก ADHD จะมีระดับสังกะสีในเลือดต่ำกว่าเด็กที่ไม่ได้เป็น ADHD งานวิจัยอีกชิ้นก็เสริมว่าผู้ป่วย ADHD ที่มีระดับสังกะสีน้อยจะมีการตอบสนองต่อยารักษา ADHD ที่ไม่ดีเท่าที่ควร (ยากระตุ้น) การศึกษาเรื่อของการใช้สังกะสีกับ ADHD ได้จัดทำขึ้นในประเทศแถบตะวันออกกลางที่ซึ่งภาวะขาดสังกะสีเป็นภาวะที่พบเห็นได้ทั่วไปเมื่อเทียบกับข้อมูลจากบรรดาประเทศในแถบตะวันตก จึงทำให้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสังกะสีจะส่งผลดีแบบเดียวกันกับประชากร ADHD จากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหรือไม่
- แผลไฟไหม้ การฉีดสังกะสีทางเส้นเลือด (IV) ร่วมกับแร่ธาตุอื่น ๆ อาจช่วยเร่งการสมานตัวของแผลไหม้ได้ แต่การทานสังกะสีเพียงอย่างเดียวไม่อาจเพิ่มการฟื้นตัวของบาดแผลทั้งหมดของผู้บาดเจ็บ แต่ก็อาจช่วยร่นระยะเวลาฟื้นตัวจากแผลไหม้รุนแรงได้
- เนื้องอกในทวารหนักและลำไส้ใหญ่ งานวิจัยกล่าวว่าการทานอาหารเสริมที่ประกอบด้วยเซเลเนียม (selenium), สังกะสี, วิตามิน A2, วิตามิน C, และวิตามิน E ทุกวันนาน 5 ปีจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ซ้ำได้ประมาณ 40%
- หวัด แม้ว่าจะมีผลการศึกษาที่ขัดแย้งกันอยู่ แต่งานวิจัยส่วนมากก็แสดงให้เห็นว่าการทานลูกอมยาที่ประกอบด้วย zinc gluconate หรือ zinc acetate จะช่วยลดระยะเวลาของหวัดในผู้ใหญ่ได้ อย่างไรก็ตามการทำเช่นนี้ก็ส่งผลข้างเคียงเช่นกันอย่างเช่นทำให้ยามีรสชาติแย่และทำให้ผู้ใช้คลื่นไส้จนจำกัดสรรพคุณของยาลง อีกทั้งยังไม่ชัดเจนว่าสังกะสีช่วยป้องกันหวัดได้หรือไม่ สำหรับผู้ใหญ่นั้นการทานอาหารเสริมสังกะสีอาจไม่สามารถป้องกันหวัดได้ แต่ลูกอมยา zinc gluconate อาจช่วยป้องกันหวัดในเด็กและวัยรุ่นได้ และการใช้สเปรย์จมูกที่มีสังกะสีเองก็ไม่สามารถป้องกันหวัดได้
- ภาวะซึมเศร้า (Depression) งานวิจัยทางประชากรกล่าวว่าผู้ป่วยซึมเศร้าจะมีระดับสังกะสีในร่างกายต่ำ โดยมีงานวิจัยชิ้นอื่นที่กล่าวว่าการทานสังกะสีร่วมกับยาต้านซึมเศร้าจะช่วยลดอาการของผู้ป่วยซึมเศร้าขั้นรุนแรงลงได้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยอื่นกลับแย้งว่าการทำเช่นนี้ช่วยได้เฉพาะผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าอย่างเดียวเท่านั้น อีกทั้งการรักษารูปแบบนี้ก็ไม่อาจส่งผลต่อผู้ป่วยซึมเศร้าที่มีการตอบสนองต่อยาต้านซึมเศร้าดีอยู่แล้วอีกด้วย
- แผลที่เท้าเนื่องจากเบาหวาน งานวิจัยกล่าวว่าการทาเจล zinc hyaluronate สามารถช่วยให้แผลที่เท้าฟื้นตัวเร็วกว่าการใช้ยาตามปรกติ
- ผื่นจากผ้าอ้อม การทาน zinc gluconate กับทารกอาจเร่งกระบวนการฟื้นตัวของผื่นจากผ้าอ้อมขึ้นได้ โดยการทายา zinc oxide เองก็สามารถให้ผลเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามการรักษาแบบนี้อาจไม่ได้ผลเทียบเท่ากับการใช้สารละลาย eosin 2%
- เหงือกอักเสบ (Gingivitis) การใช้ยาสีฟันที่ประกอบด้วยสังกะสีทั้งแบบที่มีและไม่มีสารต้านแบคทีเรียจะช่วยป้องกันคราบหินปูนและโรคเหงือกอักเสบได้ โดยมีหลักฐานบางชิ้นที่แสดงให้เห็นว่ายาสีฟันที่มีสังกะสีนั้นสามารถลดคราบหินปูนที่มีได้ อย่างไรก็ตามก็อาจไม่ดีเท่ากับการรักษาตามปรกติ อีกทั้งงานวิจัยส่วนมากก็แสดงให้เห็นว่า zinc citrate กับ triclosan สามารถใช้การได้ดีอีกด้วย
- กลิ่นปาก งานวิจัยกล่าวว่าการเคี้ยวหมากฝรั่ง, การอมลูกอม, หรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่ประกอบด้วยสังกะสีสามารถลดกลิ่นปากได้
- โรคเริม (Herpes simplex virus) การทา zinc sulfate หรือ zinc oxide บนผิวหนังทั้งเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับส่วนผสมอื่น ๆ สามารถลดระยะเวลาและความรุนแรงของการติดเชื้อเริมในช่องปากหรือบนอวัยวะเพศได้ อย่างไรก็ตามสังกะสีอาจไม่สามารถป้องกันการติดโรคเริมซ้ำได้
- ความสามารถในการรับรสน้อยลง (hypogeusia) งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการทานสังกะสีไม่อาจแก้ไขภาวะการรับรสผิดปรกติในเด็กที่ป่วยเป็นโรคขาดสังกะสีได้ แต่งานวิจัยส่วนมากกลับแย้งว่าการทานสังกะสีอาจสามารถช่วยผู้ที่มีความสามารถในการรับรสน้อยจากโรคขาดสังกะสีหรือภาวะสุขภาพอื่น ๆ ได้
- รอยโรคที่ผิวหนัง (Leishmania lesions) งานวิจัยกล่าวว่าการทานหรือฉีดสารละลาย zinc sulfate เข้ารอยโรคอาจช่วยรักษารอยโรคของผู้ป่วย Leishmaniasis ได้ อย่างไรก็ตามการฉีดสารละลายสังกะสีเข้ารอยโรคนั้นอาจมีประสิทธิภาพด้อยกว่าการรักษาตามปรกติ
- โรคเรื้อน (Leprosy) การทานสังกะสีร่วมกับการใช้ยาต้านเรื้อนอาจสามารถรักษาโรคเรื้อนได้
- ตะคริวที่กล้ามเนื้อ การทานสังกะสีอาจช่วยรักษาอาการตะคริวที่กล้ามเนื้อของผู้ป่วยโรคตับแข็งและภาวะขาดสังกะสีได้
- โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) การบริโภคสังกะสีในปริมาณน้อยอาจมีความเชื่อมโยงกับมูลกระดูกที่น้อยลง ดังนั้นการทานสังกะสีร่วมกับทองแดง, แมงกานีส, และแคลเซียมอาจลดการสูญเสียมวลกระดูกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้
- โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) การทาน zinc acexamate อาจช่วยรักษาและป้องกันแผลในกระเพาะอาหารได้
- ปอดบวม (Pneumonia) งานวิจัยส่วนมากกล่าวว่าการทานสังกะสีอาจช่วยป้องกันโรคปอดบวมในเด็กที่ขาดสารอาหารได้ อย่างไรก็ตามก็มีข้อมูลจากงานวิจัยในเรื่องผลของการใช้สังกะสีในการรักษาปอดบวมที่มีอยู่แล้วที่ขัดแย้งกันอยู่
- ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ การทานสังกะสีระหว่างตั้งครรภ์อาจลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ อย่างไรก็ตามหากเป็นการใช้อาหารเสริมอาจไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการตายคลอดของทารกได้ การทานวิตามิน A ร่วมกับสังกะสีอาจช่วยฟื้นฟูการมองเห็นในตอนกลางคืนของผู้หญิงมีครรภ์ได้ แต่หากเป็นการใช้เพียงสังกะสีเพียงอย่างเดียวนั้นกลับไม่ได้ส่งผลเช่นนี้ อีกทั้งการทานสังกะสีอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้หญิงที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ แต่ไม่อาจช่วยลดความจำเป็นในการผ่าตัดคลอดของผู้หญิงกลุ่มนี้แต่อย่างใด
- แผลกดทับ (Bed sores) การทายาสังกะสีอาจช่วยเร่งการฟื้นตัวจากแผลกดทับในผู้สูงอายุได้ อีกทั้งเมื่อเพิ่มปริมาณการใช้สังกะสีในอาหารขึ้นก็สามารถเร่งการฟื้นตัวจากแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงที่โรงพยาบาลได้ด้วย
- อาหารเป็นพิษ (shigellosis) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานไซรัปวิตามินรวมที่ประกอบด้วยสังกะสีร่วมกับการรักษาตามปรกติสามารถลดระยะเวลาฟื้นตัวและลดอาการท้องร่วงของเด็กที่ขาดสารอาหารและมีภาวะอาหารเป็นพิษได้
- โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease) การทานสังกะสีอาจช่วยลดอาการจากโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวในผู้ป่วยภาวะขาดสังกะสีได้ โดยการทานอาหารเสริมสังกะสียังช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ได้ด้วย
- แผลที่ขา การทาน zinc sulfate อาจช่วยรักษาแผลที่ขาบางประเภทให้หายเร็วขึ้น โดยผลจะยิ่งมากขึ้นในกลุ่มคนที่มีระดับสังกะสีต่ำก่อนการรักษา อีกทั้งหากใช้วิธีทายาสังกะสีที่แผลจะช่วยเร่งการสมานตัวมากขึ้น
- ภาวะขาดวิตามิน A การทานสังกะสีร่วมกับวิตามิน A สามารถเพิ่มระดับของวิตามิน A ในเด็กที่ขาดสารอาหารได้ดีกว่าการใช้วิตามิน A หรือสังกะสีเพียงอย่างเดียว
- หูด (Warts) งานวิจัยกล่าวว่าการทาสารละลาย zinc sulfate จะช่วยบรรเทาหูดชนิดแบนราบลงแต่ไม่ใช่กับหูดปรกติ อีกทั้งการทา zinc oxide ยังมีประสิทธิผลที่ดีกว่าการรักษาหูดตามปรกติ โดยการรับประทาน zinc sulfate เองก็มีประสิทธิภาพเช่นกัน
ภาวะที่สังกะสีอาจไม่สามารถรักษาได้
- มาลาเรีย (Malaria) การรับประทานสังกะสีไม่อาจช่วยป้องกันหรือรักษาโรคมาลาเรียในเด็กที่ขาดสารอาหารในประเทศที่กำลังพัฒนาได้
ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้สังกะสีรักษาได้หรือไม่
- การติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับ AIDS เนื่องจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีหลักฐานบางชิ้นที่กล่าวว่าการทานอาหารเสริมสังกะสีร่วมกับยา zidovudine อาจช่วยลดการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเนื่องจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้ อย่างไรก็ตามสังกะสีก็อาจส่งผลเสียต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย AIDS ได้
- โรคตับที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ การทาน zinc sulfate อาจเพิ่มการทำงานของตับผู้ป่วยโรคตับจากการใช้แอลกอฮอล์ได้
- โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการทานอาหารเสริมสังกะสีอาจชะลอการทรุดลงของอาการจากโรคอัลไซเมอร์ได้
- โรคโลหิตจาง (Anemia) งานวิจัยกล่าวว่าการให้ข้าวต้มที่ผสมสังกะสีและวิตามินกับเกลือแร่ต่าง ๆ แก่ทารกจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคโลหิตจางได้
- ได้รับพิษสารหนู งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีร่วมกับ spirulina สามารถลดอาการและระดับสารหนูในปัสสาวะและเส้นผมของผู้ที่มีภาวะได้รับพิษจากสารหนูระยะยาวได้
- หอบหืด (Asthma) การทานสังกะสีไม่มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืดในเด็ก
- เบต้าทาลัสซีเมีย (beta-thalassemia) งานวิจัยกล่าวว่าการทาน zinc sulfate ในขณะที่เข้ารับการถ่ายเลือดจะเพิ่มการเจริญเติบโตในเด็กที่ป่วยเป็นโรคเบต้าทาลัสซีเมียได้เมื่อเทียบกับการถ่ายเลือดเพียงอย่างเดียว
- เนื้องอกในสมอง งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสมองแต่อย่างใด
- การติดเชื้อที่หลอดลมที่ทำให้ภายในปอดบวม (bronchiolitis) การทานสังกะสีขณะที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจเร่งการฟื้นตัวของคนไข้โรคติดเชื้อในหลอดลม
- แผลร้อนใน (Canker sores) งานวิจัยกล่าวว่าการทาน zinc sulfate จะช่วยบรรเทาแผลร้อนในและป้องกันการเป็นซ้ำได้ แต่ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แย้งว่าไม่พบสรรพคุณของสังกะสีในข้อนี้
- ภาวะแทรกซ้อนจากการบำบัดเคมี งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีไม่ส่งผลต่อผลข้างเคียงจากการบำบัดเคมีอย่างอาการคลื่นไส้อาเจียนในเด็กที่กำลังรักษาลิวคีเมียแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามการทานสังกะสีอาจจะช่วยลดจำนวนการติดเชื้อได้
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disorder (COPD)) งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีทุกวันหลังฟื้นตัวจากการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับ COPD จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อเพิ่มเติมในผู้สูงอายุได้
- มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก งานวิจัยประชากรกล่าวว่าการเพิ่มปริมาณการบริโภคสังกะสีเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งประเภทนี้ 17-20%
- โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล แต่ไม่ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดแดงอุดตัน
- สูญเสียความทรงจำ (dementia) งานวิจัยกล่าวว่าการทาน zinc sulfate จะช่วยปรับพฤติกรรมและความสามารถทางสังคมของผู้ที่สูญเสียความจำได้
- คราบหินปูน มีหลักฐานที่กล่าวว่าการแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่ประกอบด้วยสังกะสีจะช่วยลดการก่อตัวของหินปูนได้
- เบาหวาน (Diabetes) งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับสารอาหารอื่น ๆ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่มีสุขภาพดีและผู้ป่วยเบาหวาน, โรคอ้วนลงพุง, หรือมีภาวะอ้วนได้
- ความเสียหายที่ประสาทจากเบาหวาน (diabetic neuropathy) งานวิจัยกล่าวว่าการทาน zinc sulfate จะช่วยเพิ่มการทำงานทางประสาทและลดน้ำตาลในเลือดของผู้ที่มีภาวะประสาทเสียหายจากเบาหวานได้
- ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีจะเพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมที่มีภาวะขาดสังกะสีและมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอขึ้น แต่ก็มีงานวิจัยอื่น ๆ ที่สรุปผลขัดแย้งกับผลลัพธ์ข้างต้น
- โรคลมชัก (Epilepsy) การทานสังกะสีอาจลดความถี่การเกิดอาการชักขึ้นในเด็กที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ
- มะเร็งหลอดอาหาร งานวิจัยได้เชื่อมโยงว่าการบริโภคสังกะสีในปริมาณต่ำจะทำให้มีความเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหารเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามงานวิจัยชิ้นอื่นกลับแสดงให้เห็นว่าการบริโภคสังกะสีนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับมะเร็งประเภทนี้แต่อย่างใด แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าแหล่งที่มาของสังกะสีที่เป็นตัวส่งผลต่อประโยชน์ในข้อนี้ (เนื้อกับผัก)
- อาการชักจากไข้ การรับประทานสังกะสีอาจช่วยป้องกันภาวะชักจากไข้สูง (Febrile seizures) ในเด็กที่เคยประสบกับอาการนี้มาก่อนได้
- สูญเสียการควบคุมลำไส้ใหญ่ งานวิจัยกล่าวว่าการทาขี้ผึ้งที่ประกอบด้วยอะลูมิเนียมและสังกะสีที่ทวารสามครั้งต่อวันนาน 4 สัปดาห์อาจลดอาการและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้หญิงที่มีปัญหาการเคลื่อนตัวของลำไส้ได้
- มะเร็งกระเพาะอาหาร งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบริโภคสังกะสีไม่มีความเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหารแต่อย่างใด
- มะเร็งศีรษะและลำคอ งานวิจัยกล่าวว่าอาหารเสริมสังกะสีไม่ได้ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตหรือลดการลุกลามของมะเร็งศีรษะและลำคอที่เป็นมาแล้ว 3 ปีแต่อย่างใด
- สูญเสียการทำงานของสมองเนื่องจากปัญหาที่ตับ (Hepatic encephalopathy) งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีอาจเพิ่มการทำงานของสมองผู้ป่วยโรคสมองจากโรคตับได้เล็กน้อย อย่างไรก็ตามสังกะสีก็ไม่อาจช่วยลดความรุนแรงหรือป้องกันการเกิดโรคเดิมซ้ำได้
- อาการท้องร่วงที่เกี่ยวพันกับ HIV การทานสังกะสีในระยะยาวอาจช่วยป้องกันการเกิดอาการท้องร่วงในผู้ใหญ่ที่มีเชื้อ HIV และมีระดับสังกะสีในเลือดต่ำได้ แต่สังกะสีไม่อาจรักษาอาการท้องร่วงที่เกิดจาก HIV ในผู้ใหญ่ได้ สำหรับเด็กมีเชื้อ HIV มีงานวิจัยบางชิ้นที่กล่าวว่าการทานสังกะสีจะช่วยลดการเกิดอาการท้องร่วงของคนกลุ่มนี้ได้เทียบเท่ากับการใช้ยาหลอก (placebo) แต่ก็มีงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าการทำเช่นนี้ไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิดอาการท้องร่วงได้เมื่อนำไปเทียบกับการใช้วิตามิน A
- ปัญหามีบุตรยากในผู้ชาย งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าอาหารเสริมสังกะสีสามารถเพิ่มจำนวนสเปิร์ม, ระดับเทสโทสเตอโรน, และอัตราการตั้งครรภ์ในผู้ชายที่มีปัญหามีบุตรยากที่มีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำได้ งานวิจัยอื่นได้กล่าวเสริมว่าการทานสังกะสียังปรับรูปร่างของสเปิร์มผู้ชายที่มีภาวะเส้นเลือดดำในถุงอัณฑะโตได้ (grade III varicocele) อย่างไรก็ตามสำหรับกลุ่มชายที่มีปัญหามีบุตรยากจากโรคหรือการรักษาทางการแพทย์นั้นการแก้ไขปัญหาประเด็นนี้ด้วยสังกะสียังคงมีข้อสรุปที่ปะปนกันอยู่
- การติดเชื้อในกระเพาะอาหารและการติดเชื้อปรสิต การทานสังกะสีเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับวิตามิน A อาจช่วยรักษาภาวะติดเชื้อปรสิตในเด็กได้บางอย่าง อีกทั้งยังมีข้อมูลงานวิจัยอีกบางชิ้นกล่าวเสริมว่าการทานสังกะสีร่วมกับวิตามิน A จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อบางประเภทได้ แต่กระนั้นก็มีข้อมูลงานวิจัยอื่น ๆ ที่แย้งว่าสังกะสีไม่ได้มีสรรพคุณช่วยลดการติดเชื้อแต่อย่างใด
- ลิวคีเมีย (Leukemia) งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีอาจเพิ่มน้ำหนักและลดอัตราการติดเชื้อในเด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรคลิวคีเมียได้ แต่สังกะสีไม่อาจเพิ่มระดับสารอาหารในร่างกายที่ช่วยให้ร่างกายทำงานตามปรกติได้
- ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย งานวิจัยส่วนมากกล่าวว่าการทานอาหารเสริมสังกะสีระหว่างตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นการลดความเสี่ยงต่อการคลอดทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ อย่างไรก็ตามการผสมสังกะสีในอาหารเสริมโภชนาการแก่ทารกที่คลอดตามกำหนดและมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำที่อยู่ตามประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายกลับเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนบางอย่างลง อีกทั้งยังมีงานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการให้อาหารเสริมสังกะสีแก่ทารกกลุ่มนี้จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักและขนาดความยาวร่างกายขึ้น แต่การใช้อาหารเสริมสังกะสีไม่อาจเพิ่มการเจริญเติบโตของทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำในประเทศอุตสาหกรรมได้
- ฝ้าบนใบหน้า (melasma) งานวิจัยกล่าวว่าการทาสารละลายที่ประกอบด้วยสังกะสีที่ผิวหนังทุกวันนาน 2 เดือนมีประสิทธิผลน้อยกว่าการรักษาขัดผิวกำจัดฝ้าแบบทั่วไป
- มะเร็งจมูกและลำคอ งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีจะเพิ่มอัตราการรอดชีวิตหลังการลุกลามของมะเร็งจมูกและลำคอนาน 5 ปีได้
- ดีซ่านในทารกแรกเกิด งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีสองครั้งต่อวันนาน 7 วันไม่ได้ช่วยลดอาการดีซ่านในทารกแรกเกิดได้
- การบาดเจ็บที่ศีรษะ การฉีดสังกะสีทันทีหลังได้รับการกระทบกระแทกที่ศีรษะอาจช่วยเพิ่มอัตราการฟื้นตัวขึ้นได้
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอด์กกิ้นส์ (non-Hodgkin's lymphoma) งานวิจัยกล่าวว่าการทานอาหารเสริมสังกะสีเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอด์กกิ้นส์ได้
- โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder (OCD)) งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีสองครั้งต่อวันร่วมกับยา fluoxetine นาน 8 สัปดาห์สามารถลดอาการของ OCD ได้มากกว่าการใช้ยา fluoxetine เพียงอย่างเดียวเล็กน้อย
- อาการบวมและแผลในปากที่เกิดจากการบำบัดเคมี, บำบัดรังสี, หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก (hematopoietic stem cell transplantation (HSCT)) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาน zinc sulfate ในขณะที่เข้ารับการบำบัดรังสีจะช่วยป้องกันการเกิดแผลและอาการบวมในช่องปากจากการบำบัดรังสีได้ โดยมีงานวิจัยบางชิ้นที่พบว่าการทาน zinc sulfate สามารถลดความรุนแรงของแผลในปากของผู้ใหญ่ที่เข้ารับการบำบัดเคมีได้เช่นกัน แต่สังกะสีไม่อาจลดแผลในปากของผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายไขกระดูก (HSCT) ได้
- โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome (PCOS)) งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการทานสังกะสีจะช่วยป้องกันการผมบนศีรษะร่วงและลดการงอกของขนบนใบหน้าของผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS ที่กำลังใช้ยา metformin ได้ แต่การทานสังกะสีไม่ได้ช่วยลดสิวหรือระดับฮอร์โมนในร่างกายลง
- ภาวะต่อมลูกหมากโต (prostatis) งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสี, เซเลเนียม, และไอโอดีนร่วมกับยา ofloxacin จะช่วยลดอาการจากภาวะต่อมลูกหมากบวมและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้ยา ofloxacin เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามการทานสังกะสีร่วมกับยา prazosin ไม่อาจช่วยลดอาการใด ๆ ซึ่งไม่แตกต่างจากการใช้ยา prazosin เพียงอย่างเดียว
- ระดับบิลิรูบินในเลือดสูงเนื่องจากการใช้ยาสำหรับ HIV/AIDS กลุ่มของยาต้านไวรัสที่เรียกว่า HIV protease inhibitors สามารถเพิ่มระดับบิลิรูบินในเลือดขึ้น โดยงานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีสีทุกวันนาน 14 วันจะลดระดับบิลิรูบินในเลือดของผู้ป่วยที่กำลังรักษาด้วย HIV protease inhibors atazanavir/ritonavir ลงประมาณ 17-20%
- อาการคัน งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีสองครั้งต่อวันนาน 2 เดือนจะช่วยลดอาการคันของผู้ป่วยโรคไตที่กำลังเข้ารับการฟอกเลือดได้
- ติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) การทานสังกะสีร่วมกับยาปฏิชีวนะอาจช่วยป้องกันสมองของทารกที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการทานสังกะสีจะช่วยให้ทารกมีชีวิตนานขึ้นหรือไม่
- ฟื้นร่างกายจากการผ่าตัด งานวิจัยกล่าวว่าการทานสังกะสีจะช่วยลดระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าตัดกำจัดฝีบริเวณร่องก้น (pilonidal surgery) ลงได้
- การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานสังกะสีจะช่วยลดอาการจากภาวะติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะในเด็กได้เร็วกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยการใช้สังกะสียังอาจลดความถี่ของการเข้าห้องน้ำของเด็กลงได้ด้วย แต่อาจไม่สามารถช่วยลดไข้หรือกำจัดแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะของพวกเขาลงแต่อย่างใด
- สมานบาดแผล งานวิจัยกล่าวว่าการทาสารละลายสังกะสีสองครั้งต่อวันที่บาดแผลจะช่วยสมานแผลได้ดีกว่าการใช้น้ำเกลือทา อย่างไรก็ตามการทาสังกะสีที่ประกอบด้วยอินซูลิน (Humulin by Eli Lilly and Company) อาจจะให้ผลที่ดีกว่าการใช้สารละลายที่มีแค่สังกะสีเพียงอย่างเดียว
- ริ้วรอยของผิว ครีมผิวหนังที่ประกอบด้วยวิตามิน C 10% แบบ L-ascorbic acid กับ acetyl tyrosine, zinc sulfate, sodium hyaluronate, และ bioflavonoids (Cellex-C High Potency Serum) นาน 3 เดือนที่ผิวหน้าที่ดูชราลงจากการสัมผัสแสงอาทิตย์จะช่วยปรับริ้วรอย, ปรับสีผิวที่เหลือง, และลดความหยาบกร้านของใบหน้าลง
- โรคโครห์น (Crohn's disease)
- โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative colitis)
- ภาวะสุขภาพอื่น ๆ
จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของสังกะสีเพิ่มเติม
ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของสังกะสี
สังกะสีถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยที่จะให้ผู้ใหญ่ส่วนมากทาบนผิวหนังหรือนำไปรับประทานในปริมาณที่ไม่เกินกว่า 40 mg ต่อวัน การรับประทานอาหารเสริมสังกะสีนั้นถูกจัดว่าไม่ควรใช้โดยพลการหากไม่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ บางคนอาจประสบกับผลข้างเคียงจากสังกะสีอย่างคลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง, ได้รสเหล็กในปาก, เกิดความเสียหายกับไตและกระเพาะอาหาร, และอื่น ๆ การใช้สังกะสีบนผิวหนังยังอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อน, คัน, เสียวซ่า, และกัดผิว
สังกะสีที่ถูกนำไปรับประทานที่ปริมาณมากกว่า 40 mg ต่อวันยังคงมีความปลอดภัยอยู่ แต่ก็มีข้อกังวลว่าปริมาณที่สูงเช่นนี้อาจทำให้ร่างกายดูดซับทองแดงได้น้อยลง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้
การสูดดมสังกะสีผ่านทางการพ่นใส่จมูกอาจจัดว่าไม่ปลอดภัยเนื่องจากอาจทำให้ผู้ใช้สูญเสียประสาทรับกลิ่นถาวรได้ โดยมีหลักฐานเป็นรายงานประจำปี 2009 (สหรัฐอเมริกา) ว่ามีผู้ที่สูญเสียประสาทรับกลิ่นหลังการใช้สเปรย์พ่นจมูกที่มีสังกะสี (Zicam) ถึง 100 ฉบับ ดังนั้นจึงควรเลี่ยงกรใช้สเปรย์พ่นจมูกที่มีส่วนผสมของสังกะสี
การรับประทานสังกะสีในปริมาณสูงมากจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยเนื่องจากอาจทำให้เกิดไข้, ไอ, ปวดท้อง, เหนื่อยล้า, และปัญหาอื่น ๆ ตามมา
การรับประทานอาหารเสริมสังกะสีมากกว่า 100 mg ต่อวัน หรือทานอาหารเสริมสังกะสีนานกว่า 10 ปีขึ้นไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากขึ้นสองเท่า อีกทั้งมีข้อกังวลว่าการทานวิตามินร่วมกับอาหารเสริมสังกะสีจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมากขึ้นอีกด้วย
การรับประทานสังกะสีทุกวันมากกว่า 450 mg ขึ้นไปสามารถทำให้เกิดปัญหากับธาตุเหล็กในเลือดได้ โดยการใช้สังกะสี 10-30 กรัมเพียงหนึ่งโดสก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:
ทารกและเด็ก: สังกะสีถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และถูกจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยหากบริโภคในปริมาณที่สูง
สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: สังกะสีถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานในปริมาณที่ระบุไว้ในข้อมูลการบริโภคที่แนะนำต่อวัน (recommended daily amounts (RDA)) อย่างไรก็ตามสังกะสีก็ถูกจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยกับแม่ที่ต้องให้นมบุตรและจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยหากให้สตรีมีครรภ์ใช้ในปริมาณสูง ผู้หญิงมีครรภ์ที่อายุเกิน 18 ปีไม่ควรได้รับสังกะสีต่อวันมากกว่า 40 mg, ผู้หญิงมีครรภ์อายุ 14-18 ปีไม่ควรได้รับสังกะสีต่อวันมากกว่า 34 mg ต่อวัน สำหรับผู้ที่ต้องให้นมบุตรที่อายุเกิน 18 ปีไม่ควรได้รับสังกะสีมากกว่า 40 mg ต่อวัน, สำหรับผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรที่อายุ 14-18 ปีไม่ควรได้รับสังกะสีมากกว่า 34 mg ต่อวัน
ภาวะติดแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายดูดซับสังกะสีน้อยลง
เบาหวาน: การใช้สังกะสีในปริมาณสูงสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานลงได้ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรมีการใช้สังกะสีอย่างระมัดระวัง
ฟอกไต: ผู้ที่ต้องเข้ารับการฟอกไตจะมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสังกะสีสูงขึ้น และอาจจำเป็นต้องมีการใช้อาหารเสริมสังกะสี
HIV (human immunodeficiency virus)/ AIDS: หากคุณเป็นผู้ป่วย HIV/AIDS ควรมีการใช้สังกะสีอย่างระมัดระวังเนื่องจากสังกะสีเชื่อมโยงกับระยะเวลามีชีวิตที่ถูกบั่นทอนลง
กลุ่มอาการที่ทำให้ร่างกายดูดซับสารอาหารยากขึ้น: ผู้ที่มีปัญหาดูดซับสารอาหารไม่ดีอาจประสบกับภาวะขาดสังกะสีได้
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis (RA): ผู้ป่วย RA จะมีการดูดซับสังกะสีน้อยลง
การใช้สังกะสีร่วมกับยาชนิดอื่น
ใช้สังกะสีร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
- ยาปฎิชีวนะ (Quinolone antibiotics) กับสังกะสี
สังกะสีจะลดปริมาณการดูดซับยาปฏิชีวนะของร่างกายลง ดังนั้นการทานสังกะสีร่วมกับยาปฏิชีวนะบางตัวอาจลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ลง เพื่อเลี่ยงการตีกันของยาเช่นนี้ควรทานอาหารเสริมสังกะสีหลังทานยาปฏิชีวนะแล้วอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ตัวอย่างยาปฏิชีวนะที่ตีกันสังกะสีมีทั้ง ciprofloxacin (Cipro), enoxacin (Penetrex), norfloxacin (Chibroxin, Noroxin), sparfloxacin (Zagam), trovafloxacin (Trovan), และ grepafloxacin (Raxar)
- ยาปฎิชีวนะ (Tetracycline antibiotics) กับสังกะสี
สังกะสีจะเข้าไปยึดเกาะกับ tetracyclines ในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะลดปริมาณการดูดซับยาปฏิชีวนะของร่างกายลง ดังนั้นการทานสังกะสีร่วมกับยา tetracyclines อาจลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ลง เพื่อเลี่ยงการตีกันของยาเช่นนี้ควรทานสังกะสีก่อนทานยา tetracyclines 2 ชั่วโมง หรือทานสังกะสีหลังทาน tetracyclines 4 ชั่วโมง ตัวอย่างยา tetracyclines มีทั้ง demeclocycline (Declomycin), minocycline (Minocin), และ tetracycline (Achromycin)
- Cisplatin (Platinol-AQ) กับสังกะสี
Cisplatin (Platinol-AQ) ถูกใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง การทานสังกะสีร่วมกับ EDTA กับ Cisplatin (Platinol-AQ) อาจเพิ่มประสิทธิภาพและผลข้างเคียงจาก Cisplatin (Platinol-AQ) ขึ้นได้
- Penicillamine กับสังกะสี
Penicillamine คือยาที่ใช้รักษาโรควิลสันและโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ โดยสังกะสีอาจเข้าไปลดปริมาณการดูดซับยาของร่างกายได้ ซึ่งจะเป็นการลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ลง
คอยสังเกตอาการเมื่อต้องใช้สังกะสีร่วมกับยาเหล่านี้
- Amiloride (Midamor) กับสังกะสี
Amiloride (Midamor) ถูกใช้เป็นยาขับน้ำที่ใช้กำจัดน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ผลข้างเคียงหนึ่งของ Amiloride (Midamor) คือยาจะเข้าไปเพิ่มปริมาณสังกะสีในร่างกายขึ้น ดังนั้นการทานอาหารเสริมสังกะสีร่วมกับ Amiloride (Midamor) อาจทำให้คุณมีสังกะสีในร่างกายมากเกินไปได้
ปริมาณยาที่ใช้
ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ผู้ใหญ่
รับประทาน:
- ทั่วไป: ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ (Recommended Dietary Allowance (RDA)) ของสังกะสีได้ถูกจำแนกดังนี้: สำหรับเด็กชายและผู้ชายอายุ 14 ปีขึ้นไป = 11 mg/วัน, สำหรับหญิงอายุ 19 ปีขึ้นไป = 8 mg/วัน, สำหรับหญิงมีครรภ์ที่อายุ 14-18 ปี = 13 mg/วัน, สำหรับหญิงมีครรภ์ที่อายุ 19 ปีขึ้นไป = 11 mg/วัน, สำหรับหญิงที่ต้องให้นมบุตรที่อายุ 14-18 ปี = 14 mg/วัน, สำหรับหญิงที่ต้องให้นมบุตรที่อายุ 19 ปีขึ้นไป = 12 mg/วัน ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่รับได้ (Tolerable Upper Intake Levels (UL)) ของสังกะสีในกรณีผู้ที่ไม่ได้รับสังกะสีภายใต้การควบคุมดูแลจากผู้เชี่ยวชาญมีดังนี้: ผู้ใหญ่อายุ 19 ปีขึ้นไป (รวมทั้งผู้มีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร) = 40 mg/วัน สังกะสีในรูปแบบของเกลือที่ต่าง ๆ จะมีปริมาณธาตุสังกะสีที่แตกต่างกัน โดย Zinc sulfate จะมีสังกะสีที่ 23%, 220 mg zinc sulfate = 14.3%, และ 10 mg zinc gluconate = 1.43 mg
- สำหรับภาวะขาดสังกะสี: มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะขาดสังกะสีไม่รุนแรงว่าควรทานสังกะสีที่ปริมาณสารอาหารที่แนะนำ (RDA) สองถึงสามครั้งต่อวันนาน 6 เดือน สำหรับผู้ที่มีภาวะขาดสังกะสีรุนแรงควรได้รับสังกะสีที่ RDA สี่ถึงห้าครั้งต่อวันนาน 6 เดือน
- สำหรับท้องร่วง: เพื่อป้องกันอาการท้องร่วงในทารก ผู้หญิงมีครรภ์ควรทานสังกะสี 15 mg ทั้งเดี่ยว ๆ หรือร่วมกับธาตุเหล็ก 60 mg และกรดโฟลิกอีก 250 mg เริ่มจากสัปดาห์ที่ 10-24 ไปจนถึงหลังคลอดบุตรหนึ่งเดือน
- สำหรับรักษาโรควิลสัน: Zinc acetate ในปริมาณที่แนะนำไว้ ซึ่งประกอบด้วยสังกะสี 25-50 mg โดยรับประทานสามถึงห้าครั้งต่อวัน
- สำหรับรักษาสิว: ธาตุสังกะสี 30-150 mg ทุกวัน
- สำหรับภาวะทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการบริโภคสังกะสี (acrodermatitis enteropathica): ธาตุสังกะสี 2-3 mg/kg ทุกวันตลอดชีวิต
- สำหรับโรคจุดภาพชัดตาเสื่อมจากอายุ (age-related macular degeneration): ธาตุสังกะสี 80 mg, ทองแดง 2 mg, และเบต้าแคโรทีน 500 mg ทุกวันนาน 5 ปีสำหรับผู้ป่วยโรคจุดภาพชัดตาเสื่อมระยะลุกลาม
- สำหรับอะโนเร็กเซีย: ธาตุสังกะสี 14-50 mg ทุกวัน
- สำหรับเนื้องอกในลำไส้ใหญ่และทวารหนัก: อาหารเสริมที่ประกอบด้วยเซเลเนียม 200 mcg, สังกะสี 30 mg, วิตามิน A 2 mg, วิตามิน C 180 mg, และวิตามิน E 30 mg ทุกวันนาน 5 ปี
- สำหรับรักษาไข้หวัด: ลูกอมยา zinc gluconate หรือ acetate ที่มีธาตุสังกะสี 4.5-24 mg โดยอมให้ละลายในปากทุก ๆ สองชั่วโมงขณะที่ตื่นอยู่และมีอาการจากหวัด
- สำหรับภาวะซึมเศร้า: ธาตุสังกะสี 25 mg ทุกวันนาน 12 สัปดาห์ร่วมกับยาต้านซึมเศร้า
- สำหรับภาวะผิดปรกติด้านการรับรส: zinc gluconate 140-450 mg โดยแบ่งเป็นสามโดสทุกวันนาน 4 เดือน, หรือธาตุสังกะสี 25 mg ทุกวันนาน 6 สัปดาห์, หรือผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสังกะสี (polaprezinc)
- สำหรับรอยโรคบนผิวหนัง (leishmania lesions): zinc sulfate 2.5-10 mg/kg โดยแบ่งเป็นสามโดสต่อวันนาน 45 วัน
- สำหรับตะคริวที่กล้ามเนื้อ: zinc sulfate 220 mg สองครั้งต่อวันนาน 12 สัปดาห์
- สำหรับโรคกระดูกพรุน; สังกะสี 15 mg ร่วมกับแมงกานีส 5 mg, แคลเซียม 1000 mg, และทองแดง 2.5 mg
- สำหรับแผลในกระเพาะอาหาร: zinc acexamate 300-900 mg โดยแบ่งเป็นหนึ่งถึงสามโดสต่อวันนานหนึ่งปี, หรือ zinc sulfate 200 mg สามโดสต่อวันนาน 3-6 สัปดาห์
- สำหรับภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์: สังกะสี 25 mg ทุกวันร่วมกับวิตามิน A นาน 3 สัปดาห์เพื่อฟื้นฟูการมองเห็นตอนกลางคืนของสตรีมีครรภ์ สำหรับลดระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างตั้งครรภ์คือสังกะสี 30 mg ทุกวันนาน 6 สัปดาห์
- สำหรับแผลกดทับ: อาหารทั่วไปตามโรงพยาบาลร่วมกับอาร์จินิน (arginine) 9 กรัม, วิตามิน C 500 mg, และสังกะสี 30 mg ทุกวันนาน 3 สัปดาห์
- สำหรับโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว: zinc sulfate 220 mg สามครั้งต่อวัน, หรือธาตุสังกะสี 50-75 mg โดยแบ่งเป็นหนึ่งถึงสองโดสต่อวันนาน 2-3 ปี
- สำหรับแผลที่ขา: zinc sulfate 220 mg สามครั้งต่อวันร่วมกับทำแผล
- สำหรับหูด: zinc sulfate 400-600 mg ทุกวันนาน 2-3 เดือน
ทาบนผิวหนัง:
- สำหรับสิว: โลชั่นที่มี Zinc acetate 1.2% กับ erythromycin 4% โดยทาสองครั้งต่อวัน
- สำหรับแผลที่เท้าจากเบาหวาน: เจล zinc hyaluronate บนผิวหนังหนึ่งครั้งทุกวันจนกว่าแผลจะหาย
- สำหรับเหงือกอักเสบ: ยาสีฟันที่ประกอบด้วย zinc citrate 2% อย่างเดียว หรือร่วมกับ sodium monofluorophosphate หรือ triclosan 2% อย่างน้อยสองครั้งต่อวันนาน 7 เดือน, หรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่ประกอบด้วย zinc sulfate 0.4% และ triclosan 0.15%
- สำหรับกลิ่นปาก: น้ำยาบ้วนปากสองชนิดที่ประกอบด้วยสังกะสีที่เรียกว่า Halita และ Meridol หนึ่งหรือสองครั้งต่อวันนาน 7 วัน, หรือใช้ลูกอมและหมากฝรั่งที่ประกอบด้วยสังกะสี
- สำหรับการติดเชื้อเริม: Zinc sulfate 0.025-0.25% ทาบนผิวหนังที่ติดเชื้อ 8-10 ครั้งต่อวัน หรือ zinc oxide 0.3% ร่วมกับ glycine ทาผิวหนังทุก ๆ 2 ชั่วโมงขณะที่ตื่นอยู่ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสังกะสี (Virudermin Gel, Robugen GmbH, SuperLysine Plus +, Quantum Health, Inc.)
- สำหรับแผลกดทับ: ยาทา zinc oxide ทุกวันร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานนาน 8-12 สัปดาห์
- สำหรับแผลที่ขา: ยาทาที่ประกอบด้วย zinc oxide 25% พร้อมแต่งแผลหนึ่งครั้งต่อวันในช่วง 14 วันแรก และทุก ๆ สามวันหลังจากนั้นอีก 8 สัปดาห์
ฉีดเข้าเส้นเลือด:
- สำหรับแผลไฟไหม้: สารละลายสำหรับฉีดที่ประกอบด้วยทองแดง 59 mcmol, เซเลเนียม 4.8 mcmol, และสังกะสี 574 mcmol นาน 14-21 วัน
- สำหรับภาวการณ์รับรสผิดปรกติ: สารละลายสังกะสีผสมเข้ากับสารสำหรับฟอกเลือด 10 L นาน 12 สัปดาห์
- สำหรับรอยโรคบนผิวหนัง: zinc sulfate 2% นาน 6 สัปดาห์
เด็ก
รับประทาน:
- ทั่วไป: ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอ (Adequate Intake (AI)) ของสังกะสีสำหรับทารกอายุ 6 เดือน = 2 mg/วัน, สำหรับทารกอายุเยอะกว่าข้างต้นไปจนถึงเด็กเล็กจะมีค่าปริมาณสารอาหารที่แนะนำ (Recommended Dietary Allowance (RDA)) ดังนี้: ทารกและเด็กอายุ 7 เดือนถึง 3 ปี = 3 mg/วัน, อายุ 4-8 ปี = 5 mg/วัน, อายุ 9-13 ปี = 8 mg/วัน, เด็กสาวอายุ 14-18 ปี = 9 mg/วัน ค่าปริมาณอาหารสูงสุดที่รับได้ (Tolerable Upper Intake Levels (UL)) ของสังกะสีที่ไม่ได้จัดให้ภายใต้การควบคุมดูแลจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพมีดังนี้: ทารกแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน = 4 mg/วัน, อายุ 7-12 เดือน = 5 mg/วัน, เด็กอายุ 1-3 ปี = 7 mg/วัน, อายุ 4-8 ปี = 12 mg/วัน, อายุ 9-13 ปี = 23 mg/วัน, และอายุ 14-18 ปี (รวมถึงผู้ที่ตั้งครรภ์และกำลังให้นมบุตร) = 34 mg/วัน
- สำหรับภาวะทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการบริโภคสังกะสี (acrodermatitis enteropathica): ธาตุสังกะสี 2-3 mg/kg ทุกวันตลอดชีวิต
- สำหรับอะโนเร็กเซีย: ธาตุสังกะสี 14-50 mg ทุกวัน
- สำหรับโรคสมาธิสั้น (attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)): zinc sulfate 55-150 mg ที่ประกอบด้วยธาตุสังกะสี 15-40 mg ทุกวันนาน 6-12 สัปดาห์
- สำหรับรักษาไข้หวัด: ลูกอมยาที่ประกอบด้วย zinc gluconate 10-23 mg โดยอมให้ละลายในปากทุก ๆ สองชั่วโมงนาน 10 วัน หรือไซรัปที่ประกอบด้วยสังกะสี 15 mg สองครั้งต่อวันนาน 10 วัน
- สำหรับผื่นจากผ้าอ้อม: สังกะสี 10 mg ทุกวันในช่วงหนึ่งหรือสองวันแรกของชีวิตจนกว่าจะอายุ 4 เดือน
- สำหรับท้องร่วง: ธาตุสังกะสี 10-40 mg ทุกวันนาน 7-15 วันสำหรับรักษาอาการท้องร่วงจากภาวะทุพโภชนาการหรือภาวะขาดสังกะสีในเด็ก
- สำหรับรอยโรคบนผิวหนัง (leishmania lesions): zinc sulfate 2.5-10 mg/kg โดยแบ่งเป็นสามโดสต่อวันนาน 45 วัน
- สำหรับปอดบวม: ในประเทศที่กำลังพัฒนาให้ใช้ธาตุเหล็ก 10-70 mg กับเด็กที่ขาดสารอาหารที่อายุ 3 เดือนถึง 5 ปีทุกวัน, หรือ zinc sulfate 2 mg/kg ทุกวันโดยแบ่งเป็นสองโดสนาน 5 วัน
- สำหรับภาวะอาหารเป็นพิษ (โรคบิด (shigellosis)): ไซรัปวิตามินรวมที่ประกอบด้วยธาตุสังกะสี 20 mg โดยแบ่งเป็นสองโดสทุกวันนาน 2 สัปดาห์
- สำหรับโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว: ธาตุสังกะสี 10 mg ทุกวันนานหนึ่งปีในเด็กที่อายุ 4-10 ปี และธาตุสังกะสี 15 mg สองครั้งต่อวันนานหนึ่งปีสำหรับเด็กชายอายุ 14-18 ปี
- สำหรับแผลที่ขา: zinc sulfate 220 mg สามครั้งต่อวันร่วมกับทำแผล
- สำหรับภาวะขาดวิตามิน A: ธาตุสังกะสี 20 mg ทุกวันนาน 14 วันร่วมกับวิตามิน A 200,000 IU ในวันที่ 14 สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี
ทาบนผิวหนัง:
- สำหรับสิว: โลชั่นที่มี Zinc acetate 1.2% กับ erythromycin 4% โดยทาสองครั้งต่อวันนาน 12-40 สัปดาห์
- สำหรับผื่นจากผ้าอ้อม: ยาทา zinc oxide ที่ประกอบด้วย allantoin 0.5%, น้ำมันปลาคอด 17%, และ zinc oxide 47% นาน 5 วัน
ฉีดเข้าเส้นเลือด:
- สำหรับรอยโรคบนผิวหนัง: zinc sulfate 2% นาน 6 สัปดาห์