กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที

ความหมาย   เป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของทางเดินหายใจอย่างช้า ๆ ประกอบด้วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) และโรคถุงลมปอดโป่งพอง (Emphysema)

สาเหตุ มักเกิดจากการสูบบุหรี่ อาจเกิดจากฝุ่นละออง สารระคายเคืองต่าง ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

พยาธิสรรีภาพ  เมื่อหลอดลมได้รับการระคายเคืองบ่อย ๆ จะทำให้เยื่อบุหลอดลมโดยเฉพาะต่อมเมือก (Mucous gland) หลังสารคัดหลั่งออกมา  ต่อมาเซลล์จะมีขนาดใหญ่และเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้ผนังหลอดลมหนาตัวขึ้นและความยืดหยุ่นเสียไป ท่อหลอดลมจะตีบแคบลง ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่จะทำให้ขนกวัดในเซลล์เยื่อบุหลอดลมเคลื่อนไหวได้น้อยลง ต่อมและเซลล์เมือกไม่สามารถขับมูกจำนวนมากที่เหนียวออกไปได้ ส่วนโรคถุงลมปอดโป่งพองเกิดจากมีการระคายเคืองของเยื่อบุหลอดลมเป็นเวลานาน เมือกที่ฉาบอยู่บนผิวของหลอดลมถูกทำลาย ทำให้ผนังหลอดลมหนาตัวขึ้นและกลายเป็นแผลเป็น ขนกวัดถูกทำลายจึงทำให้สารที่เป็นอันตรายต่าง ๆ รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัสสามารถแทรกเข้าสู่เซลล์ของหลอดลม มีการอักเสบและสร้างเสมหะออกมามาก และเมื่อกลไกการขับเสมหะตามปกติถูกทำลายไปจะทำให้เสมหะที่สร้างขึ้นนั้นจับตัวกันเป็นก้อนอุดหลอดลมไว้อากาศผ่านเข้าออกจากถุงลมไม่ได้จึงดันให้ถุงลมโป่งออก ถุงลมสูญเสียความยืดหยุ่น คือ ยืดได้หดไม่ได้ เมื่อมีการคั่งของอากาศนาน ๆ เข้าถุงลมจะยิ่งโป่งออกจนมีการฉีกขาดและหลอดเลือดบริเวณนั้นถูกทำลาย พื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนออกซิเจนในเลือดจะต่ำลง หัวใจซีกขวาต้องทำงานหนักซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดหัวใจซีกขวาล้มเหลว เรียกภาวะนี้ว่าคอร์พูลโมเนล (Cor pulmonale)

อาการ  ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มีเสมหะมาก หายใจลำบาก หากปอดอักเสบเรื้อรังผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกันอย่างน้อยปีละ 3 เดือนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี มักเป็นตอนเช้า จนนึกว่าเป็นเรื่องปกติ ต่อมาไอถี่ขึ้นตลอดทั้งวันและมีเสมหะเป็นจำนวนมาก อาจมีสีขาว เหลือง เขียว อาจมีไข้ ไอมีเลือดปน ตามด้วยอาการหอบ ส่วนถุงลมโป่งพองมีอาการหอบเหนื่อยง่าย เวลาทำงานหรือออกแรง อาการจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นแรมปี พอ 5-10 ปีขึ้นไป จะมีอาการเหนื่อยง่ายแม้เวลาพูดหรือเดิน อาจมีอาการไอ มีเสมหะเรื้อรังแบบหอลดลมอักเสบเรื้องรังร่วมด้วย อาจมีไข้ ไอเสมหะมีสีเหลืองเขียวร่วมด้วยเนื่องจากมีการติดเชื้อแทรก หรือหายใจหอบคล้ายโรคหืด ซูบผอม อกมีลักษณะเป็นอกถัง ริมฝีปากเขียว

การวินิจฉัยโรค     เคาะปอด ได้เสียงโปร่งจากกอากาศค้างอยู่ในถุงลม ฟังปอดได้ยินเสียงหายใจค่อย พบเสียงกรอบแกรบ (Crepitation) เสียงรอนไค (Rhonchi) และเสียงหวีด (Wheezing) เสียงหายใจเบากว่าปกติ ชัดบริเวณใต้ลิ้นปี่ อาจพบนิ้วปุ้ม เล็บเขียว ปากเขียว หรือหัวใจล้มเหลว (มีอาการเท้าบวม นอนราบไม่ได้ หลอดเลือดที่คอโป่ง ตับโต)

วิธีรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

เป้าหมายในการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือการบรรเทาอาการของโรค ชะลอความเสื่อมในการทำงานของปอด ลดการกำเริบ และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น สิ่งสำคัญในการชะลอการดำเนินไปของโรค คือ การเลิกบุหรี่ และการหลีกเลี่ยงการเผชิญกับสารระคายเคืองปอด

การฟื้นฟูสภาพการทำงานของปอดก็สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ ได้แก่

การพยาบาล ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับออกซิเจน หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น เลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น ให้ยาขยายหลอดลม ยาแก้อักเสบ หรือให้ยาตามอาการ การดูแลด้านจิตใจและแนะนำผู้ป่วยให้รู้จักดูแลตนเองถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ แนะนำผู้ป่วยว่าโรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด เพียงแต่บรรเทาอาการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสติดเชื้อเป็นปอดอักเสบได้บ่อย ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมพิเศษเพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจ
  • การปรับวิธีหายใจ
  • การปรึกษาปัญหาทางจิตวิทยา
  • การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้ยาบรรเทาอาการ ได้แก่

  • ยาขยายหลอดลม เพื่อให้อากาศผ่านทางเดินหายใจได้สะดวกขึ้น
  • ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบ
  • ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาการติดเชื้อทางทางเดินหายใจ
  • วัคซีน สำหรับไข้หวัดและโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ Pneumococcus
  • การฉีดโปรตีน alpha-1 antitrypsin ในบางกรณีที่ผู้ป่วยขาดโปรตีนดังกล่าว นำไปสู่โรคถุงลมโป่งพอง

การให้ออกซิเจนอาจจำเป็นในคนไข้ที่มีอาการรุนแรงและมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำ โดยการบำบัดด้วยออกซิเจน หรือการให้ออกซิเจนผ่านท่อหรือหน้ากากครอบ วิธีต่าง ๆ เหล่านี้สามารถช่วยป้องกันความเสียหายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำให้นอนหลับสบายขึ้น และช่วยลดอาการของโรคอีกด้วย

การผ่าตัดในผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรัง

การปลูกถ่ายหรือการผ่าตัดปอดเพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานอาจเป็นแนวทางการรักษาแนะนำสำหรับกรณีที่โรครุนแรง

แนวทางการผ่าตัดเบื้องต้นสำหรับรักษาโรคปอดอุดตันเรื้อรัง ได้แก่

1. Lung volume reduction surgery (LVRS)

ผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรังไม่สามารถหายใจเอาอากาศออกได้เต็มที่ ทำให้เกิดพื้นที่ปอดที่เรียกกันว่า dead space โดยอาการหายใจลำบากและแน่นหน้าอกที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากแรงที่ผู้ป่วยพยายามไล่อากาศที่ค้างอยู่ภายในปอดนั่นเอง ดังนั้นในการทำ LVRS ที่มีการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อปอดที่ถูกทำลายออกไป จะทำให้มีปริมาณ dead space ที่น้อยลง เป็นการแก้ปัญหาพื้นที่ปอดมากเกินกว่าที่จะใช้ได้

2. Bullectomy

ผู้ป่วยถุงลมโป่งพองประเภทจะเกิดถุงลมที่พองตัวขึ้นเป็นฟองอากาศในปอด เรียกว่า bullae จากการถูกทำลายของผนังถุงลม การทำ bullectomy ก็คือการตัดถุงดังกล่าวออก มักจะทำในผู้ที่ประสบปัญหากับอาการที่ตามมา หรือผู้ที่มีบริเวณเนื้อปอดที่เสียไปมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

3. การปลูกถ่ายปอด

การปลูกถ่ายปอดเป็นทาวเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรังรุนแรงที่อายุต่ำกว่า 60ปี โดยเกือบ 60% ของผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตข้างเดียว คือผู้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งจะแสดงอาการได้ตั้งแต่อายุยังน้อยเมื่อเทียบกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประเภทอื่น ๆ ทั้งนี้ อัตราการรอดชีวิตถึง 5 ปีในผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายปอด คือประมาณ 50%

ภาวะแทรกซ้อนของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคืออะไร?

ภาวะแทรกซ้อนของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่อาจเกิดได้เช่นหัวใจวาย กระดูกพรุน และโรคซึมเศร้า

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นโรคทางปอดที่มักทำให้เกิดอาการหลายอย่าง เช่น ไอ หายใจเสียงวี๊ด และหายใจลำบาก และยังสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีกหลายประการเมื่อเวลาผ่านไป

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกับภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักมีปัญหาในการได้รับออกซิเจนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และปัญหาในการขับคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียที่ร่างกายผลิตออกจากร่างกาย

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ขั้นรุนแรง อาจมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำและระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงได้ ซึ่งการมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำและคาร์บอนไดออกไซด์สูงเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวแบบฉับพลัน ซึ่งอาจทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ นอกจากนั้นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังทำให้เกิดการอักเสบซึ่งจะทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบและแข็งได้เช่นกัน

ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำยังส่งผลกระทบต่อหลอดเลือดภายในปอด (Pulmonary arteries) ทำให้หลอดเลือดตบแคบและมีความดันเพิ่มขึ้น นำไปสู่ภาวะ pulmonary hypertension หรือก็คือความดันโลหิตในปอดสูง และเนื่องจากหัวใจห้องล่างขวาทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปปอดผ่านทางหลอดเลือด pulmonary arteries ดังนั้นการมีความดันโลหิตในหลอดเลือดดังกล่าวสูงจะทำให้หัวใจห้องล่างขวาต้องทำงานมากขึ้น โตขึ้น และไม่สามารถทำงานได้ในที่สุด ซึ่งเรียกว่า or pulmonale (หัวใจด้านขวาวาย)

งานวิจัยในการประชุมสมาคมนานาชาติโรคทรวงอกแห่งสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 28.7% ที่เกิดภาวะหัวใจวาย ซึ่งในคนที่ไม่ได้เป็นโรคปอดจะพบเพียงแค่ 13% เท่านั้น

ภาวะแทรกซ้อนทางกายอื่น ๆ ของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคหัวใจระดับรุนแรงไม่ใช่ภาวะแทรกซ้อนเพียงอย่างเดียวของโรคนี้ แต่ยังสามารถพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น

มะเร็งปอดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักเกิดขึ้นควบคู่กัน แต่รายงานในวารสารมะเร็งช่องอก (Journal of Thoracic Oncology) ปี 2013 พบว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง แต่มะเร็งปอดที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่

อย่างไรก็ตามมีนักวิจัยหลายคนเขียนจดหมายถึงบรรณาธิการวารสารเพื่อแย้งว่า ในความเป็นจริงแล้วโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังถือเป็นปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนได้ตัวหนึ่งของการเกิดมะเร็งปอด ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกับมะเร็งปอดต่อไป

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลายคนมักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกรดไหลย้อนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแย่ลง การศึกษาขนาดใหญ่ในประเทศเกาหลี ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร BMC Pulmonary Medicine ระบุว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างน้อย 28% ที่เป็นกรดไหลย้อน

แต่ยังไม่สามารถระบุความสัมพันธ์ระหว่างโรคทั้งสองได้ และอาจเกี่ยวข้องกับจากปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่มีร่วมกัน นั่นก็คือการสูบบุหรี่

โรคกระดูกพรุนและปอดอุดกั้นเรื้อรังมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคที่เหมือนกันหลายข้อ เช่น อายุ และการสูบบุหรี่ และการเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังส่งผลต่อการอักเสบ การทำงานที่ลดลง การขาดวิตามินดีและการใช้สเตียรอยด์ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการมีมวลกระดูกที่น้อยลงและเป็นโรคกระดูกพรุนได้

งานวิจัยในวารสารอายุรศาสตร์โรคปอด (respiratory medicine) พบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 68% มีโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกบาง

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักมีปัญหาเรื่องน้ำหนักและภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งเกี่ยวข้องการความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นและการใช้ความพยายามมากขึ้นในการหายใจ บทความในวารสาร Parenteral and Enteral Nutrition ปี 2014 พบว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 11% ที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ซึ่งมากกว่าโรคอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคหลงลืม

ภาวะแทรกซ้อนทางจิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายของโรค มักมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันเช่นการยกของหนักหรือการเดินขึ้นบันได นอกจากนั้นมีผู้ป่วยเกือบ 30% ที่มีปัญหานอนไม่หลับ จึงทำให้ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่ออารมณ์ และทำให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวชได้ เช่นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล (Anxiety) โรคตื่นตระหนก (Panic disorder) และโรคกลัวสถานที่ที่สามารถหลบหนีได้ยาก (agoraphobia)

ในความจริงแล้วพบว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประมาณ 40% ที่ได้รับผลกระทบจากโรคซึมเศร้ารุนแรง ตามรายงานใน International Journal of Chronic Obstructive Pulmonary Disease และการศึกษาในวารสาร Respiratory Medicine พบว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 55% ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการป่วยทางจิตเวชร่วมด้วย

การป้องกันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักเกิดจากการสูบบุหรี่ ดังนั้น หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการก่อโรคคือการไม่สูบบุหรี่ หรือการเลิกบุหรี่ในผู้ที่สูบ หากคุณมีปัญหาในการเลิกบุหรี่ หมากฝรั่ง แผ่นแปะนิโคติน หรือการใช้ยาก็เป็นทางเลือกที่สามารถช่วยคุณได้

คุณอาจเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนหรือเข้าคลาสตามโรงพยาบาล สถานที่ทำงาน หรือสมาคมภายในชุมชน เช่นเดียวกับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อน ก็จะช่วยเสริมกำลังใจให้คุณเลิกบุหรี่ได้ดีขึ้น นอกจากการสูบบุหรี่แล้ว การได้รับสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของปอดปริมาณมากและเป็นเวลานาน เช่น มลพิษทางอากาศ ฝุ่น หรือควันสารเคมีในสถานที่ทำงาน ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค COPD ได้เช่นกัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการระคายเคืองเหล่านี้อาจหลีกเลี่ยงด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • ถ้าคุณจุดเตาเผาถ่านหรือเตาผิง ควรมีการระบายอากาศที่ดี
  • ไม่ควรออกไปข้างนอกหากอากาศมีมลพิษมาก เช่น มีควันหมอก หรือไฟป่าในบริเวณใกล้เคียง
  • หากสภาพแวดล้อมในที่ทำงานของคุณต้องเจอกับควันสารเคมีหรือฝุ่น ควรปรึกษาหัวหน้างานถึงอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ หรือมาตรการป้องกันอื่นๆ

การทำนายโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยระบบ GOLD

การทำนายสุขภาพในระยะยาวและอายุขัยของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเรื้อรังสามารถประเมินได้จาก 2 การทดสอบที่ซับซ้อนในการวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การประเมินความรุนแรงของโรคมักใช้ระบบ GOLD (Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease)

ระบบ GOLD เป็นการประเมินจากหลายปัจจัยได้แก่ ค่า FEV1 (ปริมาตรอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงใน 1วินาที), ความถี่ในการกำเริบของโรค, การรักษาพยาบาล และความรุนแรงของอาการหายใจหอบเหนื่อยตามกิจกรรมที่ทำ

ระบบดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยประเมินความรุนแรงของโรคปอดอุดตันเรื้อรังและคาดเดาสาเหตุที่ทำให้อาการแย่ลง เพื่อช่วยกำหนดการแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดต่อไป ไม่ใช่เพื่อบอกว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่

ระบบ GOLD แบ่งการทำนายโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ ดังนี้

  • กลุ่ม A คือ ผู้ที่แสดงอาการของกลุ่มอาการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเล็กน้อย และมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดกรกำเริบหรืออาการทรุดลง
  • กลุ่ม B คือ ผู้ที่แสดงอาการมากขึ้น แต่ยังคงมีความเสี่ยงน้อย
  • กลุ่ม C คือ ผู้ที่แสดงอาการบางอย่าง และมีความเสี่ยงสูง
  • กลุ่ม D คือ ผู้ที่แสดงอาการมากขึ้น และมีความเสี่ยงสูง

การทำนายโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยดัชนี BODE

ในปี 2004 นักวิจัยคิดค้นเครื่องมือใช้ทำนายโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เรียกว่า ดัชนี BODE (Body mass index, Obstruction, Dyspnea, and Exercise) ตามรายงานในวารสาร New England Journal of Medecine

ดัชนี BODE ช่วยประเมินอัตราการตายของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และประเมินว่าผู้ป่วยจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่หลังถูกวินิฉัยว่าเป็นโรคดังกล่าว

การประเมินความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตภายในระยะเวลา 52 เดือประกอบด้วย 4 ปัจจัย ดังนี้

  • ค่าดัชนีมวลกาย (body mass index)
  • ระดับความรุนแรงของการอุดตันของทางเดินหายใจ จากค่า FEV1
  • อาการหายใจหอบเหนื่อย
  • ความสามารถในการออกกำลังกาย จากแบบทดสอบวัดระยะทางที่เดินได้ภายใน 6 นาที

อ้างอิงจากวารสาร Respiratory Medicine ปี 2009 พบว่าค่าดัชนี BODE ยังใช้ประเมินจำนวนและความรุนแรงของการกำเริบของโรคปอดอุดตันเรื้อรังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


24 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO | Chronic obstructive pulmonary disease (COPD). World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/respiratory/copd/en/)
NHS, Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) (https://www.nhs.uk/conditions/chronic-obstructive-pulmonary-disease-copd/).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ผู้หญิงสูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคอะไรได้มากที่สุด
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หากเราเลิกสูบบุหรี่ แล้วออกกำลังกาย เราจะสามารถ ฟื้นฟูสภาพปอดให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิมได้หรือไม่ครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ดูดบุหี่มา8ปีผมไม่เคยตรวจสุขภาพเลยมันจะแย่มากไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีวิธีป้องกันมะเร็งได้ไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เคยสูบบุหรี่มาก่อนแล้วก็เลิกไปแล้ว ช่วงนี้รู้สึกว่าเหนื่อยง่าย หอบ เจ็บหน้าอก เสี่ยงเป็นโรคไหนบ้างคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ผมเป่าปอดไม่ผ่านมาสองสามปีเเล้วครับเป็นเพราะเกี่ยวกับสูบบุหรี่หรือไม่ครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)