กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

โรควิตกกังวล (Anxiety disorder)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 29 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรควิตกกังวล คือ โรคที่ผู้ป่วยจะรู้สึกกังวลใจ ไม่มีสมาธิ กลัว และไม่สบายใจอย่างหนักต่อสถานการณ์ หรือสิ่งกระตุ้นบางอย่าง
  • โรควิตกกังวลแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น โรคกลัว โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคแพนิค
  • เมื่อเกิดอาการของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่หลับ เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ ใจสั่น มือสั่น หายใจได้ไม่เต็มที่ คิดมากถึงสิ่งที่กังวล เริ่มแยกตัวออกจากสังคม และอาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
  • โรควิตกกังวลมักสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า และมักจะเกิดขึ้นคู่กันเสมอ ซึ่งวิธีรักษาที่เหมาะสม ก็คือ การไปพบจิตแพทย์เพื่อขอรับการทำจิตบำบัด และการรับประทานยาบรรเทาอาการวิตกกังวล และซึมเศร้าอย่างเหมาะสม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต

การมีความรู้สึกวิตกกังวลเป็นบางครั้งถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากความรู้สึกนี้ขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ หรือทำให้คุณเกิดอาการไม่สบายใจ ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ นั่นอาจแสดงว่า คุณกำลังเป็นโรควิตกกังวล

ความหมายของโรควิตกกังวล

ความวิตกกังวล (Anxiety) เป็นความรู้สึกวิตก หรือไม่สบายใจ ซึ่งเป็นกลไกการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่มีต่อความเครียด ทำให้คนเรารู้สึกตื่นตัวมากขึ้น และพร้อมที่จะตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่โรควิตกกังวล (Generalized anxiety disorder: GAD) มีความแตกต่างจากความรู้สึกวิตกกังวลโดยทั่วไป คือ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัว หรือกังวลมากเกินไป รวมทั้งควบคุมสมาธิได้ยากขึ้น และไม่สามารถปล่อยวาง หรือเลิกคิดถึงสิ่งที่กังวลได้เลยจนคล้ายกับอาการย้ำคิดย้ำทำ

ประเภทของโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ดังนี้

  • โรควิตกกังวล ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีความกังวลที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างเรื้อรัง
  • โรคแพนิค หรือโรคตื่นกลัว (Panic disorder) ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการตื่นตระหนกต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่มีเหตุผล  
  • โรคกลัว (Phobic Disorder) เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะเกิดความกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปกติมักไม่ทำให้เกิดอันตราย
  • โรคกลัว หรือกังวลต่อการเข้าสังคม (Social anxiety disorder หรือ Social phobia) ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกไม่สบายใจอย่างรุนแรงเมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม หรือกับกลุ่มคนจำนวนมาก ซึ่งมักจะทำให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมตามมา
  • โรคกลัวต่อการแยกจาก (Separation anxiety disorder) ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัวเมื่อต้องแยกจากหรือออกห่างจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น พ่อแม่ เพื่อนสนิท คนรัก 
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder: OCD) ผู้ป่วยจะมีอาการคิดและทำบางอย่างซ้ำๆ เพื่อลดความกังวลต่อสิ่งนั้น 

อัตราการเกิดโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป โดยศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรคได้ประมาณตัวเลขไว้ว่าประมาณ 15% ของประชากรจะเป็นโรควิตกกังวลในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต 

โดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 60% และผู้ป่วยส่วนมากมักเริ่มมีอาการของโรคนี้ตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก โดยอายุเฉลี่ยของการเริ่มเป็นโรคจะอยู่ที่ 11 ปี

สาเหตุของโรควิตกกังวล

มีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถทำให้เกิดโรควิตกกังวลขึ้นได้ โดยส่วนมากมักเกิดจากประสบการณ์ส่วนตัว และปัจจัยทางพันธุกรรมที่ยังระบุไม่ได้ 

ดังนั้น เด็กที่มีพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวลจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าเด็กทั่วไปได้ นอกจากนี้ความเครียดหรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจผู้ป่วยก็เป็นสาเหตุของโรควิตกกังวลได้ เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การเสียชีวิตของคนที่รัก 
  • การต้องพรากจากครอบครัว 
  • การมีสภาพครอบครัวที่ไม่อบอุ่นหรือชอบใช้ความรุนแรง 
  • การถูกกลุ่มเพื่อนรังแก หรือมีเหตุการณ์ ความผิดพลาดในอดีตที่ทำให้รู้สึกฝังใจจนกังวลว่าจะเกิดขึ้นอีก

สาเหตุเหล่านี้เป็นตัวอย่างของเหตุการณ์ที่สามารถทำให้เกิดโรควิตกกังวลได้ในผู้ป่วยหลายคน แต่ก็ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่เมื่อพบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจแล้วจึงจะกลายเป็นโรควิตกกังวลกันหมด 

เพราะในบางช่วงเวลาของชีวิต อาจมีปัจจัยบางอย่างที่สามารถทำให้คนเป็นโรควิตกกังวลได้เช่นกัน เช่น ความเครียดจากงาน การเปลี่ยนแปลงของสภาพครอบครัว ปัญหาด้านความรัก 

อาการของโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยและมักเริ่มมีอาการตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยอาการต่อไปนี้คือ อาการที่พ่อแม่ของเด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรควิตกกังวลมักจะพบเจออยู่เสมอ

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางวิชาการ ทางสังคม และมักปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง
  • มีอาการทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ปัสสาวะบ่อย
  • มีปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่สนิท ตื่นนอนมาแล้วไม่สดชื่น
  • ต้องการการสนับสนุน และพึ่งพาผู้อื่นอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยโรควิตกกังวลมักจะมีความกลัวว่าสิ่งร้ายๆ อาจเกิดขึ้น
  • ผลการเรียนไม่ดี 
  • จดจ่ออยู่กับการทำงานหนักเกินไป
  • มีความคิดฟุ้งซ่านถึงสิ่งไม่ดีที่อาจเกิดขึ้น
  • มีพฤติกรรมก้าวร้าว
  • มีปัญหาด้านการกิน เช่น กินน้อย หรือกินมากจนเกินไป 
  • ไม่สามารถปล่อยวางต่อเรื่องที่กังวลได้เลย มีอาการย้ำคิดย้ำทำและจะคิดถึงเรื่องนั้นๆ อยู่เกือบตลอดเวลา
  • มีปัญหาด้านความจำ หลงลืมง่ายขึ้น
  • มีอาการใจสั่น มือสั่น
  • หายใจได้ไม่เต็มที่
  • เหงื่อออกง่ายขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิตอื่นๆ รวมถึงปัญหาทางสุขภาพกาย ดังต่อไปนี้

  • เป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ตามมา
  • นอนไม่หลับ 
  • มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
  • ปวดหัว ปวดตามร่างกายเรื้อรัง
  • แยกตัวออกจากสังคม 
  • มีปัญหาในการเรียน และการทำงาน
  • คุณภาพชีวิตไม่ดี มีปัญหากับการจัดเวลาชีวิต เพราะมักจะหมดเวลาไปกับการกังวลในเรื่องต่างๆ อย่างควบคุมไม่ได้
  • มีพฤติกรรมใช้สารเสพติด
  • มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย

โรคซึมเศร้ากับโรควิตกกังวลสัมพันธ์กันอย่างไร?

โรคซึมเศร้ากับโรควิตกกังวลนั้นมีความแตกต่างกัน แต่ก็มักจะพบว่า ผู้ป่วยโรควิตกกังวลอาจเป็นโรคซึมเศร้าร่วมด้วยได้ และมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณครึ่งหนึ่งที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลด้วยเช่นกัน โดยความแตกต่างของสองโรคนี้หากอธิบายง่ายๆ ก็คือ

  • อาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะเป็นไปในทางเกี่ยวกับความเศร้า ไม่มีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอยู่ มองไม่เห็นคุณค่าของตนเอง และรู้สึกแย่กับตนเองอยู่เสมอจนทำให้มีผลข้างเคียงออกมาเป็นพฤติกรรมซึ่งคล้ายคลึงกับผู้ป่วยโรควิตกกังวล เช่น
    • มีปัญหาด้านการนอนหลับ
    • มีพฤติกรรมก้าวร้าว
    • แยกตัวออกจากสังคมและกลุ่มเพื่อน
    • มีปัญหาเรื่องการกิน
    • อยากฆ่าตัวตาย 
  • ส่วนผู้ป่วยโรควิตกกังวลนั้น มักจะมีใจจดจ่อไปกับเรื่องที่กังวลและหวาดกลัวว่าจะเจอความผิดหวัง อีกทั้งผู้ป่วยบางรายมักจะมีใจกระตุ้นให้ตนเองอยากต่อสู้ เพื่อหลุดพ้นไปจากสิ่งที่กังวลมากกว่าการอยู่กับความเศร้าหมองแบบผู้ป่วยซึมเศร้า 

    ซึ่งผลจากโรคดังกล่าวก็สามารถทำให้คุณภาพชีวิต สมาธิและสภาพจิตใจของผู้ป่วยแย่ไปด้วย จนไปสัมพันธ์กับอาการของโรคซึมเศร้าที่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนไม่ดีพอสำหรับใคร และทำให้ผู้อื่นผิดหวัง

    จนในที่สุดผู้ป่วยก็จะอยากยอมแพ้ ไม่อยากที่จะอดทนเผชิญกับความกลัว และความกังวลที่หนักอึ้งอีกต่อไป และอาจตัดสินใจจะฆ่าตัวตาย 

สำหรับอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยทั้ง 2 โรค ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • วิตกกังวลเรื่องต่างๆ ตลอดเวลา
  • มีอาการกระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง
  • มีปัญหากับการนอนหลับ
  • ไม่มีสมาธิ

การรักษาโรควิตกกังวล

การรักษาโรควิตกกังวลที่ดีที่สุดคือ การไปพบจิตแพทย์หรือหานักจิตบำบัด เนื่องจากโรควิตกกังวลมักเป็นโรคเรื้อรัง อาจยากที่หายขาดได้ และจะต้องมีการปรับระบบความคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วยใหม่

วิธีการปรับระบบความคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วยจะผ่านการให้คำปรึกษา การให้คำอธิบายสถานการณ์ที่ผู้ป่วยเป็นกังวลอย่างหนัก การทำจิตบำบัด และการรักษาด้วยยา ซึ่งตัวอย่างยาที่มักเป็นที่นิยมในการรักษาผู้ป่วยโรควิตกกังวลจะได้แก่

  • กลุ่มยาเบนโซไดอะซีพีน (Benzodiazepines) เป็นกลุ่มยาที่มีความปลอดภัยสูง และคลายความคิดวิตกกังวลได้ดี ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอาการวิตกกังวลแล้ว ยาตัวนี้ยังช่วยให้การนอนหลับของผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย 

  • กลุ่มยาต้านเศร้าไตรไซคลิก (Tricyclic Antidepressant) โดยยากลุ่มนี้จะช่วยลดอาการวิตกกังวล อาการฟุ้งซ่านเรื้อรังของผู้ป่วยได้ดี ซึ่งยาที่นิยมใช้จะได้แก่ 

  • เบตา บล็อกเกอร์ (Beta blockers) โดยปกติกลุ่มยานี้เป็นกลุ่มยารักษาโรคทางหัวใจและหลอดเลือด แต่ขณะเดียวกัน ก็สามารถบรรเทาอาการใจสั่น ชีพจรเต้นแรง และมือสั่นได้ แต่จะไม่ได้ช่วยเรื่องลดอาการวิตกกังวล 

อย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วยโรควิตกกังวลนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา หากจิตใจของผู้ป่วยรวมถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยยังคงบีบบังคับ สร้างความกดดันและมีปัญหาเดิมๆ ให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลอีก 

เพราะฉะนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทางจิตใจ และมีการปรับเปลี่ยนทักษะการปรับตัวเข้ากับปัญหาอย่างถูกต้อง เพื่อให้รับมือกับความวิตกกังวลในใจได้ดีขึ้น 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


28 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Generalised anxiety disorder in adults. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/generalised-anxiety-disorder/)
Anxiety Disorders: Types, Causes, Symptoms, Diagnosis, Treatment (https://www.webmd.com/anxiety-panic/guide/anxiety-disorders#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ใจสั่นผิดปกติค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เวลานอนหลับตอนกลางคืน รู้สึกเหมือนสมองทำงานตลอดเวลาไม่ได้หลับ ตื่นมาปวดหัว เหนื่อย เพลีย อยากนอนต่อ เป็นเพราะอะไรและมีผลอะไรไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการมือสั่นปากสั่นเวลาเครียดหรือวิตกกังวล อาการเหล่านี้มีผลรุงแรงต่อสมองมั้ยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ช่วงนี้มีอาการนอนไม่ค่อยหลับและชอบตื่นกลางดึง พอตื่นขึ้นก็จะนอนไม่หลับเลย ทั้งที่ก็รู้สึกว่าตัวเองทำงานเหนื่อยมาทั้งวัน
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การที่เราเป็นอะไรซ้ำๆหลายๆครั้ง...ควรทำอย่างไรดี...มันทรมานมาก..
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากให้ลูกออกมาเลี้ยงง่ายๆ ไม่ร้องไห้เวลากลางคืนต้องทำอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)