โรคย้ำคิดย้ำทำเป็นอีกโรคจิตเวชชนิดหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เรามาทำความเข้าใจพร้อมๆ กันว่า โรคนี้เกิดจากอะไร พฤติกรรมผู้ป่วยเป็นแบบไหน แล้วมีวิธีรักษาอย่างไร
โรคย้ำคิดย้ำทำคืออะไร
โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder: OCD) จัดเป็นภาวะวิตกกังวลอย่างหนึ่ง โดยผู้ป่วยจะถูกความคิด และความรู้สึกที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นครอบงำอยู่ซ้ำๆ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เราสามารถเรียกอาการของโรคนี้ได้รวมๆ ได้ว่า “การย้ำคิด (Obsessions)" ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ ซึ่งเรียกว่า “การย้ำทำ (Compulsions)"
แต่หลายคนอาจสับสนว่า แล้วพฤติกรรม หรือกิจวัตรประจำวันที่ตนเองทำอยู่ทุกวันเป็นปกติ จัดอยู่ในกลุ่มอาการเสี่ยงของโรคย้ำคิดย้ำทำหรือไม่
คำตอบคือ "ไม่ใช่" เพราะพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำจะมีความคิดที่วนซ้ำไปซ้ำมาอย่างน่าหงุดหงิดตลอดเวลา จนเกิดเป็นความวิตกกังวล และกระทำการบางอย่างซ้ำๆ อยู่แบบนั้น เพื่อลดความกังวลในใจจนส่งกระทบต่อชีวิตประจำวัน
สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ
ยังไม่มีการสรุปได้แน่ชัดว่าโรคย้ำคิดย้ำทำเกิดจากอะไร แต่ส่วนมากโรคย้ำคิดย้ำทำ เกิดจากปัจจัยต่อไปนี้
1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
โรคย้ำคิดย้ำทำสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ หากคุณมีคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำมาก่อน ความเสี่ยงที่คุณจะป่วยเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำด้วยจะอยู่ที่ประมาณ 2-3%
นอกจากนี้ความเสี่ยงของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมยังอาจเพิ่มมากขึ้นอีก หากคุณมีฝาแฝดที่เกิดในไข่ใบเดียวกันเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยระดับความเสี่ยงจะสูงขึ้นเป็น 60-90%
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
2. ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
ผู้ป่วยเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำส่วนหนึ่งมักเคยมีประสบการณ์เจ็บปวดในวัยเด็กมาก่อน เช่น การถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือถูกทารุณทางร่างกาย หรือทางการใช้คำพูด
ประสบการณ์ที่เจ็บปวดเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำแล้ว ยังมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลประเภทอื่นๆ ได้ด้วย
3. การทำงานที่ผิดปกติของสารในระบบประสาท
มีความเป็นไปได้ว่า โรคย้ำคิดย้ำทำอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบสารซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในร่างกายที่ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมภาวะอารมณ์และความรู้สึกของเรา รวมถึงมักจะเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชหลายชนิดด้วย
4. การติดเชื้อสเตรปโตค็อคคัส (Streptococcal infection)
เชื้อโรคที่สามารถทำให้เกิดอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำได้ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "โรคแพนด้าส์ (Pediatric Autoimmune Neuropsychiatric Disorders Associated with Streptococcal infections: PANDAS)"
ความหมายของโรคนี้ก็คือ โรคจิตเภทในเด็กซึ่งเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันตนเองและส่งผลไปถึงระบบประสาท โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัสนั่นเอง
อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ
ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำส่วนมากจะประสบปัญหาจากทั้งอาการ “ย้ำคิด (Obsession)" และ “ย้ำทำ (Compulsion)" แต่ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
1. อาการย้ำคิด (Obsessions)
เป็นอาการเกี่ยวกับความรู้สึก ความคิด หรือจินตนาการของผู้ป่วยถึงบางสิ่งบางอย่างซ้ำๆ โดยที่ผู้ป่วยเองก็ทราบว่าเป็นสิ่งเหล่านั้นไร้เหตุผล และไม่มีที่มา จนทำให้เกิดความรำคาญและไม่สบายใจเกิดขึ้น เช่น
- ความกลัวต่อเชื้อโรค สิ่งสกปรก หรือการปนเปื้อนที่มากผิดวิสัย
- ความคิดที่ยึดติดกับสิ่งต้องห้ามทางเพศ หรือทางศาสนา
- ความกังวลเกี่ยวกับลำดับ ความสมดุล หรือความถูกต้องแม่นยำ
- ความคิดรุนแรงเกี่ยวกับการทำร้ายตนเอง หรือผู้อื่น
- การคิดซ้ำๆ เกี่ยวกับคำพูด เสียง หรือตัวเลข
2. อาการย้ำทำ (Compulsions)
เป็นอาการเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ป่วยที่จะกระทำการบางอย่าง หรือกระทำเพื่อตอบสนองต่ออาการย้ำคิด เพื่อให้ตนเองรู้สึกสบายใจ และไม่วิตกกังวล เช่น
- การทำความสะอาดร่างกาย สิ่งของ หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ แบบมากเกินความจำเป็น
- การบ่นพึมพำซ้ำๆ หรือนับเลขซ้ำๆ
- พฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ เช่น เดินเข้าและออกประตู นั่งลงและลุกขึ้นยืน
- การจัดเรียง และจัดลำดับสิ่งของแบบมีลักษณะเฉพาะตัว หรือต้องการให้สิ่งของนั้นๆ เรียงอย่างเป็นระบบ หรือมีความสมดุลอย่างสมบูรณ์แบบ
- การตรวจความเรียบร้อยซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น ตรวจดูซ้ำๆ ว่า กลอนประตูล็อค ปิดเตาแก๊สแล้วหรือยัง
- การเก็บสะสมสิ่งที่ไม่จำเป็นแล้ว
ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำบางรายอาจมีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติร่วมด้วยซึ่งเรียกว่า "มอเตอร์ ทิค" (Motor Tic) หรือ "มูฟเมนต์ ทิค (Movement Tic)" โดยอาจอยู่ในรูปของอาการกล้ามเนื้อกระตุกอย่างไม่เป็นจังหวะ เช่น
- การสะบัดคอ
- อาการกระตุกที่มุมปาก
- การยักไหล่
- การกระพริบตาซ้ำๆ หรืออาจเป็นอาการพูดแบบผิดปกติ หรือที่เรียกว่า "โวคอล ทิค" (Vocal Tic)
นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำยังมักจะเสียเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวันไปกับอาการย้ำคิดและย้ำทำของตนเอง หรือทำให้กิจวัตรประจำวันบางอย่างต้องใช้เวลานานมากกว่าปกติ เพราะอาการป่วยที่เกิดขึ้นด้วย
หากไม่แน่ใจว่า อาการของตนเอง หรือคนใกล้ชิด เข้าข่ายโรคย้ำคิดย้ำทำหรือไม่ นอกจากโทรศัพท์ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต โทร.1323 หรือปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งให้บริการโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แล้ว
ปัจจุบันยังมีผู้ให้บริการเอกชนที่เปิดให้บริการปรึกษาแพทย์แบบออนไลน์ (วีดีโอคอล) หรือจะเลือกโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์แบบไม่เปิดกล้องก็ได้ นับเป็นบริการที่สะดวกสบาย ทันสมัย ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน หรืออยู่ที่ไหนก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้ตลอดเวลา
การวินิจฉัย และการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ
จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา จะวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยอาศัยเกณฑ์ของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM) โดยต้องแยกโรคจาก obsessive–compulsive personality disorder (OCPD)
การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำสามารถทำได้โดยอาศัยกระบวนการรักษา 2 อย่างควบคู่กันไป ได้แก่
- พฤติกรรมบำบัด มีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อสอนผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำให้ได้มีทักษะในการจัดการและลดอาการย้ำคิดย้ำทำที่เกิดขึ้น รวมถึงความวิตกกังวลของตนเอง
- การรับประทานยาเพื่อปรับสารเคมีในสมอง โดยจะเป็นการให้ยาในกลุ่มยาคลายกังวล (Antidepressants) เช่น
- แอนาฟรานิล (Anafranil)
- โคลมิพรามีน (Clomipramine)
- ลูว็อกซ์ (Luvox)
- ฟลูว็อกซ์ซามีน (Fluvoxamine)
- โปรแซ็ค (Prozac)
- โซลอฟท์ (Zoloft)
- เซอร์ทราลีน (Sertraline)
นอกจากนี้ยังพบว่า การเล่นโยคะและการนวดบำบัดก็อาจช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลที่เกิดจากโรคย้ำคิดย้ำทำได้ อย่างไรก็ตาม การที่อาการป่วยจะหายขาดได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค การรับประทานยาที่ตรงต่อเวลา และไม่ตัดสินใจหยุดรับประทานยาเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ารับการทำพฤติกรรมบำบัดกับแพทย์ หรือนักจิตบำบัด ตามนัดหมายอย่างต่อเนื่องด้วย
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ผมอยากทราบว่าผมเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (ocd) หรือป่าว? เพราะผมเวลานึกถึงบุคคล อาทิเช่น พ่อแม่ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บางครั้งก็มักจะคำด่าหยาบคาย รวมทั้งความคิดและภาพในหัวที่ไม่เหมาะสมผุดขึ้นมา ทั้งๆที่เราไม่ได้คิดหรืออยากให้เป็นอย่างนั้นเลย ไม่มีอารมณ์โกรธหรือปัจจัยอื่นแต่อย่างใด ผมต้องคอยควบคุมมันและพย...