คุณอาจเคยเห็นคนรอบตัวบางคนที่มักจะปลีกตัวออกจากสังคม ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น รวมถึงมีอาการประหม่าอยู่เสมอเมื่อต้องอยู่ในสถานที่ที่พลุกพล่านไปด้วยผู้คน
คนเหล่านั้นมักถูกเข้าใจผิดว่า เป็นคนขี้อาย หรือไม่ชินกับการแสดงออกต่อหน้าคนหมู่มากเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้ว ยังมีโรคอีกชนิดหนึ่งซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมดังกล่าวได้ นั่นก็คือ "โรคกลัวการเข้าสังคม"
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ความหมายของโรคกลัวการเข้าสังคม
โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder) เป็นโรคกลัวชนิดหนึ่ง เกิดจากความหวาดกลัวว่า จะถูกคนรอบข้างมองในแง่ลบ เช่น
- กลัวว่า ตนเองจะทำเรื่องน่าอับอายต่อหน้าผู้อื่น
- กลัวว่า จะทำผิดพลาดและถูกต่อว่า
- กลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนรอบข้าง
อาการเหล่านี้ หากมองผิวเผินอาจดูเหมือนอาการตื่นเต้นทั่วไปในคนปกติ แต่ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการประหม่ามาก ไม่สามารถบังคับตนเองให้ไม่กลัวการเข้าสังคมได้ นั่นจึงทำให้ผู้ป่วยมักพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมและมีความกลัวถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
สาเหตุของโรคกลัวการเข้าสังคม
คาดว่าโรคกลัวการเข้าสังคมอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านี้
- ระบบการทำงานของสมอง
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- การประมวลผลเกี่ยวกับการกระทำของตนเอง และการตอบสนองต่อบุคคลอื่น
- ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นโรคนี้จากการเผชิญเหตุการณ์เลวร้ายที่ทำให้ฝังใจตั้งแต่วัยเด็ก
- วิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่
- ลักษณะบุคลิกภาพส่วนตัวที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคกลัวการเข้าสังคม
อาการของโรคกลัวการเข้าสังคม
ผู้ที่เข้าข่ายเป็นโรคกลัวการเข้าสังคมจะมีความขี้อายเกินกว่าคนปกติ เช่น ไม่กล้าสบตากับใครขณะพูด หวาดกลัวการพูดคุย หรือเข้าหาผู้อื่น ไม่อยากไปในที่ที่ต้องเข้าสังคม หรือมีคนจำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า งานเลี้ยง ไม่อยากไปโรงเรียน หรือไปทำงานในบริษัทที่มีคนเยอะๆ
นอกจากนี้โรคกลัวการเข้าสังคมยังมักจะมีอาการสืบเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็ก หรือวัยรุ่น ซึ่งไม่ได้รับการรักษา หรือเยียวยาตั้งแต่เวลานั้น จนอาการลุกลามมาจนถึงวัยผู้ใหญ่
อาการที่บ่งบอกถึงโรคกลัวการเข้าสังคมสามารถสังเกตได้ ดังนี้
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
1. ความผิดปกติที่แสดงออกทางอารมณ์และความคิด
- รู้สึกประหม่าและหวาดกลัวทุกครั้งที่ต้องพูดคุยกับคนอื่น หรือพูดไม่ออกเมื่ออยู่ต่อหน้าคนอื่น
- วิตกกังวลเป็นอย่างมากว่าคนรอบตัวจะคิดอย่างไรกับตนเองและหวาดกลัวว่า คนรอบตัวจะวิพากษ์วิจารณ์ตนเองไปต่างๆ นาๆ
- เกิดความเครียดล่วงหน้าเป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ เมื่อรู้ว่า ต้องปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน หรือต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่เจอคนเยอะๆ
- กลัวว่า ตนเองจะแสดงความขายหน้าออกไปให้คนอื่นเห็น และต้องรู้สึกอับอาย
- กลัวคนอื่นจะจับสังเกตได้ว่า ตนกำลังรู้สึกประหม่าอยู่
2. ความผิดปกติที่แสดงออกทางร่างกาย
- อาย หน้าแดง เขินจนบิด
- ไม่กล้าสบตา
- หายใจหอบถี่และเร็ว
- รู้สึกปั่นป่วนในท้อง บางรายถึงกับอาเจียน
- เสียงสั่น พูดตะกุกตะกัก
- ใจเต้นแรง
- แน่นหน้าอก
- อยู่นิ่งไม่ได้
- เหงื่อออกมาก
- หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
3. ความผิดปกติที่แสดงออกทางพฤติกรรม
- ชอบปลีกตัวไปหลบอยู่คนเดียวบ่อยๆ เพราะกลัวการเผชิญหน้ากับผู้อื่น
- มนุษยสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ สานสัมพันธ์ไม่เก่ง และรักษาความเป็นเพื่อนกับผู้อื่นไว้ได้ยาก
- ไม่กล้าทำอะไรด้วยตนเองโดยลำพัง จำเป็นต้องมีเพื่อนอยู่ข้างๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม
- ไม่กล้าแสดงออกขั้นรุนแรง
- ในผู้ใหญ่บางรายอาจต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนที่จะไปเผชิญหน้ากับผู้คน โดยเชื่อว่า จะทำให้มีความกล้ามากขึ้น
ผลกระทบของโรคกลัวการเข้าสังคม
- เป็นอุปสรรคต่อการเรียนและการงาน เช่น
- ไม่กล้าแสดงออกในที่ประชุม หรือหน้าชั้นเรียน
- ไม่กล้าไปสัมภาษณ์งาน
- ลังเลและกดดันเป็นพิเศษที่จะตัดสินใจรับตำแหน่ง หรือทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- มีปัญหาในการติดต่อประสานงานกับหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน
- ไม่มีความสุขกับการเรียนและการทำงาน
- มีปัญหาในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเพื่อน หรือคนรัก ทำให้อาจคบหากับใครได้ไม่นาน ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ หรือสังคมใหม่ๆ ได้ ไม่กล้าเปิดใจรับใครเข้ามาในชีวิต และไม่กล้าแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่น
- เสียโอกาสในการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือพบเจอคนใหม่ๆ ทำให้ไม่ได้พัฒนาตนเองอย่างที่ควรจะเป็น รวมทั้งพลาดโอกาสดีๆ ในชีวิต
การรักษาโรคกลัวการเข้าสังคม
สิ่งสำคัญของการรักษาโรคกลัวการเข้าสังคมคือ ผู้ป่วยต้องตระหนักถึงความผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นกับตนเอง และพร้อมที่จะเข้ารับการบำบัดรักษา เพราะโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการบำบัดอย่างต่อเนื่อง
1. การรักษาด้วยจิตบำบัด
ถือเป็นแนวทางการรักษาหลักสำหรับโรคนี้ เทคนิคที่นิยมใช้และได้ประสิทธิภาพที่สุดในตอนนี้คือ "การบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy: CBT)"
เทคนิคการบำบัดนี้เป็นการบำบัดเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการรับรู้ (ความคิด) และพฤติกรรมหรือการกระทำของผู้ป่วย เข้ากับอาการกลัวและวิตกกังวล
เทคนิคการบำบัดนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถระบุสาเหตุของอาการกลัวได้ รวมถึงเรียนรู้วิธีแก้ไขปรับเปลี่ยนความคิด และการกระทำที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลหรือความกลัวขึ้นได้
2. การรักษาด้วยยา
ส่วนมากจิตแพทย์จะสั่งยาลดอาการซึมเศร้า (Antidepressants) และยาระงับความวิตกกังวล (Anti Anxiety) ให้กับผู้ป่วย ระดับความรุนแรงของยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยแต่ละราย แต่จิตแพทย์จะใช้การรักษาด้วยยาเป็นแนวทางการรักษารอง หากใช้การรักษาแบบจิตบำบัดแล้วไม่ได้ผล
เนื่องจากการใช้ยาเหล่านี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะติดยา และเมื่อหยุดใช้ยาก็อาจกลับมาเป็นโรคนี้ซ้ำได้อีก
3. การฝึกทักษะอื่นๆ ที่จำเป็น
เช่น ทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง ทักษะการผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล ทักษะการพูดต่อหน้าสาธารณะ ทักษะการเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยรับมือกับสถานการณ์ที่ตนเคยหวาดกลัวได้
โรคกลัวการเข้าสังคมแม้จะสามารถเป็นได้ตั้งแต่เด็ก แต่หากยอมรับในความผิดปกติที่เกิดขึ้นและตัดสินใจเข้ารับการรักษา โรคนี้ก็สามารถรักษาให้หายได้และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
ดูแพ็กเกจปรึกษาจิตแพทย์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ใจสั่นผิดปกติค่ะ