กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

อาการปวดท้อง ปวดท้องแต่ละส่วน มีผลอย่างไร

แนะนำแนวทางการสังเกตอาการปวดท้องแต่ละส่วน อาการปวดท้องแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์ หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการปวดท้อง ปวดท้องแต่ละส่วน มีผลอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ในทางการแพทย์จะแบ่งอาการปวดท้องหลักๆ ออกเป็น 5 ส่วน คือ ปวดท้องด้านขวาบน ปวดท้องด้านซ้ายบน ปวดท้องด้านขวาล่าง ปวดท้องด้านซ้ายล่าง และปวดท้องส่วนกลาง
  • อาการปวดท้องด้านขวาล่างมักเกิดจากไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งจะมีอาการปวดจุดบริเวณรอบสะดือ ก่อนที่จะย้ายไปปวดบริเวณท้องด้านขวาล่าง โดยจะมีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ร่วมกับมีไข้
  • หากอาการปวดท้องด้านซ้ายล่างเกิดในผู้สูงอายุควรระมัดระวังเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมักมีพฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนไปจากเดิม ร่วมกับมีภาวะซีด และขับถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
  • หากมีอาการปวดท้องรุนแรง ปวดต่อเนื่อง และมีไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างทันที
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับทุกเพศทุกวัย

อาการปวดท้อง เป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สาเหตุของอาการปวดท้อง และมักคิดว่าไม่เป็นอันตรายอะไร หากนั่งพักสักหน่อย หรือรับประทานยาแก้ปวดก็น่าจะกลับมาแข็งแรงดี

อย่างไรก็ตาม ภายในช่องท้องของเรานั้นประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ มากมาย เช่น กระเพาะอาหาร ตับ ถุงน้ำดี ไส้ติ่ง หรือลำไส้ใหญ่ ซึ่งอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของอวัยวะเหล่านี้ก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในบทความนี้จะแนะนำเกี่ยวกับอาการปวดท้องในแต่ละส่วน เพื่อให้ผู้ที่มีอาการปวดท้องสามารถแยกได้ว่า อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นเข้าข่ายอาการปวดท้องที่เป็นอันตรายหรือไม่ จะได้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ และเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

อาการปวดท้องแต่ละส่วน บอกโรคอะไรได้บ้าง?

ในทางการแพทย์จะแบ่งอาการปวดท้องหลักๆ ออกเป็น 5 ส่วน คือ ปวดท้องด้านขวาบน ปวดท้องด้านซ้ายบน ปวดท้องด้านขวาล่าง ปวดท้องด้านซ้ายล่าง และปวดท้องส่วนกลาง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ปวดท้องด้านขวาบน 

ท้องด้านขวาบนมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องคือ ตับ ถุงน้ำดี และท่อน้ำดี โดยมีลักษณะอาการปวด ดังนี้

  • ถุงน้ำดีอักเสบ มีอาการปวดท้องต่อเนื่อง และอาจมีไข้ร่วมด้วย 
  • นิ่วอุดตันในท่อน้ำดี ร่างกายจะพยายามบีบไล่นิ่วให้หลุดออกมา ทำให้เกิดอาการปวดท้องเฉียบพลัน และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้ระยะเวลาประมาณ 15-30 นาที ในบางรายอาจมีอาการเหงื่อออก ใจสั่น และอาจมีอาการปวดร้าวที่บริเวณหลัง หรือสะบักด้านขวาด้วย
  • ตับอักเสบ หรือฝีหนองที่ตับ ปกติจะไม่แสดงอาการอะไร แต่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายช่องท้องด้านขวาบนได้

2. ปวดท้องด้านซ้ายบน

ท้องด้านซ้ายบนมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องคือ ม้าม ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการปวดท้องในบริเวณนี้ แต่หากเกิดอาการปวดท้องด้านซ้ายบนอย่างรุนแรงนั้น อาจเกิดจากภาวะม้ามขาดเลือด ซึ่งจะต้องไปพบแพทย์ทันที

นอกจากนี้อาจเกิดจากโรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

3. ปวดท้องด้านขวาล่าง 

อาการปวดท้องด้านขวาล่างมักเกิดจากไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งจะมีอาการปวดจุดบริเวณรอบสะดือ ก่อนที่จะย้ายไปปวดบริเวณท้องด้านขวาล่าง โดยจะมีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ร่วมกับมีไข้ หากมีอาการดังกล่าวให้รีบไปพบแพทย์ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่มีภาวะอวัยวะกลับข้างจะมีไส้ติ่งอยู่ที่บริเวณด้านซ้ายล่างแทน ซึ่งหากมีอาการลักษณะนี้ในบริเวณท้องด้านซ้ายล่างก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน 

4. ปวดท้องด้านซ้ายล่าง

อาการปวดท้องด้านซ้ายล่างมักเกิดจากความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย หากปวดเป็นๆ หายๆ ร่วมกับการขับถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของโรคลำไส้แปรปรวนได้ 

อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดท้องด้านซ้ายล่างเกิดในผู้สูงอายุควรระมัดระวังเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมักมีพฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนไปจากเดิม ร่วมกับมีภาวะซีด และขับถ่ายอุจจาระเป็นเลือด

หากมีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ทำได้หลายวิธี เช่น ตรวจหาเลือดในอุจจาระ ตรวจโดยการส่องกล้อง หรือตรวจเลือดเพื่อดูสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่การตรวจเหล่านี้มักรวมอยู่ในโปรแกรมตรวจมะเร็งสำหรับผู้สูงอายุของแต่ละโรงพยาบาลอยู่แล้ว

5. ปวดท้องช่วงกลาง 

อาการปวดท้องช่วงกลางมักเกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหาร และตับอ่อน หากปวดตรงกลางท้องค่อนไปทางสะดือ อาจเป็นอาการปวดจากกระเพาะอาหาร แต่ถ้าปวดลึกไปกว่านั้น หรือปวดตรงบริเวณลิ้นปี่ อาจเป็นอาการของโรคตับอ่อนอักเสบ

ลักษณะอาการของตับอ่อนอักเสบคือ ปวดบริเวณเหนือลิ้นปี่และจะปวดตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษา โดยจะมีไข้ร่วมด้วย ผู้ที่มีอาการในลักษณะดังกล่าวควรรับไปพบแพทย์ทันที

นอกจากสาเหตุของอาการปวดท้องที่กล่าวมานี้แล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องได้อีกมากมาย หากมีข้อสงสัย หรือต้องการคำปรึกษาเบื้องต้นจากแพทย์เพราะไม่สะดวกไปพบแพทย์ด้วยตนเอง ปัจจุบันหลายแห่งมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ไว้รองรับแล้ว  

แต่หากมีอาการปวดท้องรุนแรง ปวดต่อเนื่อง และมีไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างทันที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับทุกเพศทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Viniol A, Keunecke C, Biroga T, Stadje R, Dornieden K, Bösner S, et al. (October 2014). "Studies of the symptom abdominal pain--a systematic review and meta-analysis". Family Practice. 31 (5): 517–29. doi:10.1093/fampra/cmu036. PMID 24987023.
Patterson JW, Dominique E (14 November 2018). "Acute Abdomenal". StatPearls. PMID 29083722.
Healthline, Abdominal Pain: Causes, Types, and Prevention (https://www.healthline.com/health/abdominal-pain), 25 November 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีอะไรบ้าง
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีอะไรบ้าง

มะเร็งลำไส้ใหญ่มี 5 ระยะซึ่งแต่ละระยะจะมีการรักษาแตกต่างกันออกไป

อ่านเพิ่ม
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?

ตัวเลือกอาหารที่เหมาะสมช่วยเรื่องการรับประทานอาหารที่ดีหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว

อ่านเพิ่ม