อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่เกือบทุกคนต้องเคยเผชิญมาก่อน แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า อาการปวดศีรษะมีแบบไหนบ้าง และมักมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่
International Headache Society แบ่งอาการปวดศีรษะสามารถจำแนกได้ 3 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ดังต่อไปนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ประเภทที่ 1 อาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ
อาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิคือ การปวดศีรษะที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ได้แก่
- อาการปวดศีรษะไมเกรน ลักษณะอาการเด่น คือ มีอาการปวดศีรษะข้างเดียว ปวดมากจนถึงขั้นมีอาการเวียนศีรษะ และอาเจียนร่วมด้วย แต่ในบางรายก็อาจปวดศีรษะได้ทั้งสองข้าง และจะปวดแบบมีจังหวะตุ้บๆ อยู่ข้างในติดต่อกันเป็นเวลานาน สาเหตุของไมเกรนมีมากมาย (เช่น การมีประจำเดือน) แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
- อาการปวดศีรษะที่มาจากความเครียด อาการปวดศีรษะจากความเครียดมักจะทำให้รู้สึกปวดขมับทั้งสองข้าง ผู้ป่วยอาจรู้สึกคล้ายกับมีแรงกด หรือความดันบางอย่างจากภายในศีรษะ แต่จะไม่รู้สึกปวดแบบตุ้บๆ ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกปวดที่บริเวณต้นคอ หลัง และไหล่ร่วมด้วย
- ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ลักษณะอาการเด่น คือ มีอาการปวดบริเวณรอบกระบอกตา มักมีน้ำมูก น้ำตาไหลร่วมด้วย อาการมักเป็นช่วงเวลาเดิมๆ เช่น ช่วงเวลาเดิมของปี นานเป็นสัปดาห์ หรือเดือน จากนั้นจะหายไป แล้วปีถัดไปจะเป็นอีกช่วงเวลาเดิม
ประเภทที่ 2 ปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ
- อาการปวดศีรษะที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บบริเวณศีรษะและคอ
- อาการปวดศีรษะที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดบริเวณศีรษะและคอ
- อาการปวดศีรษะที่เกิดภายในกะโหลกศีรษะโดยที่ไม่เกี่ยวกับเส้นเลือด เช่น ปวดศีรษะจากความดันในกะโหลกศีรษะสูง ปวดศีรษะจากเนื้องอกในสมอง
- อาการปวดศีรษะที่เกิดจากการใช้สารเสพติด หรือการขาดสารบางชนิด เช่น การขาดคาเฟอีน
- อาการปวดศีรษะที่เกิดจากการติดเชื้อ
- อาการปวดศีรษะที่เกิดจากความผิดปกติของการปรับสภาพร่างกาย (Homeostasis) เช่น ปวดศีรษะจากการดำน้ำ ปวดศีรษะจากการเปลี่ยนแปลงของระดับความสูง เช่น การขึ้นเขา การเดินทางโดยเครื่องบิน
- อาการปวดศีรษะ/ใบหน้าที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะใกล้เคียง ได้แก่ กระโหลกศีรษะ คอ ตา หู จมูก โพรงจมูก ปาก และ ฟัน เช่น ความผิดปกติที่ฟัน/ฟันผุ ไซนัสอักเสบ และตา เช่น ต้อหิน
- อาการปวดศีรษะจากอาการทางจิตเวช
ประเภทที่ 3 ปวดศีรษะแบบอื่นๆ
ปวดศีรษะจากเส้นประสาทสมอง ปวดใบหน้า และปวดศีรษะอื่นๆ เช่น การอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 จากการติดเชื้อไวรัสงูสวัด การอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9
นอกจากนี้ยังมีอาการปวดหัวที่แบ่งตามระยะเวลาที่สมควรไปพบแพทย์ ได้แก่
อาการปวดศีรษะที่แบ่งตามระยะเวลาที่สมควรไปพบแพทย์
อาการปวดศีรษะแบบเรื้อรัง
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะติดต่อกันหลายเดือน (นานกว่า 3 เดือน) ใน 1 เดือนจะปวดมากกว่า 15 วัน ร่วมกับมีอาการเป็นไข้ และจะปวดเมื่อยบริเวณคอและไหล่
อาการปวดศีรษะแบบรุนแรงและเฉียบพลัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการปวดศีรษะชนิดนี้ค่อนข้างรุนแรง เพราะจะรู้สึกปวดเหมือนกับได้รับแรงกระแทกที่ศีรษะรวมถึงมีอาการชาบริเวณใบหน้า ลิ้น และปาก และมีอาการหน้ามืดแบบเฉียบพลัน
แม้อาการปวดศีรษะจะเป็นอาการที่ใครก็สามารถเป็นได้ แต่หากสังเกตว่า ตนเองมีอาการต่อไปนี้
- ปวดศีรษะบ่อยครั้งเกินไปและถี่จนรบกวนชีวิตประจำวัน
- ปวดศีรษะและมีอาการร่วม เช่น อาการแขน ขา อ่อนแรง พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ตรวจเช็กความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางแก้ไขอาการเจ็บป่วยได้ทันเวลา และไม่ทำให้อาการปวดศีรษะเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของคุณไปมากกว่านี้
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android