ผู้ป่วยหลายคนที่เป็นไส้เลื่อนกระบังลมอาจไม่มีอาการหรือไม่มีอาการแสดงเลยก็ได้ โดยผู้เชี่ยวชาญได้พบความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจนระหว่างขนาดของไส้เลื่อนที่กระบังลมกับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งพบว่าหากมีไส้เลื่อนกระบังลมขนาดใหญ่ อาจไม่ทำให้มีอาการแสดงใด ๆ แต่หากมีขนาดเล็กมาก ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดได้ โดยไส้เลื่อนมักไม่ได้ทำให้เกิดอาการใด ๆ แต่อาการปวดหรือไม่สบายท้องนั้นเกิดจากการมีกรด น้ำดี หรืออากาศไหลย้อนจนทำให้ปวดท้องนั่นเอง
โรคไส้เลื่อนกระบังลมแบบไม่มีอาการ
หากคุณมีภาวะไส้เลื่อนกระบังลมแต่ไม่มีอาการแสดงใด ๆ ก็สามารถจัดเข้ากับกลุ่มโรคนี้ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะนี้มักตรวจพบเมื่อทำการตรวจสุขภาพจากปัญหาอื่น ๆ หากคุณไม่มีอาการและไม่ได้รับผลกระทบจากไส้เลื่อน ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาภาวะนี้แต่อย่างใด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการและอาการแสดง
อาการที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะไส้เลื่อนกระบังลมคือ
- อาการแสบร้อนที่หน้าอก
- เจ็บหน้าอก
- กรดไหลย้อน
- ท้องอืด
- หายใจลำบาก
อาการแสบร้อนที่หน้าอกอาจรุนแรงขึ้นเมื่อนอนหรืองอตัว และอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคนี้อาจมีการสับสนกับอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจวายเฉียบพลันได้ ดังนั้นถึงแม้ว่าคุณจะทราบว่าตนเองมีภาวะไส้เลื่อนที่กระบังลม แต่ก็ไม่ควรละเลยอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น ควรแจ้งแพทย์เพื่อให้มีการตรวจวินิจฉัยและรักษา หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอก อาจต้องมีการตรวจการทำงานของหัวใจเพื่อให้แน่ใจว่าอาการปวดที่เกิดขึ้นนั้นไม่เกี่ยวข้องกับหัวใจ
อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ในโรคนี้ประกอบด้วย
- ปัญหาเกี่ยวกับการกลืน
- ไอแห้ง
- หายใจลำบาก
- ท้องอืดหรือมีลมมาก
- อ่อนเพลีย
อาการที่น่ากังวล
ถึงแม้ว่าอาการของโรคนี้ส่วนใหญ่มักไม่รุนแรง แต่จำเป็นต้องมีการสังเกตอาการบางอย่างที่อาจต้องปรึกษาแพทย์ ซึ่งประกอบไปด้วยอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน ไม่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ หรือไม่สามารถผายลมได้ ถือเป็นสัญญาณอันตราย เพราะอาจเกิดไส้เลื่อนขาดเลือด ซึ่งทำให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหาร ดังนั้นหากมีภาวะนี้เกิดขึ้น และควรรีบไปแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน
การวินิจฉัยภาวะไส้เลื่อนที่กระบังลม
การตรวจร่างกายเพียงอย่างเดียวมักไม่สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อคุณเริ่มมีอาการที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะไส้เลื่อนที่กระบังลม แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
Barium Study: เป็นการเอกซเรย์ชนิดพิเศษที่ทำให้เห็นรูปร่างของหลอดอาหาร
Esophagoscopy: เป็นการส่องกล้องเพื่อตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน
ซึ่งการทำ Barium study แพทย์จะให้ผู้รับการตรวจดื่มน้ำแป้งสีขาวที่มีส่วนผสมของ barium หลังจากนั้นจึงทำการเอกซเรย์หลอดอาหาร จึงจะทำการวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคนี้หรือไม่จากอาการร่วมกับผลการตรวจ
อยากทราบ ผู้สูงอายุเคยรับการผ่าตัดไส้เลื่อน3ครั้งแล้ว จะมีวิธีป้องกันได้ไหมค่ะ และถ้ามีอารการอีกจะผ่าได้อีกไหมค่ะอันตรายไหม เพราะท่านมีโรคแระจำตัวค่ะ ความดันสูง ไขมันในเลือด และมีกล้ามเนื้อกัวใจตาย2จุดค่ะ ( ขอขอบคุณค่ะ)