โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis) คือ ภาวะติดเชื้อที่หลอดลมหลักของปอด (bronchi) จนทำให้หลอดลมอักเสบ และระคายเคือง อาการหลักของภาวะนี้คื ไอโดยอาจขับเสมหะสีเหลืองเทาออกมา เจ็บคอ และเกิดเสียงหวีดสูงขณะหายใจ
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
โรคหลอดลมอักเสบส่วนมากจะสามารถรักษาได้ง่าย ๆ ที่บ้านด้วยการพักผ่อน รับประทานยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs - NSAID) และดื่มน้ำมากๆ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น
ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก
แต่คุณคุณควรไปพบแพทย์พบว่าอาการของโรครุนแรงมากขึ้น เช่น
- ไอรุนแรงนานมากกว่า 3 สัปดาห์
- มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไปนานกว่า 3 วัน
- มีเสมหะปนเลือด
- หายใจเร็ว (มากกว่า 30 ครั้งต่อนาที)
- ปวดหน้าอก
- มีอาการง่วงนอน หรือสับสน
- ประสบกับโรคหลอดลมอักเสบหลายครั้ง
- มีภาวะสุขภาพที่ปอด หรือหัวใจ เช่น โรคหอบหืด หรือหัวใจล้มเหลว
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจวินิจฉัยด้วยการกำจัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาวะปอดอื่นๆ ไปก่อน เช่น ปอดบวม ซึ่งเป็นภาวะที่มีอาการคล้ายกับโรคหลอดลมอักเส หากแพทย์คาดว่าคุณเป็นโรคปอดบวม คุณต้องเข้ารับการเอกซเรย์หน้าอกร่วมกับตรวจตัวอย่างเสมหะ
หากแพทย์คาดว่า คุณเป็นภาวะอื่นๆ ที่ไม่ได้วินิจฉัยมาก่อน แพทย์จะตรวจสมรรถภาพของปอด (Spirometer) ด้วยการให้คุณหายใจเข้าลึกๆ และเป่าลมเข้าอุปกรณ์ เพื่อวัดปริมาตรอากาศภายในปอดของคุณ ซึ่งความจุปอดที่ลดลง จะบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบ
สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบสามารถแจกแจงได้ดังต่อไปนี้
1. หลอดลมหลักระคายเคือง
ก่อนจะเข้าใจสาเหตุ คุณควรเข้าใจส่วนประกอบหลักๆ และการทำงานคร่าวๆ ของหลอดลมก่อน
โดยเริ่มจากหลอดลมหลัก (Bronchi) ซึ่งทำหน้าที่ดักจับฝุ่นละอองต่างๆ จะแตกกิ่งก้านสาขาออกไปสู่หลอดลมใหญ่ (Trachea) ทั้ง 2 ข้าง และสู่หลอดลมขนาดเล็กภายในปอด ซึ่งกิ่งก้านเหล่านี้จะนำไปสู่หลอดลม และขนาดที่เล็กลงเรื่อยๆ เรียกว่า "หลอดลมฝอย (bronchioles)"
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบนั้น มาจากผนังของหลอดลมหลักผลิตมูกออกมาเพื่อดักจับฝุ่นละออง และสิ่งสกปรก ซึ่งทำให้เกิดความระคายเคืองได้
ในกรณีโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน ส่วนมากจะเกิดขึ้นจากหลอดลมหลักอักเสบ หรือระคายเคืองจนทำให้มีการผลิตมูกออกมามากกว่าปกติ ร่างกายของคุณจะพยายามขับมูกที่มากเกินนี้ด้วยการไอออกมา
2. การติดเชื้อ
ภาวะหลอดลมอักเสบยังสามารถเกิดมาจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียได้อีกด้วย โดยส่วนมากจะเกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกับที่ทำให้เป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสจะอยู่ในละอองสารคัดหลั่งที่ออกมาจากจมูกหรือปากของผู้ติดเชื้อ (ผ่านการไอหรือจาม)
ละอองเหล่านี้สามารถกระจายตัวออกไปได้ไกลถึง 3 ฟุต และสามารถค้างอยู่ในอากาศได้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนจะตกลงสู่พื้นผิว ซึ่งเชื้อจะมีชีวิตอยู่บนสิ่งนั้น ๆ ได้นานกว่า 24 ชั่วโมง ผู้ที่สัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อไวรัสได้ด้วยการสัมผัสผู้อื่น
สิ่งของในชีวิตประจำวันทั้งที่บ้าน และที่สาธารณะอย่างลูกบิดประตู และแป้นพิมพ์ ผู้คนมักจะติดเชื้อจากการสัมผัสสิ่งของจนทำให้เชื้อขึ้นไปอยู่บนมือ และนำมือเปื้อนเชื้อนั้นเข้าใกล้กับจมูก หรือปากของตนเอง
อีกทั้งคุณยังสามารถติดเชื้อได้จากการสูดหายใจนำละอองไวรัสในอากาศเข้าไปอีกด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
3. อาชีพที่ทำ
คุณอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดลมอักเสบมากกว่าคนทั่วไป หากคุณต้องสัมผัสกับสิ่งที่สามารถสร้างความเสียหายแก่ปอดของคุณ ระหว่างการปฏิบัติงาน เช่น ฝุ่นจากธัญพืช เศษผ้า แอมโมเนีย กรดรุนแรง สารคลอรีน
ภาวะหลอดลมอักเสบที่เกิดจากการประกอบอาชีพมักจะทุเลาลงเองเมื่อคุณไม่ได้รับสารก่อความระคายเคืองอีกต่อไป
นอกจากนี้ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด เมื่อคุณสูบบุหรี่เป็นเวลานานๆ พิษของบุหรี่จะเข้าไปสร้างความเสียหายถาวรกับหลอดลมหลักจนทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดลมอักเสบ
ปอดบวม (pneumonia) เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดลมอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด โดยภาวะเกิดขึ้นเมื่อการติดเชื้อลามลึกลงไปยังปอด จนทำให้เกิดถุงลมภายในที่เต็มไปด้วยของเหลว ผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบ 1 จาก 20 คนจะประสบกับภาวะปอดบวมขึ้น
ผู้คนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะปอดบวมมีดังนี้
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ
ภาวะปอดบวมที่ไม่รุนแรงมักรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะที่บ้าน แต่สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงอาจต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลแทน
ผู้เสี่ยงเป็นโรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันเป็นภาวะปอดติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุด และก็เป็นหนึ่งในห้าสาเหตุที่ทำให้ต้องไปพบแพทย์มากที่สุด
โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันสามารถเกิดกับผู้คนได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้มากกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี พบได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว และมักเกิดขึ้นหลังจากเป็นหวัด หรือมีอาการเจ็บคอทั่วไป
คาดกันว่า มีผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังส่วนมากจะเป็นผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
อาการของโรคหลอดลมอักเสบ
อาการหลักของโรคหลอดลมอักเสบ คือ อาการไอซึ่งอาจทำให้มีเสมหะสีเหลืองเทาออกมาด้วย ส่วนอาการอื่นๆ ของโรคนี้จะคล้ายกับภาวะติดเชื้ออื่นๆ เช่น โรคหวัด โรคไซนัสอักเสบ เช่น
หากคุณเป็นโรคหลอดลมอักเสบ อาการไอของคุณอาจกินเวลานานหลายอาทิตย์แม้อาการอื่น ๆ จะหายไปแล้ว คุณอาจรู้สึกว่าอาการไอต่อเนื่องทำให้หน้าอกหรือกล้ามเนื้อหน้าท้องของคุณปวดเมื่อยบ้าง
ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการหายใจไม่สะดวกหรือหายใจมีเสียงหายใจสูง อาการเหล่านี้เกิดจากการอักเสบที่หลอดลมและเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยกับโรคหลอดลมอักเสบระยะยาว (เรื้อรัง)
โรคหลอดลมอักเสบระยะยาว (เรื้อรัง)
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังมักถูกเรียกว่า "โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease - COPD)" ซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้
- หายใจมีเสียงวี้ด
- มีอาการหายใจติดขัดเพิ่มขึ้นขณะออกกำลัง หรือเคลื่อนไหวร่างกาย
- มีอาการไอขับเสมหะต่อเนื่อง
- ประสบกับภาวะติดเชื้อในอกหลายครั้ง
อาการเหล่านี้มักจะทรุดลงในช่วงหน้าหนาว และผู้ป่วยมักจะประสบกับอาการที่เกิดขึ้นกะทันหันมากกว่าสองครั้งต่อปี
การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
หลอดลมอักเสบส่วนมากจะหายไปเองภายในไม่กี่สัปดาห์โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาใดๆ ซึ่งโรคหลอดลมอักเสบประเภทนี้จะเรียกว่า “โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน” โดยขณะที่คุณกำลังรอให้ภาวะนี้หายไป คุณควรดื่มน้ำ และพักผ่อนให้มากๆ ร่วมด้วย
แต่บางกรณีอาการของโรคนี้ก็อาจกินระยะเวลายาวนานกว่าปกติ หากอาการต่าง ๆ คงอยู่นานกว่าอย่างน้อย 3 เดือนจะเรียกภาวะเช่นนี้ว่า “โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง”
ขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาโรคหลอดลมอักเสบ มีเพียงการใช้ยาต่างๆ บรรเทาอาการเท่านั้น อีกทั้งต้องพึงจำไว้ว่า การสูบบุหรี่ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยควันจะทำให้อาการของโรคนี้ทรุดลง
การจัดการอาการที่บ้าน
หากคุณเป็นโรคหลอดลมอักเสบ พยายามพักผ่อนให้มากๆ ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และเพื่อให้มูกในปอดถูกขับออกมาง่ายขึ้น รักษาอาการปวดศีรษะ ไข้ และปวดกล้ามเนื้อด้วยยาพาราเซตตามอล หรืออิบูโพรเฟน แต่หากคุณเป็นหอบหืดไม่ควรใช้ยาอิบูโพรเฟน
คุณสามารถจิบน้ำผึ้งผสมมะนาวเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอแทนการใช้ยาก็ได้
เลิกสูบบุหรี่
หากคุณสูบบุหรี่ คุณควรเลิกบุหรี่ในทันที เนื่องจากบุหรี่จะยิ่งไปกระตุ้นให้โรคหลอดลมอักเสบทรุดหนักกว่าเดิม อีกทั้งยังเป็นตัวแปรที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ในระยะยาว (เรื้อรัง)
ยาปฏิชีวนะ
แพทย์จะไม่จ่ายยาปฏิชีวนะให้กับผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบ เนื่องจากโรคนี้มักเกิดมาจากเชื้อไวรัสซึ่งยาปฏิชีวนะจะไม่ได้ผล อีกทั้งการใช้ยาปฏิชีวนะในสถานการณ์ที่ไม่จำเป็นอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยาได้
แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะแก่คุณในกรณีที่คุณมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปอดบวม อีกทั้งยาปฏิชีวนะสามารถใช้กับ...
- เด็กที่คลอดก่อนกำหนด
- ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต
- ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ทั้งจากภาวะสุขภาพ หรือผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยสเตียรอยด์ ผู้ปวยซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)
หากคุณได้รับยาปฏิชีวนะสำหรับโรคหลอดลมอักเสบ ยาที่ได้มักจะเป็นยาที่ใช้ติดกันห้าวันอย่าง amoxicillin, oxytetracycline หรือ doxycycline ซึ่งผลข้างเคียงของยาเหล่านี้มีทั้งคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง แต่ก็นับว่าไม่ค่อยเกิดขึ้นนัก
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังก็สามารถรักษาได้ด้วยวิธีเดียวกับโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ยกตัวอย่างเช่น
- การใช้ยาประเภทที่เรียกว่า "mucolytics" ที่สามารถช่วยให้ขับมูกออกมาได้ง่ายขึ้น
- การออกกำลังที่เรียกว่า "โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถนะปอด (pulmonary rehabilitation)" เพื่อช่วยให้คุณรับมือกับอาการต่างๆ ได้ดีขึ้น
- การเลิกบุหรี่
อาการหลอดลมอักเสบสามารถทำให้เกิดความรำคาญในระหว่างใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่ต่างจากการเป็นโรคหวัด ทั้งยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ด้วย
คุณควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการรับสารพิษ หรือสิ่งสกปรกเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจปอด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
มีอาการไอมาสักระยะ ตรงจเลือด แล้ว ตรวจปอด แล้วปกติ มิทราบว่าเป็นเพราะอะไรครับ