อาเจียนในผู้ใหญ่

สัญญาณความผิดปกติของร่างกายและจิตใจที่ "หากรู้แล้ว" ไม่ควรนิ่งเฉย ต้องรีบแก้ไข
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาเจียนในผู้ใหญ่

อาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่  แม้การอาเจียนจะมาพร้อมกับความทรมานแสบจมูก เจ็บคอ  แต่หลังอาเจียนเสร็จ เรามักรู้สึกปลอดโปล่งมากยิ่งขึ้นเหมือนได้ระบายออกไป  นอกจากนี้การอาเจียนยังสามารถบ่งชี้ถึงความไม่ปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายได้หลายอย่าง สำหรับในบทความนี้เราจะเน้นไปที่เรื่องการอาเจียนในผู้ใหญ่ 

การอาเจียนคืออะไร

การอาเจียน (vomiting) เป็นกลไกของร่างกายที่ควบคุมและสั่งการด้วย "ศูนย์อาเจียน" ในสมอง   กลไกนี้จะเกิดขึ้นเมื่อศูนย์อาเจียนได้รับสิ่งกระตุ้นจากระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร  อวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน (อาการเมารถ เมาเรือ) รวมทั้งศูนย์ซีทีแซด (CTZ)  ศูนย์อาเจียนจะสั่งการไปกะบังลมทำให้กะบังลมเกิดการบีบตัวและส่งสัญญาณต่อไปยังกล้ามเนื้อท้องทำให้เกิดอาการเกร็งตัวพร้อมที่จะผลักดันอาหาร  ยา  สิ่งแปลกปลอม  หรือสารปนเปื้อนต่างๆ ที่อยุ่ในกระเพาะอาหารให้ผ่านขึ้นมาทางหลอดอาหารและพุ่งออกมาทางปากนั่นเอง  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดการอาเจียนในผู้ใหญ่

โดยทั่วไป การอาเจียนในผู้ใหญ่มักไม่ใช่สัญญาณของภาวะร้ายแรงใดๆ และมักจะเกิดขึ้นเพียง 1 หรือ 2 วันเท่านั้น    สาเหตุมักเกิดได้จากภาวะทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล  ตื่นเต้น   ภาวะความผิดปกติ หรือโรคทางกาย เช่น โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (gastroenteritis) ซึ่งเป็นการติดเชื้อของกระเพาะที่มาจากแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส  การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ  โรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไร้ท่อ เป็นสัญญาณของภาวะร้ายแรงกว่านั้นได้ เช่น  ภาวะไส้ติ่งอักเสบ  ตับอ่อนอักเสบ  เยื่อบุช่องท้องอักเสบ  ความผิดปกติทางสมอง อาการข้างเคียงของโรคไมเกรน    

ตัวอย่าง สาเหตุการอาเจียนในผู้ใหญ่ที่ควรกล่าวถึง 

การตั้งครรภ์

สตรีมีครรภ์มักประสบกับอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ (เรียกว่า “แพ้ท้อง” หรือ “morning sickness”) ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน  ส่วนมาก อาการแพ้ท้องมักจะเกิดในช่วงที่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก และจะหายไปเมื่อครรภ์มีอายุ 16-20 สัปดาห์

ไมเกรน

หากประสบกับอาการอาเจียนซ้ำซากพร้อมกับอาการปวดตุ้บๆ ที่ศีรษะซึ่งเกิดขึ้นยาวนานไม่กี่ชั่วโมงจนถึงหลายวันต่อครั้ง คุณอาจจะประสบกับอาการไมเกรนก็ได้ (migraines)  สามารถบรรเทาไมเกรนได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไปอย่างพาราเซตตามอลและไอบูโพรเฟนได้

หูชั้นในอักเสบ

หากอาการอาเจียนเกิดขึ้นร่วมกับอาการวิงเวียนและรู้สึกหัวหมุน (vertigo) ภาวะนี้อาจเกิดมาจากการติดเชื้อของหูชั้นใน (Labyrinthitis) ที่มักจะดีขึ้นเองภายในไม่กี่วัน แต่แพทย์ก็สามารถจ่ายยาบรรเทาอาการดังกล่าวได้ตามความจำเป็น

เมายานพาหนะ

อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดขึ้นระหว่างเดินทางในยานพาหนะจะเรียกว่า อาการเมายานพาหนะ (Motion sickness)  อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น จดจ้องไปยังขอบฟ้า หรือเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการฟังเพลง แต่ก็มียามากมายที่สามารถป้องกันและรักษาอาการเมานี้ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะไส้ติ่งอักเสบ

เช่นเดียวกับการอาเจียน ภาวะไส้ติ่งอักเสบยังทำให้เกิดอาการปวดท้องด้านขวาล่างรุนแรงขึ้นอีกด้วยจึงควรติดต่อขอรับความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล  หากคุณประสบกับอาการปวดท้องรุนแรงจนแผ่ไปทั่วท้องเพราะสัญญาณนี้อาจบ่งชี้ถึงการอักเสบอย่างรุนแรงของไส้ติ่งนั่นเอง  

สาเหตุอื่น ๆ 

การใช้ยาบางประเภท เช่นยาปฏิชีวนะ และยาแก้ปวดชนิดโอปิออยด์   การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป   การติดเชื้อของไตและภาวะนิ่วไต   การอุดกั้นของลำไส้จากภาวะไส้เลื่อน (hernia) หรือนิ่วถุงน้ำดี (gallstones)   การทำเคมีบำบัด (chemotherapy) และการทำรังสีบำบัด (radiotherapy)  ภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (acute cholecystitis)

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?  

  • อาเจียนซ้ำ ๆ มานานกว่า 1 หรือ 2 วัน 
  • คุณไม่สามารถดื่มน้ำได้เนื่องจากมีการอาเจียนซ้ำๆ 
  • กองอาเจียนของคุณมีสีเขียว (อาจมีน้ำดีปนซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะอุดตันที่ลำไส้) 
  • คุณมีสัญญาณของภาวะขาดน้ำรุนแรง (severe dehydration) เช่น สับสน หัวใจเต้นเร็ว  ถ่ายปัสสาวะน้อย หรือไม่ถ่ายเลย 
  • ตั้งแต่ป่วย น้ำหนักก็ลดลงอย่างมาก ประสบกับอาการอาเจียนซ้ำซาก 
  • รู้สึกไม่สบายอย่างมาก หรือรู้สึกกังวลกับอาการของตนเอง  
  • เป็นเบาหวาน (diabetes) และมีอาการอาเจียนเรื้อรัง โดยเฉพาะหากคุณต้องได้รับอินซูลิน (insulin) เนื่องจากว่าอาเจียนต่อ ๆ กันจะส่งผลไปยังระดับน้ำตาลในเลือด 

แพทย์จะซักประวัติตรวจสอบหาสาเหตุของอาการนี้เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น หรือให้การรักษา   หากมีอาการท้องร่วง (diarrhoea) พร้อมกับอาการอาเจียน อาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ว่า คุณเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (gastroenteritis) ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการอาเจียนที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ใหญ่   ภาวะนี้มักเป็นผลมาจากการรับเชื้อไวรัส เช่น เชื้อโนโรไวรัส (norovirus) หรือภาวะอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่พบในอาหารปนเปื้อนต่างๆ

ควรไปพบแพทย์อย่างฉุกเฉินเมื่อไร? 

บางกรณี การอาเจียนก็เป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพที่ร้ายแรงมาก โดยคุณควรขอความช่วยเหลือจากทางโรงพยาบาล หรือรีบไปยังสถานพยาบาลใกล้เคียงทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้ ความเจ็บปวดที่ท้องรุนแรงและกะทันหัน เจ็บหน้าอกรุนแรง มีเลือดปนกองอาเจียน หรือมีลักษณะเหมือนผงกาแฟ เจ็บคอและมีไข้สูง มีอาการปวดศีรษะรุนแรงกะทันหันต่างจากอาการปวดศีรษะปรกติ คาดว่าตนเองกลืนของมีพิษเข้าไป หากมีอาการท้องร่วง (diarrhoea) พร้อมกับอาการอาเจียน อาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ว่า คุณเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (gastroenteritis) ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการอาเจียนที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ใหญ่   ภาวะนี้มักเป็นผลมาจากการรับเชื้อไวรัส เช่น เชื้อโนโรไวรัส (norovirus) หรือภาวะอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่พบในอาหารปนเปื้อนต่างๆ

การดูแลตนเองที่บ้าน

  • สิ่งที่ควรทำที่สุดคือ การจิบน้ำเกลือแร่บ่อยๆ เพื่อชดเชยการเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
  • สามารถดื่มน้ำหวาน เพื่อชดเชยน้ำตาลที่สูญเสียไปได้ และอาจผสมเกลือเพื่อช่วยชดเชยเกลือแร่ที่เสียไปได้เช่นกัน
  • อาจใช้ขิงในการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนต่างๆ ซึ่งมีทั้งแบบอาหารเสริม หรือขนม  เครื่องดื่มต่างๆ  อย่างไรก็ดีหากสนใจใช้อาหารเสริมที่เป็นขิง ควรปรึกษากับเภสัชกร หรือแพทย์เสียก่อน

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป