กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะสับสน (Muddled)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

อาการสับสน คือความรู้สึกที่ทำให้มีการนึกคิดที่ไม่แน่นอน บางคนอาจรู้สึกกระสับกระส่าย จึงทำให้จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งลำบาก หรือมีการตัดสินใจทำบางสิ่งยากขึ้น อาการสับสนสามารถเรียกได้อีกอย่างว่าเลอะเลือน (Disorientation) และในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก อาจเรียกว่าอาการเพ้อ (Delirium)

สัญญาณของอาการสับสน

การสังเกตเห็นอาการสับสนเร็ว จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติได้ โดยตัวอย่างสัญญาณของอาการสับสน ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • พูดจาติดอ่าง หรือมีการหยุดชะงักระหว่างพูด
  • ใช้คำผิดหรือไม่ปะติดปะต่อ
  • ไม่รับรู้เวลาหรือสถานที่
  • หลงลืมหน้าที่ที่กำลังทำอยู่
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงกะทันหัน เช่น อยู่ดีๆ ก็รู้สึกโกรธขึ้นมา

สาเหตุของการเกิดอาการสับสน

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการสับสนมากที่สุด คือการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ส่วนปัจจัยทางการแพทย์อื่นๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการสับสน ได้แก่

  • การกระทบกระเทือน โดยเฉพาะการบาดเจ็บที่สมอง ภายหลังจากประสบเหตุรุนแรงที่ศีรษะ การกระทบกระเทือนสามารถเปลี่ยนแปลงระดับความตื่นตัว การตัดสินใจ และการพูดจาของผู้บาดเจ็บให้แย่ลง หรืออาจจะทำให้ผู้บาดเจ็บหมดสติได้ทั้งแบบที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว บางครั้งอาจพบอาการสับสนที่เกิดหลังถูกกระทบกระแทกไปแล้ว 3-5 วัน
  • ภาวะขาดน้ำ ปกติแล้วร่างกายของคนเราจะสูญเสียของเหลวตลอดวันจากเหงื่อ ปัสสาวะ และการทำงานอื่นๆ ของร่างกาย หากไม่มีการชดเชยของเหลวที่เสียไปอย่างเพียงพอ จะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งภาวะนี้จะส่งผลต่อปริมาณอีเล็กโทรไลท์ (Electrolytes) ของร่างกายอีกด้วย
  • การใช้ยา ยาบางตัวสามารถทำให้เกิดอาการสับสนขึ้นมาได้ และการไม่รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งก็สามารถทำให้เกิดอาการสับสนขึ้นได้เช่นกัน

สาเหตุอื่นๆ นอกจากนี้อาจพบอาการสับสนที่เกิดขึ้นจากปัจจัยดังต่อไปนี้

เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์?

หากพบสัญญาณสับสนเลอะเลือนจากตนเอง หรือบุคคลใกล้ชิด ให้รีบไปแพทย์เพราะอาการนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น บาดเจ็บ การติดเชื้อ การใช้สารบางอย่าง และการใช้ยา สิ่และถ้าอาการสับสนเกิดจากการถูกกระทบกระแทกที่ศีรษะ แล้วมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วยคุณควรติดต่อขอความช่วยเหลือในทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการวิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว ผิวเย็น ปวดศีรษะ หายใจลำบาก ร่วมอยู่ด้วย

การรักษาอาการสับสน

หากคนที่คุณรักมีอาการสับสน ให้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยตลอดเวลาจนกว่าแพทย์จะสามารถสรุปสาเหตุของอาการนั้นได้ เพราะข้อมูลอาการที่คุณพบเห็นจะเป็นประโยชน์สำหรับแพทย์ต่อการระบุหาสาเหตุของอาการสับสนของผู้ป่วยได้มาก

กรณีที่อาการสับสนเกิดจากภาวะขาดสมดุลของสารอาหาร ภาวะขาดน้ำ หรือการนอนหลับไม่เพียงพอ ก็สามารถบรรเทาอาการได้ง่ายๆ ที่บ้าน เช่น นอนหลับให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโฒง ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ส่วนอาการสับสนเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ การติดเชื้อ และการขาดออกซิเจน จะต้องได้รับรักษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน เพราะบางภาวะหากมีความรุนแรงมากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Delirium. Acute Confusional state and delirium information. Patient. (https://patient.info/doctor/delirium-pro)
อาการสับสนกระวนกระวายในผู้ป่วยระยะสุดท้าย. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. (https://med.mahidol.ac.th/fammed/th/palliativecare/knowledges/doctorpalliative8th)
Acute Confusional States in the Elderly—Diagnosis and Treatment. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3371633/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อายุ 51 ปี มีอาการชาริมฝีปากล่างบ่อย ๆ อาการคือชายิบ ๆ เจ็บเล็กน้อยค่ะ มีอาการเป็นบางวันค่ะ ไม่มีโรคประจำตัว แต่ค่า LDL สูง 144 ค่ะ ไม่ทราบเกิดจากอะไรคะ ต้องพบแพทย์แผนกไหนคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตอนนี้มีอาการปัสสาวะบ่อย ออกมาแบบกระปริบกระปรอย และรู้สึกเจ็บจี๊ดขึ้นท้องน้อย มีเลือดจางๆปนออกมาแค่ครั้งเดียว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คือหนูทานไข้มุขแล้วเหมือนมันจะติดคอทำยังไงถึงจะให้มันไหลลงท้องปกติค่ะกลัวเป็นอันตราย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)