ความเจ็บปวดที่ใบหน้า สามารถเกิดขึ้นกับส่วนใดของใบหน้าก็ได้ ซึ่งรวมไปถึงปากและดวงตาด้วย ปกติแล้วอาการนี้มักจะเป็นผลมาจากการบาดเจ็บหรืออาการปวดศีรษะทั่วไป แต่บางครั้งก็อาจพบจากภาวะทางการแพทย์ร้ายแรงอื่น ๆ ได้เช่นกัน
ประเภทของอาการปวดมักจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น อาการปวดทื่อๆ ปวดตุบๆ ด้านข้างใบหน้าหรือรอบปากมักเกิดจากปัญหาภายในช่องปาก เช่น ปวดฟัน แต่ถ้ารู้สึกเหมือนโดนกดหรือปวดเมื่อยลามไปทั่วกระดูกแก้มและใต้ตา อาจเกี่ยวข้องกับไซนัสอักเสบ ส่วนอาการปวดศีรษะและการบาดเจ็บก็อาจให้ความรู้สึกปวดเหมือนถูกแทง ปวดตุบ หรือเมื่อยก็ได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เพราะความเจ็บปวดที่ใบหน้าเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ในทุกกรณีจะมีสาเหตุที่แน่นอน ดังนั้น หากไม่แน่ใจว่าอาการปวดที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไร หรือปวดจนทนแทบไม่ได้ ควรรีบเข้าพบแพทย์ในทันที
สาเหตุของความเจ็บปวดที่ใบหน้า
ความเจ็บปวดที่ใบหน้าสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่การติดเชื้อไปจนถึงความเสียหายที่เส้นประสาทของใบหน้า โดยสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่
- การติดเชื้อภายในช่องปาก
- แผลเปิดหรือแผลเป็นเยื่อบุ
- หนองใต้ชั้นเนื้อเยื่อ
- หนองใต้ชั้นผิวหนัง
- อาการปวดศีรษะ
- การบาดเจ็บที่ใบหน้า
- ปวดฟัน
ส่วนภาวะทางการแพทย์ที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ใบหน้า ได้แก่
- โรคงูสวัด (Shingles หรือ Herpes Zoster)
- ปวดไมเกรน (Migraine)
- ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
- การติดเชื้อที่โพรงจมูกหรือไซนัส
- ความผิดปกติที่เส้นประสาท
เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์
โดยทั่วไปแล้ว ความเจ็บปวดที่ใบหน้าไม่นับว่าเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ แต่หากรู้สึกเจ็บปวดบนใบหน้ากะทันหัน โดยมีความเจ็บที่กระจายมาจากหน้าอกหรือแขนซ้าย ให้รีบไปโรงพยาบาล หรือโทรเรียกสายด่วน 1669 ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) ได้
การวินิจฉัยความเจ็บปวดที่ใบหน้า
แพทย์จะเริ่มต้นวินิจฉัยด้วยการซักประวัติด้วยคำถาม เช่น ตำแหน่งของใบหน้าที่เจ็บ อาการปวดที่เกิดขึ้นเป็นแบบใด ปวดบ่อยแค่ไหน มีอะไรที่บรรเทาอาการปวดได้บ้าง เป็นต้น หลังจากนั้นแพทย์อาจถ่ายภาพร่างกาย เช่น การเอกซเรย์หรือทำ MRI เพื่อประกอบการวินิจฉัย โดยภาพถ่ายที่ได้จะทำให้แพทย์สามารถมองเห็นปัญหาภายในกระดูก กล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อ หากแพทย์สงสัยว่าอาการปวดที่เกิดขึ้นจะมีสาเหตุจากการติดเชื้อ ก็อาจมีการตรวจเลือดเพิ่มเติม
ในกรณีความเจ็บปวดที่ใบหน้า มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของดวงตา ก็อาจมีการส่งตัวต่อไปยังจักษุแพทย์ เพื่อทดสอบวัดความดันภายในลูกตา (Tonometry) ซึ่งการทดสอบนี้แพทย์จะใช้ยาหยดตาที่ทำให้ลูกตาแต่ละข้างชา ก่อนจะวางเศษกระดาษที่ย้อมสีส้มติดที่ลูกตา แล้วใช้ไฟส่องลูกตาเพื่อตรวจสอบกระจกตาและส่วนอื่น ๆ ของลูกตาเพื่อมองหาความเสียหายต่างๆ
ส่วนความเจ็บปวดที่ใบหน้าที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหัวใจ แพทย์อาจจะวินิจฉัยด้วยการทดสอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram (ECG)) เพื่อดูว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวายหรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่
การรักษาอาการปวดที่ใบหน้า
อาการปวดที่ใบหน้า จะได้รับการรักษาตามสาเหตุที่เกิดขึ้น เช่น หากอาการปวดเกิดจากการติดเชื้ออย่างไซนัสอักเสบ แพทย์อาจใช้ยาปฏิชีวนะหรือปล่อยให้การติดเชื้อหายไปเอง ซึ่งจะทำให้อาการปวดใบหน้าหายไปด้วย เป็นต้น
แต่สำหรับกรณีที่เกิดจากเส้นประสาท แพทย์อาจจ่ายยา Acyclovir และ Valacyclovir เพื่อบรรเทาอาการ เนื่องจากภาวะนี้ต้องใช้เวลาหลายเดือนจึงจะรักษาให้หายเป็นปกติได้
คุณหมอคะ ทำไมถึงปวดในเส้นเดือดที่หลังมือคะ