กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

โรคงูสวัด (shingles)

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การรักษาโรคงูสวัดด้วยยามักเป็นการจ่ายยาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาลดผื่น ยาต้านไวรัส
  • ยาที่มักถูกใช้เพื่อรักษาโรคงูสวัดคือ ยาอะซัยโคลเวียร์ (Acyclovir) ซึ่งยังเป็นยาสำหรับรักษาโรคอีสุกอีใส และโรคเริมด้วย
  • ผู้ป่วยที่มีอาการโรคเริมรุนแรง แพทย์อาจให้ยาอะซัยโคลเวียร์ในรูปของยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำโดยตรง
  • การรักษาโรคงูสวัดต้องควบคู่ไปกับการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม เช่น ไม่เกาแผล แกะแผล หมั่นใช้น้ำเกลือประคบแผล ทำความสะอาดแผลให้แห้งเสมอ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนงูสวัด

โรคงูสวัด เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบประสาทจนทำให้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเปลี่ยนไป และยังสร้างอาการเจ็บแสบตามร่างกายได้หลายตำแหน่ง

การรักษาโรคงูสวัดนั้นจำเป็นต้องอาศัยวิธีการรักษาหลายอย่างร่วมกัน ทั้งการรับประทานยา การดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. การรักษาโรคงูสวัดด้วยยา

ยารักษาโรคงูสวัดจะมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย เช่น

  • ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ รวมถึงบรรเทาอาการปวดประสาทหลังเป็นโรคงูสวัด เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ไอบูโพรเฟน (Iboprofen) นาพรอกเซน (Naproxen) ยาแก้อักเสบกลุ่มไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยา NSAIDs ยากลุ่มอะมิทริปไทลีน (Tricyclic antidepressants: TCAs)
  • ยาทาลดอาการผื่นคัน การอักเสบ เช่น ครีมแคปไซซีน (Capsaicin Cream) ยาลิโดเคน (Lidocaine) ครีมไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone)
  • ยาต้านไวรัส (Antiviral Medications) เพื่อบรรเทาการกระจายของผื่นโรคงูสวัด จะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดหากคุณใช้ยาภายใน 72 ชั่วโมงตั้งแต่มีอาการ เช่น อะซัยโคลเวียร์ (Acyclovir) แฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir)

สำหรับยาที่ได้รับคำนิยมในการใช้เพื่อต้านเชื้อไวรัสโรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใสได้ดี คือ “อะซัยโคลเวียร์ (Acyclovir)”

ยา Acyclovir

โดยการออกฤทธิ์ของยานี้จะเข้าไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส อีกทั้งยังสามารถใช้รักษาโรคเริม (Herpes simplex) ได้อีกด้วย

ยาอะซัยโคลเวียร์มีจำหน่ายหลากหลายรูปแบบ ทั้งยาเม็ด ยาแคปซูล ยาทา ยาฉีด การที่ผู้ป่วยจะใช้ยาในรูปแบบไหน ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ แต่ส่วนมากยารูปแบบทาภายนอกมักไม่ค่อยใช้รักษาโรคงูสวัด และอีสุกอีใสมากนัก แต่มักใช้เพื่อรักษาโรคเริมมากกว่า

ปริมาณการใช้ยาอะซัยโคลเวียร์รูปแบบเม็ดในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคงูสวัดคือ รับประทานในขนาด 800 มิลลิกรัม วันละ 5 ครั้ง ทุก 4 ชั่วโมง ยกเว้นเวลากลางคืน ติดต่อกันเป็นเวลา 7-10 วัน

แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก แพทย์อาจให้ใช้ในรูปแบบยาฉีดเข้าสู่เส้นเลือดดำแทน โดยปริมาณการใช้ยาคือ ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ 5 ครั้ง ครั้งละ 500 มิลลิกรัม ติดต่อกันนาน 7-10 วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จุดเด่นที่ทำให้ยาอะซัยโคลเวียร์เป็นยาที่มักใช้เพื่อรักษาโรคงูสวัด เพราะส่วนมากผู้ป่วยรับประทานเพียงวันละ 1-2 วัน วันละ 5 ครั้ง ทุกๆ 4 ชั่วโมง ตุ่มใสก็มักจะหยุดลุกลามแล้ว

และเมื่อเวลาผ่านไป 4-5 ตุ่มน้ำใสก็จะตกสะเก็ด และหายเป็นปกติในที่สุด

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาอะซัยโคลเวียร์อาจส่งผลข้างเคียงหลังจากใช้ได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้ยังนับเป็นอาการข้างเคียงปกติ 

แต่หากมีอาการข้างเคียงรุนแรงต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะสีเข้ม มีเลือดปนในปัสสาวะ
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ปวดหลัง
  • ปวดสีข้าง
  • รู้สึกสับสน กระสับกระส่าย
  • ง่วงนอน อ่อนเพลียมาก
  • หัวใจเต้นแรง หรือเต้นผิดปกติ
  • การมองเห็นผิดปกติ
  • มีอาการแพ้ยา เช่น ผื่นขึ้น ตัวบวม ศีรษะบวม ลิ้นบวม คอบวม หายใจลำบาก

ยาสำหรับรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัด

ในกรณีผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ จากโรคงูสวัด แพทย์จะพิจารณาจ่ายยาไปตามอาการ เช่น

  • หากปวดแผล หรือแผลอักเสบ แพทย์อาจจ่ายยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่ให้ผื่นตุ่มน้ำติดเชื้อ หรือเป็นหนอง เช่น ไดคล็อกซาซิลลิน (Dicloxacillin) อิริโทรมัยซิน (Erythromycin)
  • หากผู้ป่วยผื่นงูสวัดขึ้นตา ทางจักษุแพทย์จะจ่ายยาเพื่อป้องกันอาการอักเสบในดวงตา และอาจลุกลามทำให้เกิดอาการร้ายแรงอื่นๆ ตามมา เช่น รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ ครั้งละ 800 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง วันละ 5 ครั้ง นาน 10 วัน ควบคู่ไปกับใช้ขี้ผึงป้ายตาอะไซโคลเวียร์ 3% ป้ายตาวันละ 5 ครั้ง สำหรับผู้ป่วยรูม่านตาอักเสบ แพทย์จะจ่ายยาหยอดสเตียรอยด์ และยาหยอกอะโทรปีน 1% ให้
  • ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซัก แพทย์จะให้รับประทานยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) เป็นยาในกลุ่มคอติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ช่วยลดการอักเสบ โดยรับประทานวันละ 45-60 มิลลิกรัม ติดต่อกันประมาณ 1-2 สัปดาห์ จนกว่าผื่นจะหายไป
  • ผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงมาก แพทย์อาจให้ยาฉีด ยาทา หรือยาพ่น หรือใช้แคปไซซิน (Capsacin) ซึ่งเป็นสารสกัดจากพริก ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดได้
    ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจจ่ายยารักษาโรคลมชัก เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดประสาทร่วมด้วย เช่น คาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) กาบาเพนติน (Gabapentin)

2. การดูแลตนเองขณะเป็นโรคงูสวัด

การดูแลแผลขณะรักษาโรคงูสวัดนั้นไม่ยาก และสามารถทำได้ด้วยตนเอง ผ่านการทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • หมั่นทำความสะอาดแผลให้แห้งอยู่เสมอด้วยสบู่อ่อนๆ หรือน้ำสะอาด 
  • อย่าปล่อยให้แผลอับชื้น เพราะจะยิ่งติดเชื้อได้ง่าย 
  • ไม่เกา หรือแกะแผลเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้รู้สึกเจ็บแผล และเสี่ยงติดเชื้อ หากรู้สึกคันแผล ให้ทาครีมยาแก้คัน หรือครีมลดผื่นแทน แต่ต้องให้แพทย์ หรือเภสัชกรเป็นคนสั่งจ่ายยาเท่านั้น
  • หมั่นใช้น้ำเกลือประคบแผลครั้งละ 10 นาที วันละ 3-4 ครั้ง จะทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาพ่น หรือสมุนไพรทาลงบนแผลโดยตรง เพราะอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนแผลหายช้า และยังทำให้เป็นแผลเป็นในภายหลังด้วย
  • หากมีอาการปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ จะช่วยให้อาการดีขึ้น
  • ทายา หยอดยา และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • ประคบเย็นที่แผลเพื่อลดอาการปวด หรืออาการอักเสบจากแผลผื่น
  • สวมใส่เสื้อผ้าสบายๆ หรือเสื้อผ้าที่ทำจากผ้าใยธรรมชาติ เพื่อลดความระคายเคืองผิวบริเวณที่มีผื่น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวผู้อื่นและปิดแผลผื่นให้มิดชิด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายอ่อนเพลีย มิฉะนั้นภูมิคุ้มกันร่างกายจะยิ่งอ่อนแอจนไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้หมด

3. การรับประทานอาหารเพื่อบรรเทาอาการโรคงูสวัด

นอกจากการดูแลแผลของโรคให้สะอาด การรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานร่างกายให้สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดียิ่งขึ้น ก็มีส่วนทำให้โรคงูสวัดหายได้เร็วเช่นกัน

อาหารที่แนะนำให้รับประทานในระหว่างรักษาโรคงูสวัดจะเป็นอาหารที่แฝงไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินอี มีสารไลซีน (Lysine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นอีกชนิด เช่น

  • ไข่
  • ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากนม
  • อาหารประเภทเนื้อแดง
  • เนื้อไก่
  • อาหารประเภทธัญพืช เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวกล้อง
  • ผลไม้สีเหลือง หรือสีส้ม เช่น กล้วย ส้ม สัปปะรด
  • ผักใบเขียว
  • ชาเขียว

ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างที่โรคงูสวัดยังไม่หายดี ได้แก่

  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
  • อาหารที่แฝงด้วยสารอาร์จินีน (Arginine) เช่น ช็อกโกแลต ถั่ว เจลาติน
  • อาหารที่แฝงไปด้วยคาร์โบไฮเดรตที่ปรุงแต่งแล้ว (Refined carbohydrates foods) เช่น ข้าวขัดสี เส้นพาสตา มักกะโรนี
  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น อาหารทอด อาหารมัน ขนมปังเนยนม ชีส

วิธีป้องกันโรคงูสวัดที่ดีที่สุดคือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี และฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนงูสวัด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, Shingles (Herpes Zoster): Symptoms, Causes, Contagiousness, Vaccine, Diagnosis, and Treatment (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/shingles/shingles-skin#1), 12 June 2020.
American Academy of Dermatology, Shingles: Diagnosis and treatment (https://www.aad.org/public/diseases/a-z/shingles-treatment), 11 June 2020.
MedicineNet, Shingles: Treatment, Symptoms, Stages, Vaccine & Medication (shttps://www.medicinenet.com/shingles_herpes_zoster/article.htm), 10 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
คุณหมอคะ ทำไมถึงปวดในเส้นเดือดที่หลังมือคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนบ่อยๆทำอย่างไรดี
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากรู้คะว่าอาการปวดเอวจะหายได้บ้างไหมคะ เพราะว่ามันจะปวดตลอดเวลาคะ หลังจากี่ผ่าตัดคลอดลูกมาแล้ว2คนคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าคนที่เรารักมากเคยเป็นมะเร็งต่อมนำ้เหลืองมาก่อนแล้วเกือบ12ปีแล้วตอนนี้มาปวดท้องบ่อยกินยาแล้วเดียวก็หาย1-2วันเดียวก็มาปวดอีกเราควรจะทำยังไงดีค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดท้องตอนมาประจำเดือนตลอด บางครั้ง3เดือนมาประจำเดือนครั้งหนึ่ง. ต้องรัษายังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหลังเป็นประจำจะเป็นโรคอะไรไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ