กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Neurontin (ตัวยา Gabapentin)

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยากาบาเพนติน (Gabapentin) เป็นยารักษาโรคลมชัก บรรเทาอาการชาจากโรคเบาหวาน อาการปวดแสบจากโรคงูสวัด รวมถึงรักษากลุ่มอาการขากระตุก
  • ยา Gabapentin มีผลข้างเคียงสามารถทำให้ผู้ใช้รู้สึกอยากฆ่าตัวตายได้ นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกซึมเศร้า ไม่มีสมาธิ กระสับกระส่าย มีอาการวิตกกังวลเกิดขึ้น
  • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยา Gabapentin มีหลายอย่าง เช่น ง่วงนอน มองเห็นภาพซ้อน อ่อนเพลียผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย และอาจรุนแรงได้ถึงขั้นมีผื่นขึ้นตามตัว หายใจลำบาก เกิดอาการชัก
  • บางครั้งยา Gabapentin ก็ถูกใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่มีอาการปวดเจ็บตามตัวร่วมด้วย แต่ยานี้ไม่สามารถใช้รักษาโรคทางจิตเวชโดยตรงอย่างโรคซึมเศร้า โรคอารมณ์ 2 ขั้ว หรือโรควิตกกังวลได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต

ยากาบาเพนติน (Gabapentin) เป็นตัวยาซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า “นิวรอนติน (Neorontin)” และ “โฮริแซนท์ (Horizant)” เป็นยาสำหรับใช้รักษาโรคลมชัก โดยสามารถรักษาทั้งในผู้ป่วยอายุมากกว่า 12 ปี และผู้ที่มีอาการชักเพียงบางส่วนของผู้ป่วยเด็กอายุประมาณ 3-12 ปี

นอกจากนี้ยา Gabepentin ยังใช้รักษากลุ่มอาการขากระตุก (Restless Legs Syndrome: RLS) รวมถึงบรรเทาอาการชา เจ็บแปลบซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ใช้ป้องกันอาการร้อนวูบวาบ อาการปวดแสบจากโรคงูสวัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทางองค์การอาหาร และยาได้อนุมัติให้แพทย์สามารถใช้ยานี้ได้ในปี 1993 ภายใต้ชื่อทางการค้าว่า “นิวรอนติน (Neorontin)” ของบริษัท Pfizer และในปี 2003 ได้อนุม้ติให้สามารถใช้ยาในชื่อสามัญว่า “กาบาเพนติน (Gabapentin)”

ข้อควรระวังในการใช้ยา Gabapentin

ยา Gabapentin สามารถเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายได้ โดยความเสี่ยงนี่สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เริ่มใช้ยา

หากผู้ใช้ยามีอาการอยากฆ่าตัวตาย รู้สึกซึมเศร้า ก้าวร้าวกว่าปกติ กระสับกระส่าย มีอาการกลัว หรือวิตกกังวลฉับพลัน อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสติ และสมาธิ ผู้ใช้ยาต้องรีบบอกคนใกล้ชิดทันที จากนั้นรีบไปพบแพทย์เพื่อแจ้งผลข้างเคียงจากการใช้ยา และขอให้แพทย์ปรับเปลี่ยนยาต่อไป

นอกจากนี้ผู้ใช้ยา Gabapentin ที่อายุมากกว่า 75 ปี หรือเป็นโรคไตยังจำเป็นต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังด้วย

ข้อควรระวังอีกอย่างในการใช้ยา Gabapentin คือ เมื่อเริ่มรับประทานยาแล้ว ไม่ควรหยุดใช้ยาทันทีเพราะอาจทำให้เกิดอาการถอนยาเกิดขึ้น เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล คลื่นไส้ ปวดตามเนื้อตัว มีเหงื่อออกมาก

ดังนั้นหากต้องการหยุดรับประทานยา ให้คุณปรึกษาแพทย์ว่า ต้องหยุดรับประทานยาอย่างไร โดยอาจต้องเริ่มจากลดปริมาณของยาที่รับประทานลงทีละน้อยๆ ใน 1 สัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

และหากมีประวัติสุขภาพที่กำลังต้องเข้ารับการรักษา เช่น โรคไต ต้องทำฟัน หรือเคยติดยาเสพติด ติดสุรามาก่อน ให้แจ้งแพทย์ให้ทราบด้วย

สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ตัวยา Gabapentin สามารถส่งผ่านจากน้ำนมแม่ไปสู่ทารกได้ แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการศึกษาออกาว่า ยาตัวนี้ส่งผลกระทบอย่างไรต่อตัวทารก

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Gabapentin

การใช้ยา Gabapentin สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ เช่น

  • ง่วงนอน
  • มึนศีรษะ
  • อ่อนเพลียผิดปกติ
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • กระสับกระส่าย
  • ความจำไม่ดี
  • เป็นไข้
  • คันตา
  • ปากแห้ง
  • เจ็บคอ
  • มือสั่น
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ท้องเสีย
  • ท้องผูก

อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการข้างเคียงรุนแรงต่อไปนี้ ให้รีบติดต่อแพทย์ทันที

  • มีความคิดอยากฆ่าตัวตายอย่างรุนแรง
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ผื่นขึ้นตามตัวอย่างรุนแรง
  • ใบหน้า ริมฝีปาก และลิ้นบวม
  • หายใจลำบาก
  • เกิดอาการชัก

ขนาดของยา Gebapentin

รูปแบบของยา Gabapentin มีทั้งรูปแบบยาเม็ด ยาแคปซูล และรูปแบบยาน้ำ การออกฤทธิ์จะมีทั้งแบบธรรมดา และแบบที่ออกฤทธิ์ได้นาน

ขนาดการใช้ยา Gabapentin ที่ใช้รักษาอาการปวดแสบจากโรคงูสวัด จะเริ่มที่ประมาณ 300 กรัม และอาจเพิ่มขนาดไปถึง 1,800 มิลลิกรัม ขึ้นอยู่กับการประเมินอาการของแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยปกติผู้ป่วยจะรับประทานยา Gabapentin วันละ 3 ครั้ง ไม่ควรเว้นระยะห่างจากมื้ออาหารนานเกิน 12 ชั่วโมง แต่สามารถรับประทานได้ทั้งพร้อม หรือไม่พร้อมกับมื้ออาหาร

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจะต้องระมัดระวังในการรับประทาน Gabapentin เกินขนาด เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เห็นภาพซ้อนกัน ง่วงนอนอย่างรุนแรง อ่อนเพลียอย่างหนัก พูดจายืดยานผิดปกติ ท้องเสีย

คำถามน่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ยา Gabapentin

1. มีอาการของโรควิตกกังวลอย่างรุนแรง และเป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้น สามารถใช้ยา Gabapentin รักษาได้หรือไม่?

คำตอบ: ยา Gabapentin ไมได้รับอนุมัติจากองค์การอาหาร และยาเพื่อรักษาโรควิตกกังวล และโรคอารมณ์ 2 ขั้น แต่ใช้สำหรับรักษาอาการชัก และอาการปวดจากหลายๆ โรค ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ว่า ควรใช้ยาตัวใดรักษา 2 โรคนี้ และควรเข้าพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาโรคทางจิตเวชต่อไป

สาเหตุที่บางครั้งยา Gabapentin ถูกสั่งร่วมกับการรักษาโรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้านั้นก็เพราะผู้ป่วยมีอาการปวดบางอย่างที่เชื่อมโยงกับโรคเหล่านี้ จึงได้รับการสั่งยา Gabapentin หากผู้ป่วยมีอาการเพียงในส่วนของโรคทางจิตเวช แต่ไม่ได้มีอาการเจ็บ หรือปวดอะไร ก็มักจะไม่ได้รับการสั่งยาตัวนี้

2. ยา Gabapentin สามารถทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด และบุคลิกภาพเปลี่ยนไปได้หรือไม่?

คำตอบ: เป็นไปได้ เพราะอาการเหล่านี้เป็นอาการข้างเคียงของยาที่พบได้ แต่ส่วนมากจะค่อยๆ หายดีขึ้นเองเมื่อใช้ยาไปได้พักหนึ่ง แต่หากอาการเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาต่อไป

3. กำลังพยายามลดน้ำหนัก แต่มีปัญหาลดไม่ลง ซึ่งโดยปกติจะออกกำลังบ่อยมาก แต่กำลังรับประทานยา Gabapentin 300 มิลลิกรัมอยู่ เพื่อป้องกันอาการปวดเรื้อรัง เลยสงสัยว่า เป็นเพราะยาตัวนี้หรือเปล่าถึงทำให้น้ำหนักตัวไม่ลด แถมยังเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย

คำตอบ: ยา Gabapentin มีส่วนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยยาอาจเข้าไปเพิ่มความรู้สึกอยากอาหาร หรืออยากรับประทานอาหารประเภทแป้ง คาร์โบไฮเดรตมากกว่าปกติ รวมถึงชะลอกระบวนการเผาผลาญของร่างกายให้ลดลง หรือทำให้เกิดอาการตัวบวมขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของยาหลายตัวทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว และเป็นเรื่องซับซ้อนที่ต้องพูดคุยกับแพทย์ว่า ควรรักษา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือเปลี่ยนยาอย่างไร

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gabapentin: medicine to treat epilepsy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/medicines/gabapentin/)
Gabapentin: Side Effects, Dosage, Uses, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/gabapentin-oral-capsule)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)