Hydrocortisone (ไฮโตรคอร์ติโซน) - ใช้ในผู้ป่วยการที่มีภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
Hydrocortisone (ไฮโตรคอร์ติโซน) - ใช้ในผู้ป่วยการที่มีภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง

เป็นชื่อของฮอร์โมนคอร์ติซอล เมื่อใช้ในรูปแบบยา ไฮโตรคอร์ติโซนมีการใช้ในผู้ป่วยการที่มีภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง กลุ่มอาการต่อมหมวกไตแต่กำเนิด ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ไทรอยด์อักเสบ ปวดข้อรูมาตอยด์ ผิวหนังอักเสบ โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีการใช้เป็นยารักษาหลักในภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง สามารถบริหารยาโดยการรับประทาน ทาลงบนผิวหนัง หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ การหยุดยาหลังจากใช้มาเป็นระยะเวลานาน ควรค่อยๆลดขนาดการใช้ยาลงช้าๆ ไฮโดรคอร์ติโซนถูกค้นพบในปี ค.ศ.1955 และอยู่ในบัญชียาหลักขององค์การอนามัยโลก

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Hydrocortisone ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Hytisone

- ยาครีม ความเข้มข้น 1%

Atlantic Lab

Efficort

- ยาครีม ความเข้มข้น 0.127%

Galderma

Cortef

- ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 10 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 20 มิลลิกรัม

Pfizer

H cort

- ยาครีม ความเข้มข้น 1%

- ยาครีม ความเข้มข้น 2%

HOE Pharmaceutical

Solu cortef

- ยาฉีด ขนาด 100 มิลลิกรัม

Pfizer

 

โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาเนื้อเยื่ออ่อนอักเสบ
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาข้ออักเสบ
  • ข้อบ่งใช้สำหรับเสริมระดับฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตในระหว่างการผ่าตัดเล็กและมีการใช้ยาดมสลบ
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตไม่เพียงพอ
  • ข้อบ่งใช้สำหรับทดแทนฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตบกพร่อง
  • ข้อบ่งใช้สำหรับโรคผิวหนังที่ตอบสนองต่อการใช้ยาสเตียรอยด์

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Hydrocortisone

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ไฮโดรคอร์ติโซน เป็นยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ใช้สำหรับยับยั้งการอักเสบ (anti-inflammatory) และผลในด้านการกดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive) ฤทธิ์ในการยับยั้งการอักเสบ เนื่องมาจากการกดการคืบผ่านของเม็ดเลือดขาวในกลุ่มที่มีนิวเคลียสหลายรูปร่าง (polymorphonuclear leukocyte) และกลับคืนสภาพคุณสมบัติการเลือกผ่านของเส้นเลือดฝอยที่เพิ่มขึ้นหลังเกิดการอักเสบ นอกจากนี้คอร์ติโคสเตียรอยด์ยังสามารถใช้ในการบำบัดแบบทดแทนในผู้ป่วยฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตไม่เพียงพอ

ข้อบ่งใช้ของยา Hydrocortisone

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาเนื้อเยื่ออ่อนอักเสบ ยารูปแบบยาฉีด ในรูปของโซเดียมฟอสเฟตหรือโซเดียมซัคซิเนต เอสเทอร์ ขนาดการใช้ยาผู้ใหญ่ 100 ถึง 200 มิลลิกรัมฉีดบริเวณที่มีอาการ ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาข้ออักเสบ ยาในรูปแบบยาฉีดในรูปของอะซิเตตขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 5 ถึง 50 มิลลิกรัมขึ้นอยู่กับขนาดของบริเวณที่ปวด ข้อบ่งใช้สำหรับเสริมระดับฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตในระหว่างการผ่าตัดเล็กและมีการใช้ยาดมสลบ ยาในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ สำหรับผู้ที่ใช้เพรดนิโซโลนรูปแบบรับประทาน เทียบเท่ากับยารับประทานมากกว่า 10 มิลลิกรัม ใช้ไฮโดรคอร์ติโซนขนาด 25 ถึง 50 มิลลิกรัม หลังจากนั้นให้ใช้ยาในรูปแบบยารับประทานหลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น ในกรณีเป็นผ่าตัดใหญ่ สำหรับผู้ที่ใช้เพรดนิโซโลนรูปแบบรับประทาน เทียบเท่ากับยารับประทานมากกว่า 10 มิลลิกรัม ใช้ไฮโดรคอร์ติโซนขนาด 25 ถึง 50 มิลลิกรัม จากนั้นใช้ไฮโดรคอร์ติโซนขนาดเดิมอีกวันละสามครั้งใน 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดปานกลาง หรือ 48-72 ชั่วโมงหลังจากการผ่าตัดใหญ่ หลังจากนั้นให้ใช้ยาในรูปแบบยารับประทานหลังจากเลิกให้ยาในรูปแบบฉีด ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตไม่เพียงพอ ยาในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 100 ถึง 500 มิลลิกรัม สามถึงสี่ครั้งต่อวันขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคและการตอบสนองของผู้ป่วย ให้สารน้ำและอิเล็กโทรไลต์เพื่อปรับระดับสมดุลย์อิเล็กโทรไลต์ของร่างกายให้เหมาะสมหลังจากได้รับยา อาจให้ยานี้ในรูปแบบยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อแต่การตอบสนองต่อยาอาจช้าลง ข้อบ่งใช้สำหรับทดแทนฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตบกพร่อง ยาในรูปแบบยารับประทานขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 20 ถึง 30 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งให้ยาสองครั้ง ขนาดการใช้ยาในเด็ก 400 ถึง 800 ไมโครกรัม ต่อกิโลกรัม ต่อวัน แบ่งให้ยาสองถึงสามครั้ง ข้อบ่งใช้สำหรับโรคผิวหนังที่ตอบสนองต่อการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาในรูปแบบยาทาผิวหนัง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ใช้ความเข้มข้น 0.1 ถึง 2.5% ในรูปแบบยาครีม ยาหม่อง โลชั่น ทาบริเวณที่มีอาการ

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Hydrocortisone

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Hydrocortisone

  • ไม่ใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา
  • ไม่ใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรคปอด
  • ไม่ใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีแผลจากการติดเชื้อซิฟิลิส 
  • ไม่ใช้ยานี้ในผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรีย เว้นแต่ใช้เป็นยาเสริมฤทธิ์ร่วมกับยาเคมีบำบัด 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยลมชัก
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ 
  • ระวังการใช้ยานี้ในการใช้เป็นระยะเวลานาน 
  • ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Hydrocortisone

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ เกิดการคั่งของน้ำและโซเดียม ภาวะขาดโพแทสเซียมและแคลเซียม กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กระดูกพรุน รบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร แผลหายช้าลง ฟกช้ำ เกิดผื่นแดง เพิ่มความดันในกระโหลก ปวดศีรษะ อาการทางจิต ประจำเดือนมาไม่ปกติ น้ำตาลในเลือดสูง พบน้ำตาลในปัสสาวะ เบาหวาน กลุ่มอาการคุชชิง กดการทำงานของต่อมพิทูอิทารี ต่อมหมวกไต การเจริญเติบโตผิดปกติในเด็กเมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อง่ายขึ้น การใช้ยาในรูปแบบทาผิวหนัง อาจก่อให้เกิดผื่นแดง ผื่นคัน เมื่อใช้กับดวงตา อาจก่อให้เกิดแผลที่กระจกตา เพิ่มความดันในลูกตา ส่งผลต่อการมองเห็น

ข้อมูลการใช้ยา Hydrocortisone ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา และอยู่ใน category D ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Hydrocortisone

เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hydrocortisone cream: a steroid medicine - NHS (https://beta.nhs.uk/medicines/hydrocortisone-skin-cream/)
Hydrocortisone (Hydrocortisone Cream and Ointment 2.5%) Patient Information: Side Effects and Drug Images at RxList (https://www.rxlist.com/hydrocortisone-drug/patient-images-side-effects.htm)
Hydrocortisone Topical : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing - WebMD (https://www.webmd.com/drugs/2/drug-10402-859/hydrocortisone-topical/hydrocortisone-topical/details)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป