กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อะดรีนาลีนคืออะไร?

รู้จักอะดรีนาลีน ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด และความโกรธ
เผยแพร่ครั้งแรก 10 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 6 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อะดรีนาลีนคืออะไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อะดรีนาลีน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตซึ่งจะหลั่งออกมาเมื่อเกิดความเครียด ความกลัว หรือรู้สึกโกรธ
  • อะดรีนาลีนมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ระดับความดันโลหิต รวมถึงกระบวนการสลายน้ำตาลของร่างกาย
  • โรคที่ส่งผลกระทบต่อระดับอะดรีนาลีน ได้แก่ โรคแอดดิสัน เป็นเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต โรคภูมิแพ้
  • อะดรีนาลีนสามารถใช้เป็นสารยารักษาอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงได้ ผ่านวิธีการฉีดเมื่อเกิดอาการแพ้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และอาการแพ้

เมื่อถึงคำว่าอะดรีนาลีน หลายคนคงจะนึกถึงความรู้สึกตื่นตัว กระตือรือร้น รวมถึงความเคร่งเครียดจริงจัง ซึ่งก็เป็นความเข้าใจที่ไม่ผิดนัก เพราะอะดรีนาลีนเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเหล่านี้โดยตรง

ความหมายของอะดรีนาลีน

อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรืออีกชื่อคือ "อิพิเนฟริน" (Epinephrine) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไต ซึ่งอยู่เหนือไตทั้ง 2 ข้าง และเป็นฮอร์โมนที่ทำให้หัวใจเต้นอย่างแข็งแรง และทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อมากขึ้นในช่วงที่ร่างกายเกิดความเครียด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อะดรีนาลีนจัดอยู่ในกลุ่มฮอร์โมนประเภทแคททีโคลามีน (Catecholamine) เช่นเดียวกับสารโดพามีน (Dopamine) และสารนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ซึ่งฮอร์โมนกลุ่มนี้ถูกผลิตจากต่อมหมวกไตชั้นในที่เรียกว่า "เมดัลลา" (Medulla) 

อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา เช่น ความกลัว ความเครียด หรือความโกรธ สามารถทำให้เกิดการหลั่งของอะดรีนาลีนเพิ่มขึ้นได้ และเมื่อมีการหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้เกิดการเพิ่มของ

ซึ่งการเพิ่มขึ้นเหล่านี้จะทำให้ร่างกายพร้อมต่อการ “ต่อสู้ หรือหลบหนี” หรือการเตรียมพร้อมสำหรับกิจกรรมที่รวดเร็ว และใช้กำลังมาก

สภาวะที่ส่งผลกระทบต่ออะดรีนาลีน

สภาวะร่างกายต่อไปนี้มีผลเกี่ยวข้องกับระดับของอะดรีนาลีน ได้แก่

  • โรคแอดดิสัน (Addison’s Disease) เป็นโรคที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไตอย่างรุนแรง ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวประกอบด้วย
    • อะดรีนาลีน 
    • คอร์ติซอล (Cortisol) 
    • อัลโดสเตอโรน (Aldosterone)
  • เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หรือที่ในบางครั้งเรียกว่า "ฟีโอโครโมไซโทมา" (Pheochromocytoma) จะทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตที่มากเกินไป โดยฮอร์โมนที่สร้างขึ้นนี้จะประกอบไปด้วย 
    • อะดรีนาลีน ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไป ก็สามารถทำให้เกิดความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรงและเป็นอันตรายได้
    • นอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) 
  • เนื้องอกบางชนิด อาจทำให้เกิดการผลิตฮอร์โมนชนิดอื่นมากขึ้น เช่น 
    • คอร์ติซอล 
    • อัลโดสเตอโรน 
    • แอนโดรเจน (Androgens)

การใช้อะดรีนาลีนในการรักษา

อะดรีนาลีนแบบสังเคราะห์สามารถนำมาใช้ในการรักษาภาวะต่อไปนี้ได้

  • เพื่อกระตุ้นหัวใจระหว่างที่หัวใจหยุดเต้น
  • เพื่อให้หลอดเลือดบีบตัว (ใช้เพื่อเพิ่มความดันโลหิตเมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะช็อก)
  • เพื่อขยายหลอดลม และยับยั้งการหดตัวของหลอดลมในโรคหอบหืด
  • เพื่อรักษาปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยผู้ป่วยจะความดันโลหิต หลอดลมบวมจนหายใจไม่ออก มีผื่นแดงขึ้นตามตัว สามารถเกิดขึ้นได้อาการแพ้อาหาร ยา หรือถูกแมลงกัดต่อย 

    โดยอะดรีนาลีนที่ใช้รักษาอนาฟิแล็กซิส จะเป็นรูปแบบเครื่องฉีดยาอัตโนมัติ เช่น กระบอกยาฉีดอีพิเพน (Epipen)

นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ยังแนะนำให้มีการพกเครื่องฉีดยาอะดรีนาลีนอัตโนมัตินี้ติดตัวไว้ ในคนที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงทุกประเภท โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีประวัติดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ และมีอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงมาก่อน
  • มีประวัติแพ้อาหาร และเป็นโรคหอบหืด
  • แพ้ถั่ว ปลา หรือหอย

การทำงานของอะดรีนาลีน

อะดรีนาลีนจะช่วยแก้ภาวะที่อันตรายต่อชีวิต ด้วยการคลายกล้ามเนื้อในทางเดินหายใจ และการตีบของหลอดเลือด โดยยานี้จะถูกฉีดเข้าที่บริเวณกล้ามเนื้อต้นขาในระหว่างที่ผู้ป่วยมีอาการภูมิแพ้อนาฟิแล็กซิส 

แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ระดับรุนแรง ครอบครัวหรือคนใกล้ชิดก็ควรรู้วิธีการฉีดยาอะดรีนาลีนไว้ โดยสามารถสอบถามแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเรื่องภูมิแพ้ หรือภูมิคุ้มกันเพื่อสอนวิธีการฉีดยาดังกล่าวได้

ส่วนยาประเภทอื่น เช่น ยาต้านฮิสทามีน (Antihistamine) จะไม่สามารถลดอาการบวมของทางเดินหายใจหรือเพิ่มระดับความดันได้ ดังนั้น ยาเหล่านี้จึงไม่ช่วยแก้ไขอาการหากผู้ป่วยเกิดอาการภูมิแพ้อนาฟิแล็กซิส

ผลข้างเคียงจากการใช้อะดรีนาลีน

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการใช้อะดรีนาลีนในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ประกอบด้วย

  • วิตกกังวล
  • กระวนกระวาย
  • มึนศีรษะ
  • มีอาการสั่นตามร่างกาย

ส่วนผลข้างเคียงรุนแรง แต่พบได้ไม่บ่อยของการใช้อะดรีนาลีน เช่น

ดังนั้นคุณควรแจ้งประวัติสุขภาพทางกายทั้งหมดแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงชนิดที่รุนแรงเหล่านี้ หรือหากต้องใช้อะดรีนาลีนในการรักษาอาการต่างๆ ก็ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และอาการแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The physiology and pharmacology of adrenaline. DermNet NZ. (https://dermnetnz.org/topics/the-physiology-and-pharmacology-of-adrenaline/)
Definition of Adrenaline. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=2155)
Adrenaline rush: Symptoms, causes, and meaning. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322490)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)