ความหมายของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome) จะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดการอุดตัน ซึ่งชื่อของหลอดเลือดดังกล่าวจะเรียกว่า "โคโรนารี" (Coronary) มีหน้าที่นำเลือดที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ภาวะนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือด หรือการมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจน้อยจะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย จนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
โรคหัวใจขาดเลือดไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม ส่วนมากมักเกิดขึ้นในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD) เพราะผู้ป่วยโรคนี้จะมีการสะสมของไขมันคอเลสเตอรอล และสารอื่นๆ ภายในหลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจ
เมื่อเวลาผ่านไปไขมันเหล่านี้ก็จะมีความหนาตัวขึ้นจนหลอดเลือดแดงตีบ เกิดเป็น "ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง" (Atherosclerosis)
เมื่อเกิดภาวะดังกล่าว ขึ้น ภายในหลอดเลือดที่ตีบแคบก็จะเกิดลิ่มเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดที่ไหลไปเลี้ยงหัวใจไหลผ่านไปไม่ได้ จนทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด และส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนตายไปอย่างถาวร
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอาจเกิดได้จากการบีบตัวอย่างรุนแรงของหลอดเลือดหัวใจ แต่เป็นกรณีที่พบได้น้อย
หรือหากหลอดเลือดหัวใจมีการบีบตัวอย่างรุนแรง ก็อาจทำให้เกิดการตัดไม่ให้มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ ซึ่งอาจเกิดในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือไม่ได้มีหลอดเลือดแดงแข็งอยู่แต่เดิมก็ได้
และถึงแม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า อะไรทำให้หลอดเลือดหัวใจเกิดการบีบตัวขึ้น แต่พบว่า การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตที่สูง และการมีระดับไขมันคอเลสเตอรอลสูง จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ส่วนตัวกระตุ้นอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดหัวใจได้ จะได้แก่
- ยาบางชนิดเช่นกลุ่มยากระตุ้นประสาท หรือยาเสพติด เช่น โคเคน
- ภาวะถอนแอลกอฮอล์
- ความเครียดทางอารมณ์อย่างรุนแรง และเฉียบพลัน
- การได้รับอากาศเย็นจัด
ประเภทของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันสามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มต่างๆ ตามความรุนแรง
- กลุ่มเอสทีอีเอ็มไอ (ST-Segment Elevation Myocardial Infarction: STEMI) เป็นกลุ่มอาการประเภทที่รุนแรงที่สุด
ภาวะนี้เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดการอุดตันทั้งหมด จนทำให้มีกล้ามเนื้อหัวใจไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง และตายอย่างรวดเร็วหากรักษาไม่ทันเวลา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ - กลุ่มเอ็นเอสทีอีเอ็มไอ (non-ST Segment Elevation Myocardial Infarction: NSTEMI) เกิดเมื่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดการตีบอย่างมาก แต่ไม่ได้ถูกอุดตันทั้งหมด ภาวะมักทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจน้อยกว่าแบบแรก
- ภาวะหัวใจวายแบบไม่มีอาการ (Silent heart attack) ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโดยที่มีอาการแสดงน้อย หรืออาจไม่มีเลยก็ได้ แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการ โรคนี้ก็ยังสามารถทำให้เกิดการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างถาวรได้เช่นกัน
ความใกล้เคียงระหว่างโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และภาวะหัวใจหยุดเต้น
โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมักถูกสับสน กับ ภาวะหัวใจหยุดเต้น ซึ่งจะมีความแตกต่างกันอยู่
เพราะถึงแม้ว่า ภาวะหัวใจเกิดการขาดเลือดเฉียบพลันจะสามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ แต่ก็ไม่ได้จำเป็นว่า ผู้ป่วยทุกรายจะต้องเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นทุกครั้งในขณะที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ
1. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ผู้ป่วยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ประกอบด้วย
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- อายุ: ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีสุขภาพแข็งแรงขนาดไหนก็ตาม
- เพศ: ผู้หญิงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันได้มากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในช่วงหมดประจำเดือนไปแล้ว
- ประวัติครอบครัว: หากใครมีผู้ที่ใกล้ชิดทางสายเลือดเป็นโรคหัวใจมาก่อน เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง หรือฝาแฝด โอกาสที่คนคนนั้นจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันก็มีได้มากขึ้นเช่นกัน
- เชื้อชาติ: ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจะสูงในกลุ่มผู้ที่มีเชื้อสายแอฟริกัน อีกทั้งในกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองของฮาวายด้วย และกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียบางส่วนก็เริ่มมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
2. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ประกอบด้วย
- การสูบบุหรี่: ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีแนวโน้มที่เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้มากขึ้นถึง 2-4 เท่า อีกทั้งยังมีโอกาสในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 2 เท่าด้วย
- ระดับคอเลสเตอรอลสูง: เมื่อมีระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมากขึ้น จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากขึ้นเช่นกัน
- ความดันโลหิตสูง: ความดันโลหิตสูงสามารถทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจทำงานได้ไม่ปกติ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้
- ไม่ออกกำลังกาย: ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกายจะมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้มากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายเกือบ 2 เท่า
- น้ำหนักมากหรืออ้วน: ผู้ที่มีไขมันส่วนเกินในร่างกายจะมีแนวโน้มที่เกิดโรคหัวใจได้มากกว่า ซึ่งวิธีป้องกันก็คือ ให้ลดน้ำหนักลงประมาณ 5-10% ของน้ำหนักตัวเดิม เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้อย่างมากแล้ว
- โรคเบาหวาน: 65% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานเสียชีวิตจากการเกิดโรคหัวใจ ดังนั้นหากใครที่กำลังเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 อยู่ จะต้องควบคุมอาการของโรคเบาหวานให้ดี เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอื่นๆ
- ประวัติทางการแพทย์อื่นๆ: เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือเป็นโรคเกี่ยวความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคลูปัส (Lupus)
อาการที่พบบ่อย
อาการที่พบได้บ่อยและจัดเป็นสัญญาณเตือนของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันประกอบด้วย
- เจ็บหน้าอก: ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันส่วนมากจะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือไม่สบายตัวบริเวณหน้าอก หรือหน้าอกด้านซ้าย อาการปวดดังกล่าวอาจไม่รุนแรงหรือรุนแรงมากก็ได้ ส่วนลักษณะอาการปวดมักจะมีลักษณะแน่นๆ ตื้อๆ เหมือนมีอะไรมาทับบริเวณหน้าอกอยู่ หรือรู้สึกเหมือนถูกบีบ หรืออาจจะรู้สึกแสบร้อนกลางหน้าอก หรืออาหารไม่ย่อยก็ได้ โดยอาการเจ็บหน้าอกนี้มักจะอยู่นานไม่กี่นาที บางครั้งอาจหายไปแล้วกลับเป็นใหม่
- รู้สึกไม่สบายตัวตามร่างกายส่วนบน: ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวด หรือไม่สบายร่างกายบริเวณแขน ขากรรไกร คอ หลัง (โดยเฉพาะระหว่างไหล่) หรือกระเพาะอาหารส่วนบนได้ (เหนือสะดือ)
- หายใจลำบาก: ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจลำบาก หรือรู้สึกหายใจไม่ออกแม้จะนั่งที่อยู่เฉยๆ หรือไม่ได้ทำกิจกรรมที่รุนแรงจนต้องหายใจติดขัด
อาการอื่นๆ ที่พบได้บ่อย
สัญญาณเตือนอื่นๆ ที่แสดงว่าคุณอาจจะมีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันประกอบด้วย
- มึนหัว หรือเวียนหัวอย่างกะทันหัน
- เหงื่อออกเย็น หรือผิวหนังเย็น
- คลื่นไส้และอาเจียน
- ใจสั่น
- ไอ
- แสบร้อนกลางหน้าอก
- อ่อนเพลียหรือเหนื่อยมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการอยู่นานได้หลายวัน หรือหลายสัปดาห์ก่อนที่จะเกิดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
สิ่งที่ต้องทำเมื่อเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจัดเป็นภาวะเร่งด่วนทางการแพทย์ ยิ่งผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาลได้เร็วเท่าไร ก็จะมีโอกาสในการรอดชีวิต และเกิดการทำลายต่อกล้ามเนื้อหัวใจน้อยลงเท่านั้น
หากคุณ หรือคนรอบข้างมีอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คุณควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ไปโรงพยาบาลทันที: หากผู้ป่วยเกิดอาการ คนใกล้ชิดควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนหรือเรียกรถพยาบาลทันที และหากผู้ป่วยมียาอมใต้ลิ้นที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกหลังออกกำลังกาย และสามารถทำให้อาการหายไปได้หลังหยุดพัก ให้รีบอมยานั้นทันทีระหว่างที่ไปโรงพยาบาล
- เคี้ยวยาแอสไพริน: ยาแอสไพริน (Aspirin) อาจช่วยชะลอ หรือลดการอุดตันของลิ่มเลือด และบริเวณที่มีการแตกตัวของไขมันที่พอกหลอดเลือดได้ แต่ยาแอสไพรินจะไม่ได้รักษาอาการหัวใจขาดเลือด หรือทำให้อาการของโรคหายไป
- นั่งลงและทำใจให้สงบ : พยายามทำร่างกายให้สงบระหว่างที่รอความช่วยเหลือ หากคุณเป็นผู้ป่วยและอยู่บ้านคนเดียว ควรเปิดประตูหน้าบ้าน และนั่งรอที่พื้นใกล้กับทางออก เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือสามารถมองหาคุณได้อย่างรวดเร็วหากคุณหมดสติไปก่อน
- จำเวลาที่เกิดเหตุ: ผู้ป่วยควรจดเวลาที่เริ่มมีอาการ และเหตุการณ์ที่กำลังทำอยู่หากสามารถทำได้ ข้อมูลนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถรักษาอาการได้ง่ายขึ้นเมื่อถึงโรงพยาบาล
แต่หากผู้ป่วยกำลังมีอาการของภาวะหัวใจขาดเลือด และไม่สามารถโทรขอความช่วยเหลือได้ ก็ควรให้ใครสักคนขับรถพาไปโรงพยาบาล และอย่าขับรถไปด้วยตนเองเด็ดขาด ยกเว้นแต่ไม่มีทางเลือกจริงๆ
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดได้ตามหลังจากการเกิดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และปริมาณของกล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำลาย ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย จะมีดังนี้
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากการที่คลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ ไม่สามารถเดินทางไปทั่วหัวใจได้ตามปกติ ภาวะนี้อาจทำให้เกิดอาการใจสั่น หรือหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอได้
- หัวใจวาย การทำลายหัวใจจากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อาจทำให้เกิดปัญหาในการสูบฉีดเลือดของหัวใจ โดยหัวใจจะสูบฉีดเลือดออกไปได้น้อยลง และไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจนทำให้เกิดภาวะหัวใจวายนั่นเอง
- ปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอาจทำให้เกิดการทำลายลิ้นหัวใจ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปอยู่ในทิศทางที่เหมาะสม การเกิดปัญหากับลิ้นหัวใจจะทำให้ได้ยินเสียงของหัวใจที่เต้นผิดปกติไป
- โรคซึมเศร้า หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นภาวะที่น่ากลัว จนทำให้ผู้ป่วยเครียด วิตกกังวล และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในชีวิต จนส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในภายหลังได้
โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันสามารถเป็นอันตรายได้ถึงชีวิตภายในเวลาอันสั้น ผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้อยู่ใกล้ชิดต้องคอยสังเกตอาการ และดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอย่างระมัดระวังอยู่เสมอ รวมถึงศึกษาวิธีรับมือเมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด เพื่อจะได้ปฐมพยาบาลได้อย่างถูกวิธี
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหัวใจ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
สวัสดีค่ะ รบกวนขอคำแนะนำค่ะ อายุ47ปีประมาณ 3 เดือนที่แล้วมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ และวูบเหมือนจะหน้ามืด พอพักซักครู่อาการจะดีขึ้น ไม่ได้มีอาการแบบนี้ทุกวัน 2-3วันจะเป็นครั้งค่ะ ต่อมามีอาการเจ็บ แน่นที่หน้าอกด้านซ้าย ถ้าเรอจะคลายอาการลงบ้าง แต่ยังเจ็บ แน่นอยู่ เวลานอนจะนอนราบไม่ได้แน่นอกเหมือนจะหาย...