กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการเวียนหัว กับ 17 วิธีบรรเทาอาการ

เวียนหัว อาการป่วยใกล้ตัวที่แก้ไขได้หลายวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการเวียนหัว กับ 17 วิธีบรรเทาอาการ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เวียนหัว เป็นอาการที่เกิดได้กับทุกคน มีปัจจัยที่ทำให้เกิดซึ่งแบ่งได้ 2 ปัจจัยใหญ่ๆ ปัจจัยแรก คือ ปัจจัยชั่วคราว ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะเกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น และไม่เกิดขึ้นตลอดไป เช่น เมารถ เมาเรือ การลุก หรือเคลื่อนไหวเร็วเกินไป
  • ปัจจัยที่ 2 เกิดจากการเจ็บป่วย ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนหัวอยู่เรื่อยๆ จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหายดี เช่น โรคทางสมอง และระบบประสาท ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากโรคเบาหวาน
  • คุณสามารถแก้อาการเวียนหัวได้หลายวิธี เช่น ดื่มน้ำมากๆ รับประทานของหวาน หยุดเพ่งหน้าจอซักพัก นอนราบลง นั่งพักในที่ที่มีอากาศปลอดโปร่ง นวดขมับ
  • หากอาการเวียนหัวยังคงมีอยู่ คุณอาจเปลี่ยนเป็นรับประทานแก้อาการเวียนหัวซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไป หรือเข้ารับการทำกายภาพบำบัดกับนักกายภาพบำบัดโดยตรง หรือรักษากับแพทย์ทางเลือก
  • อาการเวียนหัวอาจเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของสมอง หรือหูชั้นใน ซึ่งจะต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจวินิจฉัย คุณจึงไม่ควรมองข้ามอาการเจ็บปวดเล็กๆ น้อยๆ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอยู่เสมอ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

อาการเวียนหัวเป็นอาการป่วยใกล้ตัวที่ทุกคนต้องเคยประสบพบเจอ อาจเกิดในระหว่างที่ทำงาน ที่บ้าน หรือระหว่างไปเที่ยว คุณอาจไม่รู้ตัวว่าอาการเวียนหัวที่เกิดขึ้นกับตนเอง อาจมาจากโรคภัยบางอย่างที่ร้ายแรงก็ได้ และอาการเวียนหัวมักเป็นอาการที่รบกวนชีวิตประจำวันของใครหลายคน โดยอาการเวียนหัวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ 

  • ปัจจัยชั่วคราว เช่น 
    • การเมารถ เมาเรือ 
    • การลุกหรือเคลื่อนไหวเร็วเกินไป 
  • ปัจจัยที่เกิดจากการเจ็บป่วย เช่น 

วิธีแก้อาการเวียนหัว

แต่เมื่อเกิดอาการขึ้นแล้วเราจะมีวิธีบรรเทาอย่างไร เพื่อให้รู้สึกดีขึ้นและไม่รบกวนชีวิตประจำวัน ลองมาดูสารพัดวิธีแก้อาการเวียนหัวต่อไปนี้กัน 

  1. นั่งพักในที่ที่มีอากาศปลอดโปร่ง การได้ผ่อนคลายและสูดอากาศสดชื่นให้เต็มปอด จะช่วยให้อาการวิงเวียนทุเลาลงได้
  2. สูดดมยาดม ยาหอม หรือแอมโมเนี เพื่อให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
  3. ให้นอนราบลง เพราะบางครั้งการลุกนั่ง เดินเหิน หรือขยับตัวเร็วๆ ก็ทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้ ดังนั้น การนอนราบจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ป้องกันอุบัติเหตุจากการเคลื่อนไหวร่างกาย และยังช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้นด้วย
  4. ดื่มน้ำมากๆ เพราะอาการวิงเวียนหน้ามืดอาจมีสาเหตุมาจากร่างกายขาดน้ำ เช่น เสียเหงื่อมาก อาเจียนอย่างหนัก หรือท้องเสีย การดื่มน้ำทดแทนจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ แต่หากมีอาการอ่อนเพลียหมดเรี่ยวแรงด้วย ให้ลองดื่มน้ำเกลือ หรือเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อชดเชยแร่ธาตุที่สูญเสียไปด้วย
  5. ดื่มเครื่องดื่มที่ทำให้สดชื่น เช่น น้ำขิง ชาร้อน น้ำมะนาว ซึ่งเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และแก้อาการหน้ามืดวิงเวียนได้
  6. รับประทานหรือดื่มอะไรหวานๆ บางครั้งอาการเวียนหัวก็เกิดจากร่างกายขาดน้ำตาลได้เช่นกัน ดังนั้น การรับประทานของหวานๆ เช่น ลูกอม ขนม ผลไม้ หรือดื่มน้ำหวาน จะช่วยให้ร่างกายกลับมาสดชื่นและหายวิงเวียนได้
  7. หลีกเลี่ยงการก้มๆ เงยๆ เพราะการขยับศีรษะไปมาบ่อยๆ ทำให้มีอาการมึนหัว หน้ามืด เสียการทรงตัวได้ รวมถึงการลุกนั่งเร็วๆ ก็เช่นกัน
  8. หยุดจ้องหน้าจอที่มีแสงจ้า หากรู้สึกว่าเริ่มเวียนหัว สิ่งที่ควรทำคือเก็บโทรศัพท์ หรือพักการจ้องคอมพิวเตอร์สักพัก แล้วเปลี่ยนไปมองจุดที่สบายตาหรือหลับตาลง 1-2 นาที จะช่วยให้อาการดีขึ้น
  9. งดรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะจะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียน และวิงเวียนยิ่งกว่าเดิม
  10. นวดกดจุดบริเวณง่ามมือ ตรงระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ สลับกันข้างละ 3-5 นาที
  11. รับประทานยาแก้เมา หรือกลุ่มยาต้านยาต้านฮิสทามีน (Antihistamine) หากมีอาการเวียนหัวจากการเมารถเมาเรือ จะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงอาการเมาได้
  12. รับประทานยาแก้อาการเวียนหัว เช่น ยาไดเมนไฮดริเนท (Dimenhydrinate) ยาเมคลีซีน (Meclizine) และ ยาเบนาดริล (Benadryl) รวมถึงยากลุ่มแก้อาการอาเจียน ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนซื้อยามารับประทาน
  13. รับประทานยาแก้ปวด หากมีอาการปวดศีรษะด้วย เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยาแก้ไมเกรนตามคำแนะนำของแพทย์
  14. ทำกายภาพบำบัด โดยฝึกการบริหารศีรษะและคอ รวมถึงฝึกควบคุมการเคลื่อนไหวและการทรงตัว ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยแก้อาการเวียนหัวในระยะยาวได้ โดยขั้นตอนการทำกายภาพบำบัดควรได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพโดยตรง
  15. ต้องใช้วิธีผ่าตัด หากอาการวิงเวียนมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมอง และหูชั้นใน  เช่น ผ่าตัดเนื้องอกในสมองออก หรือผ่าตัดเส้นประสาทในหูชั้นใน
  16. ใช้วิธีรักษาโดยการแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม นวดกดจุด หรือใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้าน แต่ทั้งนี้ควรหาข้อมูลให้ดีและเลือกวิธีที่ปลอดภัยที่สุด
  17. รับประทานธาตุเหล็กเสริม หรือให้ยารักษาอื่นๆ ที่เหมาะสมกับโรคตามคำสั่งของแพทย์ หรือหากสาเหตุของอาการเกิดจากภาวะโลหิตจาง

อย่างไรก็ตามหากมีอาการเวียนหัวบ่อยๆ หรือเกิดติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่สามารถหายเองได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ จะได้รักษาที่ต้นตอของโรคได้อย่างถูกต้อง

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

อ่านเพิ่ม
เวียนศีรษะบ่อย เป็นสัญญาณของโรคอะไรบ้าง?
เวียนศีรษะบ่อย เป็นสัญญาณของโรคอะไรบ้าง?

เวียนศีรษะมีหลายแบบและเกิดได้จากหลายสาเหตุ ควรสังเกตตนเอง หากมีอาการบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

อ่านเพิ่ม