กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) มีสาเหตุสำคัญจากการไหลย้อนกลับของกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะ ทำให้อาหารย้อนกลับขึ้นไปอยู่ในหลอดอาหารส่วนบน
  • อาการกรดไหลย้อนที่พบบ่อย เช่น จุกแน่นหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย แสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ เจ็บคอ แสบคอ ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ 
  • อาหารและเครื่องดื่มบางชนิดสามารถกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารได้ซึ่งจะทำให้ภาวะกรดไหลย้อนแย่ลง เช่น ชา กาแฟ เหล้า ผลไม้รสเปรี้ยว 
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่รับประทาน สามารถบรรเทา รักษา และป้องกันอาการกรดไหลย้อนได้
  • ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่รับประทานจุบจิบ หรือรับประทานเสร็จแล้วนอน รวมทั้งหมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ (ดูแพ็กเกจตรวจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายเรามีพลังงานสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ แต่หากคุณกำลังประสบกับ "ภาวะกรดไหลย้อน" คุณควรใส่ใจเกี่ยวกับอาหารการกินเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้อาการผิดปกติที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น 

โรคกรดไหลย้อน 

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) มีสาเหตุสำคัญจากการไหลย้อนกลับของกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะ ทำให้อาหารย้อนกลับขึ้นไปอยู่ในหลอดอาหารส่วนบน

โรคนี้สามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน หรือแม้แต่ตอนที่ไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม

อาการกรดไหลย้อนที่พบบ่อย

  • จุกแน่นหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย
  • แสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ 
  • อาจมีปวดร้าวไปที่บริเวณคอ รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกอยู่ที่คอ กลืนลําบาก กลืนเจ็บ 
  • เจ็บคอ แสบคอ เรอบ่อย คลื่นไส้ รู้สึกเหมือนมีน้ำรสเปรี้ยว หรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาที่คอ หรือปาก
  • ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
  • บางรายอาจมีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือฟันผุร่วมด้วยได้

เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มบางชนิดสามารถกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารได้ซึ่งจะทำให้ภาวะกรดไหลย้อนแย่ลง หากเรามีความรู้เกี่ยวกับอาหารและรู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ก็จะช่วยให้การรักษาโรคกรดไหลย้อนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากมีอาการดังที่กล่าวไปแล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจสุขภาพหรือปรึกษาแพทย์ออนไลน์เพื่อขอคำแนะนำ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้ถูกต้องเพื่อบรรเทาอาการกรดไหลย้อน

อาหารปลอดภัยเหมาะสำหรับโรคกรดไหลย้อน

โดยทั่วไปอาหารที่บรรจุในรายการ "อาหารปลอดภัย" มักไม่ก่อให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน แต่รายการที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน จึงแนะนำให้ทำรายการอาหารเฉพาะสำหรับตัวเองในทุกๆ สองสัปดาห์พร้อมทั้งจดรายละเอียดของอาการที่เกิดขึ้นด้วย 

รายการอาหารที่แนะนำ 

  • ผลไม้ เช่น แอปเปิ้ลสด หรือแห้ง น้ำแอปเปิ้ล กล้วย
  • ผัก เช่น มันฝรั่งอบ ผักบรอคโคลี่ กะหล่ำปลี แครอต ถั่วเขียว ถั่วชนิดต่างๆ
  • เนื้อ เช่น เนื้อวัวบด สเต็กไขมันน้อย เนื้ออกไก่ไม่มีหนัง เนื้อวัวส่วนคอถึงไหล่ ไข่ขาว ผลิตภัณฑ์แทนไข่ (มักแทนไข่แดงด้วยสารอย่างอื่นเพื่อหลีกเลี่ยง คอเลสเตอรอล) ปลาไม่มีไขมัน
  • ผลิตภัณฑ์นม เช่น ชีส นมแพะ ครีมชีสปราศจากไขมัน ครีมเปรี้ยวปราศจากไขมัน ชีสถั่วเหลืองไขมันต่ำ
  • ธัญพืช เช่น ขนมปังธัญพืช ธัญพืชรำข้าวหรือข้าวโอ๊ต ขนมปังข้าวโพด ข้าวสีน้ำตาล หรือข้าวขาว  
  • เครื่องดื่ม เช่น น้ำเปล่า น้ำแร่
  • น้ำสลัดไขมันต่ำ
  • ขนม หรือของหวาน เช่น  มันฝรั่งอบ

อาหารที่เหมาะสำหรับกรดไหลย้อนระดับไม่รุนแรง

รายการอาหารที่แนะนำ 

  • ผลไม้ เช่น น้ำส้มความเป็นกรดต่ำ พีช บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ องุ่น หรือแครนเบอร์รี่แห้ง
  • ผัก เช่น กระเทียม หัวหอมสุก กระเทียมต้น กะหล่ำปลีดอง หรือต้นหอม
  • เนื้อ เช่น เนื้อวัวบดไขมันน้อย สลัดไก่ ไข่ทอดในเนย ไข่ทอด ปลาทอด สลัดปลาทูน่า ไส้กรอกเนื้อวัว หรือเนื้อหมูแฮม
  • ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต นมไขมันต่ำหรือพร่องมันเนย โยเกิร์ตแช่แข็ง เนยแข็งสดไขมันต่ำ (cottage cheese) เชดดาร์ชีส หรือชีสสด
  • ธัญพืช เช่น ขนมปังกระเทียม มัฟฟิน หรือธัญพืชชนิดกราโนล่า
  • เครื่องดื่ม เช่น ไวน์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เบียร์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ โคล่า รูทเบียร์
  • ขนม หรือของหวาน เช่น คุกกี้ที่มีไขมันต่ำ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับกรดไหลย้อน

อาหารบางชนิดทำให้อาการกรดไหลย้อนรุนแรงขึ้น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ เพื่อลดโอกาสการกำเริบของโรค และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

รายการอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง 

  • ผลไม้ เช่น น้ำส้ม มะนาว น้ำมะนาว น้ำเกรปฟรุต น้ำแครนเบอร์รี่ หรือมะเขือเทศ
  • ผัก เช่น มันบด มันฝรั่งทอด หรือหัวหอมดิบ
  • เนื้อ เช่น เนื้อวัวบด เนื้อสันคอ เนื้อสันนอก นักเก็ตไก่ หรือปีกไก่ทอด (ไม่ชุบแป้ง)
  • ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ครีมเปรี้ยว นมปั่น ไอศครีม หรือเนยแข็งสดแบบปกติ
  • เครื่องดื่ม เช่น เหล้า ไวน์ กาแฟ ชา
  • ไขมัน หรือน้ำมัน เช่น น้ำสลัดชนิดครีม น้ำสลัดน้ำมัน น้ำส้มสายชู
  • ขนม หรือของหวาน เช่น คุกกี้เนยที่มีไขมันสูง บราวนี่ ช็อคโกแลต โดนัท ขนมที่ทำจากข้าวโพด หรือมันฝรั่งทอด

นอกจากนี้ยังควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่รับประทานจุบจิบ หรือรับประทานเสร็จแล้วนอนทันที แต่ควรให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารให้แล้วเสร็จก่อน ซึ่งโดยทั่วไปใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง ดังนั้นอาหารมื้อเย็นจึงไม่ควรเป็นมื้อหนักย่อยยาก 

การจดบันทึกอาการกรดไหลย้อน

  • เริ่มจากบันทึกสิ่งที่คุณรับประทานและเวลาที่รับประทาน เป็นระยะเวลา 7 วัน 
  • บันทึกสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการกรดไหลย้อนต่างๆ 
  • ระดับความรุนแรงของแต่ละช่วงอาการ 
  • ลักษณะอาการที่ร่างกายของคุณตอบสนอง 
  • สิ่งที่ช่วยให้อาการดีขึ้น 

การนำข้อมูลเหล่านี้ให้แพทย์พิจารณาร่วมกับการซักประวัติและตรวจร่างกายจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัย ให้การรักษา และให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับอาการของคุณได้ดีที่สุด 

ดังนั้นหากมีอาการกรดไหลย้อน ก็ควรเริ่มแก้ไขจากการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ประเภทของอาหารที่ควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยง รวมทั้งบันทึกอาการกรดไหลย้อนตั้งแต่วันนี้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Foods That Can Help with Acid Reflux Symptoms. AARP® Official Site. (https://www.aarp.org/health/conditions-treatments/info-2017/foods-help-acid-reflux-fd.html)
GERD Diet: Foods That Help with Acid Reflux (Heartburn). Johns Hopkins Medicine. (https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/gerd-diet-foods-that-help-with-acid-reflux-heartburn)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป