กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

น้ำกัดเท้า (Athlete's Foot)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคน้ำกัดเท้า หรือโรคกลากที่เท้า เป็นการติดเชื้อราประเภทหนึ่งของเท้า โดยสามารถแพร่กระจายได้จากการสัมผัสเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้า คือ ใส่รองเท้าคับเกินไป สวมถุงเท้าชื้น ใช้ของรวมกับผู้อื่น ชอบเดินเท้าเปล่าในที่สาธารณะ มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีอาการผิวหนังอักเสบเรื้อรัง
  • อาการแสดงของโรคน้ำกัดเท้า เช่น คัน มีรอยแดง รอยสะเก็ด หรือขุยที่ลอกออกของผิวหนังในบริเวณเล็กๆ หรือทั่วทั้งฝ่าเท้า ฝ่าเท้าหนาขึ้น ผิวแตกและเจ็บปวด หรือมีแผลผุผอง มีน้ำหนอง
  • หากเป็นโรคน้ำกัดเท้า สามารถใช้ยาครีมทาต้านเชื้อรารักษาได้ เช่น โคลไทรมาโซล ไมโคนาโซล ออกซิโคนาโซล หรือคีโทโคนาโซล มีจัดจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป
  • โรคน้ำกัดเท้ามักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคเหล่านี้ได้ เช่น ทำความสะอาดเท้าให้แห้งเสมอ หรือหลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าแบบปิด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

โรคน้ำกัดเท้า หรือโรคกลากที่เท้า เป็นการติดเชื้อราประเภทหนึ่งของเท้า ในภาษาอังกฤษมีชื่อว่า Athlete's foot ซึ่งมาจากการเป็นโรคที่พบบ่อยในนักกีฬา ส่วนในทางการแพทย์จะเรียกว่า Tinea pedis ซึ่งหมายถึง โรคกลากที่เท้า

โรคกลากที่เท้าเป็นโรคที่พบบ่อย โดยมีการศึกษาพบว่า คนส่วนใหญ่จะเป็นโรคน้ำกัดเท้าในช่วงชีวิตหนึ่งของพวกเขา โรคน้ำกัดเท้าจะเกิดขึ้นในประมาณ 10% ของประชากรโลก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคกลากที่เท้าจะเริ่มตรงบริเวณระหว่างนิ้วเท้า พบบ่อยในคนที่เท้าเปียกเกือบตลอดเวลาหรือใส่รองเท้าที่คับแคบจนไม่มีที่ระบาย ทำให้เท้าชุ่มเหงื่อและอับ และในคนที่มีเหงื่อออกบริเวณเท้ามาก 

อาการตอนแรกจะมีเพียงแค่คัน มีผื่นลักษณะไม่ชัดเจน มีรอยแตกตามบริเวณกดทับที่ส้นเท้า บางครั้งอาจพบขุยสีขาวหรือผิวหนังเปื่อยได้ และมักมีกลิ่นที่รุนแรงร่วมด้วย จากนั้นจะแพร่กระจายไปยังที่ต่างๆ ได้โดยผ่านทางพื้น ผ้าเช็ดตัว หรือเสื้อผ้า

โรคน้ำกัดเท้าเกิดจากอะไร?

โรคน้ำกัดเท้าเกิดจากการติดเชื้อราหลายประเภท รวมถึงยีสต์ โดยเชื้อราที่พบบ่อยที่สุด คือ เดอร์มาโทไฟต์ (Dermatophytes) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยเคราตินในการเจริญเติบโต และมักทำให้ผิวหนังเกิดโรค

เชื้อก่อโรคอื่นๆ ที่พบบ่อย มีดังนี้ 

  • Trichophyton rubrum 
  • Trichophyton interdigitale (ในอดีตมีชื่อเรียกว่า Trichophyton mentagrophytes var. interdigitale) 
  • Epidermophyton floccosum

เชื้อรานั้น เติบโตในผิวหนังชั้นนอก (ผิวหนังกำพร้า) และเข้าสู่ผิวหนังจากรอยแตก จุลินทรีย์ต้องการความชุ่มชื่นและความอบอุ่นในการแพร่พันธุ์ แม้ว่าโรคกลากที่เท้าสามารถเกิดขึ้นในทุกส่วนของเท้า แต่มักพบบ่อยบริเวณผิวหนังระหว่างนิ้วเท้า

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้ำกัดเท้า

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้ำกัดเท้า มีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ใส่รองเท้าที่คับจนเกินไป หรือใส่ถุงเท้าชื้น
  • ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ที่มีการติดเชื้อรา เช่น พรม เสื่อ เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น
  • มีพฤติกรรมเดินเท้าเปล่าในที่สาธารณะซึ่งอาจมีเชื้อราอยู่ เช่น ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าของนักกีฬา ห้องซาวน่า ห้องอาบน้ำรวม เป็นต้น
  • มีอาการผิวหนังอักเสบเรื้อรัง
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • มีการไหลเวียนโลหิตที่ขาที่ไม่ดี โดยอาจเกิดจากโรคเบาหวานหรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน

อาการแสดงของโรคน้ำกัดเท้า

โรคกลากที่เท้าอาจทำให้เกิดอาการแสดงหลายอย่าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเท้า รวมถึงอาการดังนี้

  • รอยแดงและอาการคันของผิวหนัง (ผื่น)
  • รอยสะเก็ดหรือขุยที่ลอกออกของผิวหนังในบริเวณเล็กๆ (เช่น ระหว่างนิ้วเท้า) หรือทั่วทั้งฝ่าเท้า
  • ผิวแตกที่เจ็บปวด (รอยแตกของผิว) ซึ่งมักจะเกิดจากการลอกของสะเก็ดผิวหนังอย่างรุนแรง
  • แผลพุพองที่เต็มไปด้วยน้ำหนอง
  • ฝ่าเท้าที่หนาขึ้น

เชื้อราที่เท้าสามารถแพร่กระจายไปที่เล็บ และทำให้สีของเล็บเปลี่ยนสี หนาขึ้น หรือแตกละเอียด โรคน้ำกัดเท้าสามารถทำลายผิวหนังและเปิดผิวออก จึงอาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเพิ่มเติม

โรคน้ำกัดเท้าเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

โรคน้ำกัดเท้าเป็นโรคติดต่อ มีความเป็นได้ที่คุณจะได้รับการติดเชื้อจากการจับผิวของผู้ที่มีเชื้อรา แม้ว่าพวกเขาไม่ได้มีการติดเชื้อที่กำลังดำเนินอยู่ นอกจากนี้ โรคน้ำกัดเท้าสามารถแพร่กระจายได้โดยการเดินเท้าเปล่าบนพื้นผิวที่เปียกแฉะและติดเชื้อ เช่น ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าของนักกีฬาและที่อาบน้ำสาธารณะ

ไม่เพียงแค่นั้น คุณสามารถติดโรคน้ำกัดเท้าได้ถ้าคุณมีสุขอนามัยที่ไม่ดีพอ เช่นถ้าคุณปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ไม่ล้างเท้าและไม่ทำให้เท้าแห้งหลังการออกกำลังกายหรือหลังจากเท้าเปียก (รวมถึงเหงื่อ)
  • ใช้ถุงเท้า รองเท้า และผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
  • สวมใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าที่เปียก หรือสวมใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าที่ระบายอากาศได้ไม่ดี ส่งเสริมให้มีเหงื่ออกชุ่มภายในรองเท้า
  • นำถุงเท้ากลับมาใช้ซ้ำโดยที่ยังไม่ได้ซัก (โดยเฉพาะที่มีเหงื่อออก)
  • สวมใส่รองเท้าที่ชำรุด
  • ใส่รองเท้าคู่เดิมซ้ำตลอด ไม่ได้สลับสับเปลี่ยนบ้าง

วิธีรักษาโรคน้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้าสามารถรักษาได้ด้วยยาฆ่าเชื้อราที่ขายตามร้านขายยาในรูปแบบครีม เจล โลชั่น สเปรย์ และแป้ง ที่มีหนึ่งในสารออกฤทธิ์ดังนี้

  • โคลไทรมาโซล (Clotrimazole)
  • ไมโคนาโซล (Miconazole)
  • ออกซิโคนาโซล (Oxiconazole)
  • คีโทโคนาโซล (Ketoconazole)

จากรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) แห่งสหรัฐอเมริกา พบว่าการรักษาโรคน้ำกัดเท้าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากการใช้ยารักษาโรคน้ำกัดเท้าแล้ว ควรจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังต่อไปนี้

  • ทำความสะอาดเท้าให้แห้งอยู่เสมอ
  • ให้เท้าของคุณได้ระบายอากาศ โดยการถอดรองเท้า หรือใส่รองเท้าแตะให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่หนัก รองเท้าแบบปิด หรือถุงเท้าที่หนา
  • หมุนเวียนการใส่รองเท้าและอย่านำถุงเท้ากลับมาใช้ซ้ำโดยที่ยังไม่ได้ซัก
  • หลีกเลี่ยงการใช้สระว่ายน้ำหรือห้องอาบน้ำสาธารณะ

ถ้าการติดเชื้อของคุณยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจจ่ายยาเม็ดต้านเชื้อราที่แรงขึ้น เช่น เทอร์บินาฟีน (Terbinafine) หรือไอทราโคนาโซล (Itraconazole)

การรักษาโดยสมุนไพรสำหรับโรคน้ำกัดเท้า

บางคนเลือกที่จะรักษาโรคน้ำกัดเท้าด้วยการใช้น้ำมันหอมระเหยสกัดจากธรรมชาติ (Tea tree oil) หรือแช่เท้าในน้ำที่ผสมผลิตภัณฑ์สมุนไพรบางชนิด แต่ถึงกระนั้น จากรายงานของศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติยังไม่มีความเห็นในทางการแพทย์ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ใช้แล้วได้ผลจริง 

นอกจากนี้ พบว่า 10% ของครีมน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติไม่ได้มีสรรพคุณดีไปกว่ายาหลอก (ครีมที่ไม่ได้มีตัวยาผสมอยู่) ในการรักษาโรคน้ำกัดเท้าให้หายขาด

ในทางกลับกัน แม้ว่ารายงานการศึกษาในปี 2002 พบว่า 50% ของสารละลายน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติสามารถรักษาโรคน้ำกัดเท้าของผู้คนถึงสองในสามให้หายขาดได้ก็ตาม 

ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรตระหนักว่า นักวิจัยมักใช้ส่วนประกอบที่บริสุทธิ์และได้รับการประเมินมาดีมาก และผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติไม่ได้รับการควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐานไปในทางเดียวกันเหมือนกับยารักษาโรค

นอกจากน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติแล้ว มีการพบว่าสารประกอบในกระเทียมที่เรียกว่าอะโจอีน (Ajoene) สามารถยับยั้งเชื้อราได้ และงานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่า สารนี้มีประสิทธิภาพในการรักษากลากที่เท้า 

แต่สารตัวนี้ไม่ได้มีวางนำหน่ายในเชิงพาณิชย์ และยังไม่มีอะไรที่ยืนยันแน่ชัดว่ายาทาหรือการแช่เท้าในน้ำที่มีส่วนผสมของกระเทียมหยาบหรือกระเทียมสดอาจมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคน้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้าเกิดจากการติดเชื้อรา และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น สวมใส่ถุงเท้าซ้ำๆ ชอบเดินเท้าเปล่าในที่เปียกชื้น หรือไม่รักษาความสะอาด เมื่อเกิดโรคแล้วก็ควรรีบไปซื้อยาทาต้านเชื้อรามารักษาให้หาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคน้ำกัดเท้าได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Athlete's foot: Symptoms, causes, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/261244)
Athlete’s Foot: Causes, Symptoms, and Diagnosis (https://www.healthline.com/health/athletes-foot)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)