กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Ketoconazole (คีโตโคนาโซล) - ยาต้านเชื้อราใช้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อรา

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
Ketoconazole (คีโตโคนาโซล) - ยาต้านเชื้อราใช้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อรา

คีโตโคนาโซล เป็นยาที่มีโครงสร้างของอิมิดาโซลสังเคราะห์ (synthetic imidazole) ในกลุ่มยาต้านเชื้อราใช้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อรา มีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน (หลังจากนั้นยานี้มีการเลิกจำหน่ายในบางประเทศ) และยาในรูปแบบอื่น ได้แก่ ยาทาผิวหนัง เช่น ยาครีม (ใช้สำหรับการติดเชื้อกลาก การติดเชื้อแคนดีด้าที่เยอะบุผิวและโรคเกลื้อน รวมถึงยาในรูปแบบแชมพู ซึ่งใช้เป็นยาหลักในการรักษารังแคและโรคผิวหนังอักเสบเซ็ปเดิม (seborrheic dermatitis)

ในปี 2013 องค์การ CHMP ได้มีการห้ามไม่ให้ใช้ยาคีโตโคนาโซลในรูปแบบรับประทานในมนุษย์ หลังจากที่มีการศึกษาถึงผลของความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อตับอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ยา จึงมีการเลิกผลิตยาคีโตโคนาโซลในรูปแบบยารับประทาน ในประเทศออสเตรเลีย ในปี ค.ศ. 2013 และประเทศจีน ในปี ค.ศ.2015

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Ketoconazole ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • Chintaral แชมพู ความเข้มข้น 2% โดยผู้ผลิต Chinta
  • Dandril ยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม โดยผู้ผลิต Osoth interlab
  • Diazon ยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัมและยาครีม ความเข้มข้น 2% โดยผู้ผลิต Unison
  • Fungazol ยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม โดยผู้ผลิต Biolab
  • Funginox ยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม และ ยาสเปรย์ ความเข้มข้น 2% โดยผู้ผลิต Charoen Bhaesaj Lab
  • Kara แชมพู ความเข้มข้น 2% โดยผู้ผลิต Polipharm
  • Kenoral ยาครีม ความเข้มข้น 2% แชมพู ความเข้มข้น 2% และยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม โดยผู้ผลิต General drugs house
  • Ketazon ยาครีม ความเข้มข้น 2% แชมพู ความเข้มข้น 2% และยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม โดยผู้ผลิต Siam Bheasach
  • Ketonazole ยาครีม ความเข้มข้น 2% และยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม โดยผู้ผลิต Polipharm
  • Ketoral ยาครีม ความเข้มข้น 2% ยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม โดยผู้ผลิต Community Pharm PCL
  • Kezon ยาครีม ความเข้มข้น 2% โดยผู้ผลิต Osoth interlab
  • Ninazol ยาครีม ความเข้มข้น 2% แชมพู ความเข้มข้น 2% และยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม โดบผู้ผลิต T.O. Chemicals
  • Nizoral ยาครีม ความเข้มข้น 2% และ แชมพู ความเข้มข้น 2% โดยผู้ผลิต Johnson & Johnson
  • Sporoxyl ยาครีม ความเข้มข้น 2% และยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม โดยผู้ผลิต Bangkok Lab & Cosmetic


โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการติดเชื้อรา
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษา Pityriasis versicolor (เกลื้อน)
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาเซบเดิร์ม (seborrheic dermatitis)

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Ketoconazole

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ คีโตโคนาโซล เป็นยากลุ่มยาต้านเชื้อรา ออกฤทธิ์รบกวนกระบวนการชีวสังเคราะห์ของไตรกลีเซอไรด์ และฟอสโฟลิพิด โดยยับยั้งเอนไซม์ CYPP450 ของเชื้อรา เป็นการรบกวนกระบวนการเลือกผ่านของเชื้อรา นอกจากนี้คีโตโคนาโซยังยับยั้งเอนไซม์ชนิดอื่นของเชื้อรา เป็นผลให้เกิดการสะสมของไฮโรเจนพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) ที่เป็นพิษ

ข้อบ่งใช้ของยา Ketoconazole

ยาในรูปแบบยารับประทาน ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการติดเชื้อรา ขนาดยาในผู้ใหญ่ขนาด 200 มิลลิกรัม วันละหนึ่งครั้ง อาจเพิ่มได้ถึง 400 มิลลิกรัม วันละหนึ่งครั้ง ใช้ยารักษาต่อเนื่องจนกว่าอาการจะหายดี หรือผลการเพาะเชื้อเป็นผลลบ ขนาดยาในเด็กอายุมากกว่าสองปี ขนาด 3.3 ถึง 6.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม วันละครั้ง ระยะเวลาในการรักษาหนึ่งถึงสองสัปดาห์ในกรณีติดเชื้อแคนดีด้า หรืออย่างน้อยเป็นเวลาสี่สัปดาห์ในกรณีติดเชื้อ dermatophyte และใช้เวลารักษาถึงหกเดือนในกรณีติดเชื้อ mycoces ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ ไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยา ยาในรูปแบบยาทาผิวหนัง ข้อบ่งใช้สำหรับรักษา Pityriasis versicolor (เกลื้อน) จากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ยารูปแบบครีมความเข้มข้น 2% ทาวันละ 1-2 ครั้ง บริเวณที่ติดเชื้อและบริเวณโดยรอบจนกว่ารอยโรคจะหายไป ยารูปแบบแชมพูความเข้มข้น 2% ชะโลมลงบนหนังศีรษะ สระวันละครั้งเป็นเวลา 5 วัน ในกรณีใช้เป็นยาสำหรับป้องกัน รูปแบบแชมพูความเข้มข้น 2% ใช้วันละครั้ง มากสุด 3 วันต่อสัปดาห์ ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาเซบเดิร์ม (seborrheic dermatitis) ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ยารูปแบบแชมพูความเข้มข้น 1-2% ชะโลมลงบนหนังศีรษะ สระสัปดาห์ละ 2 ครั้งเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ ในกรณีใช้เป็นยาสำหรับป้องกัน ยารูปแบบแชมพูความเข้มข้น 2% สระ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Ketoconazole

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Ketoconazole

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ 
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ 
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ใช้ยาที่เป็นสารตั้งต้นของเอนไซม์ CYP3A4 เช่นยากลุ่ม เอช เอ็ม จี-โคเอ รีดักเทส อินฮิบิเตอร์ (HMG-CoA reductase inhibitor) (เช่น ซิมวาสแตติน (simvastatin) โลวาสแตติน (lovastatin) อะโทวาสแตติน (atorvastatin)) ไตรอะโซแลม (triazolam) มิดาโซแลม (midazolam) ซิสซาไพรด์ (cisapride) โดเฟทิไลด์ (dofetilide) อีพลีริโนน (eplerenone) นิโซลดิพีน (nisoldipine) พิโมไซด์ (pimozide) ควินิดีน (quinidine) เทอเฟนาดีน (terfenadine) แอสทิมาโซล (astemizole) ยากลุ่มเออกอท อัลคาลอยด์ (ergot alkaloids) (เช่น เออโกทามีน (ergotamine) ไดไฮโดรเออโกทามีน (dihydroergotamine)) 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีการดื่มเครื่องดื่มที่เป็นกรดในผู้ป่วยที่กระเพาะอาหารไม่มีการหลั่งกรดหรือมีการหลั่งกรดน้อยกว่าปกติ - ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Ketoconazole

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตไม่เพียงพอ รบกวนระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง ระคายเคืองผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ รู้สึกแสบร้อน เกิดผื่นคัน ผื่นลมพิษ เกิดอาการบวม การแพ้ยาแบบ anaphylaxis ปวดศีรษะ มึนงง ง่วงนอน เป็นไข้ เกร็ดเลือดต่ำ ประจำเดือนมาไม่ปกติ กดการทำงานของต่อมหมวกไต เต้านมโตในเพศชาย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มความดันในกระโหลก ไวต่อแสง ค่าการทำงานของตับเพิ่มขึ้น อาการที่ไม่พึงประสงค์รุนแรง ได้แก่ การเกิดพิษต่อตับ

ข้อมูลการใช้ยา Ketoconazole ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Ketoconazole

เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 15 ถึง 25 องศาเซลเซียสป้องกันจากความชื้นและแสง

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ketoconazole (Topical Route) Description and Brand Names - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/ketoconazole-topical-route/description/drg-20067739)
Nizoral (ketoconazole) dosing, indications, interactions, adverse effects, and more. Medscape. (https://reference.medscape.com/drug/nizoral-ketoconazole-342592)
Ketoconazole - C26H28Cl2N4O4. U.S. National Library of Medicine National Center for Biotechnology Information. (https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Ketoconazole)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม