กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การแพทย์แผนโบราณของไทยเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยในสมัยสุโขทัย ได้มีการสร้างสวนสมุนไพร หรือที่เรียกว่า “เขาสรรพยา” เพื่อให้ราษฎรเก็บสมุนไพรไปรักษาโรค และในสมัยอยุธยา ได้มีการตั้งระบบจัดยา และจำหน่ายยาทั้งนอก และในกำแพงเมือง
  • ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ได้มีการรวบรวมผู้ชำนาญโรค และสรรพคุณยามาจดบันทึกตำราหลวงสำหรับโรงโอสถใหม่ แทนที่คัมภีร์แพทย์สมัยกรุงศรีอยุธยาที่สูญหายไป
  • การแพทย์ตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยคณะมิชชันนารีชาวอเมริกา หรือที่คนไทยคุ้นชื่อในนาม “หมอบรัดเลย์”
  • อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดการเรียนการสอนโดยนำตำราแพทย์แผนโบราณกับแพทย์แผนตะวันตกมาใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากแพทย์ทั้ง 2 ตำรามีแนวคิด และวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน
  • แพทย์แผนโบราณมีการพัฒนาให้ทันสมัยตามกาลเวลาจนในรัชกาลที่ 7 ได้มีการแบ่งแพทย์ผู้รักษาออกเป็น 2 แขนง คือ แพทย์แผนโบราณ ซึ่งจะรักษาโรคโดยการสังเกต อาศัยความชำนาญที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ กับแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งเป็นแพทย์ที่รักษาโดยอาศัยหลักวิชาสากลนิยม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพกับแพทย์โดยตรงได้ที่นี่

การแพทย์แผนโบราณสมัยก่อนรัตนโกสินทร์

ประวัติการแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยนั้น ได้มีการค้นพบศิลาจารึกของอาณาจักรขอมในประมาณปี พ.ศ. 1725-1729 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลโดยการสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า "อโธคยาศาลา" 

อโธคยาศาลามีผู้ทำหน้าที่รักษาพยาบาล ได้แก่ หมอ พยาบาล เภสัชกร รวม 92 คน มีพิธีกรรมบวงสรวงพระไภสัชยคุรุไวฑูรย์ ด้วยยา และอาหารก่อนแจกจ่ายไปยังผู้ป่วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

จนต่อมา ได้มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดี และศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งในสมัยสุโขทัยได้บันทึกไว้ว่า ทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวง หรือเขาสรรพยา เพื่อให้ราษฏรได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยามเจ็บป่วย

และในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ค้นพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับราษฏร มีแหล่งจำหน่ายยา และสมุนไพรหลายแห่งทั้งใน และนอกกำแพงเมือง 

มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์โบราณ เรียกว่า “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” 

นอกจากนี้ ในรัชสมัยของสมเด็กพระนารายณ์มหาราช การแพทย์แผนโบราณมีความรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะการนวด ในสมัยนี้การแพทย์แผนตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาท โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสเข้ามาจัดตั้ง โรงพยาบาลรักษาโรค แต่ขาดความนิยมจึงได้ล้มเลิกไป

การแพทย์แผนโบราณในสมัยรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ 1 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม หรือ “วัดโพธิ์” ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ให้ชื่อว่า “วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม” 

ทรงมีพระบรมราชโองการให้มีการรวบรวม และจารึกตำรายา ฤๅษีดัดตน ตำราการนวดไว้ตามศาลารายส่วน รวมถึงจัดหายาของทางราชการ มีการจัดตั้งกรมหมอ และโรงพระโอสถคล้ายกับในสมัยอยุธยา 

โดยแพทย์ที่รับราชการ เรียกว่า "หมอหลวง" ส่วนหมอที่รักษาราษฎรทั่วไป เรียกว่า ”หมอราษฎร” หรือ “หมอเชลยศักดิ์” 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รัชกาลที่ 2 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเห็นว่า คัมภีร์แพทย์โรงพระโอสถสมัยอยุธยานั้นสูญหายไป 

เนื่องจากตอนนั้นมีสงครามกับพม่า 2 ครั้ง บ้านเมืองถูกทำลาย และราษฎรรวมทั้งหมอแผนโบราณถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย ทำให้ตำรายาและข้อมูล เกี่ยวกับการแพทย์ของไทยถูกทำลายไปด้วย 

จึงมีพระบรมราชโองการให้เหล่า ผู้ชำนาญโรคและสรรพคุณยา รวมทั้งผู้ที่มีตำรายานำเข้ามาถวาย และให้กรมหมอหลวงคัดเลือก ให้จดเป็นตำราหลวงสำหรับโรงพระโอสถ และในปี พ.ศ.2359 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า “กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย”

รัชกาลที่ 3 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกครั้ง ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ แห่งแรก คือ “โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์” 

ในงานฉลองวัดโพธิ์สมัยนั้น ทรงดำริว่าอันตำรายาไทย และการรักษาโรคแบบอื่นๆ เช่น การบีบนวด ประคบ หมอที่มีชื่อเสียงต่างก็หวงตำราของแต่ละคนไว้เป็นความลับ 

ตลอดจนทรงดำริว่า การรักษาโรคทางตะวันตกกำลังแผ่อิทธิพลลงเข้ามาในประเทศสยาม และในเวลาอันใกล้น่าจะบดบังรัศมีของการแพทย์แผนโบราณเสียหมดสิ้น สุดท้ายอาจไม่มีตำรายาไทยเหลืออยู่เพื่อประโยชน์ของอนุชนรุ่นหลังก็ได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นจึงทรงประกาศให้ผู้มีตำรับตำรายาโบราณทั่งหลายที่มีสรรพคุณดี และเชื่อถือได้เท่าที่มีอยู่สมัยนั้น นำมาจารึกเป็นหลักฐานไว้บนหินอ่อน ประดับไว้บนผนังพระอุโบสถ ศาลาราย เสา และกำแพงวิหารคดรอบพระเจดีย์สี่องค์ และตามศาลาต่างๆ ของวัดโพธิ์ที่ปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้น 

การจารึกนี้เป็นตำราบอกสมุฏฐานของโรค และวิธีการรักษา และยังได้มีการจัดหาสมุนไพรที่ใช้ปรุงยา และหายากมาปลูกไว้ในวัดโพธิ์เป็นจำนวนมาก 

นอกจากนั้นได้ทรงให้ปั้นรูปฤาษีดัดตนในท่าต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประสงค์จะฝึกตนเป็นแพทย์ หรือหาทางบำบัดตนได้ศึกษาเป็นสาธารณะทาน นับว่ าเป็นการจัดการศึกษาให้กับประชาชนรูปแบบหนึ่ง 

ตำรายาเหล่านี้พอจะทราบกันดีในบรรดาหมอไทยว่า ตำรายาดีจริงๆนั้น คงไม่ได้รับการเปิดเผยอย่างแท้จริง แต่ก็เป็นอนุสรณ์ และเป็นโรงเรียนการแพทย์ของเมืองไทย 

นอกจากนี้ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการนำเอาการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาเผยแพร่โดยคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน โดยการนำของนายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ ซึ่งคนไทยเรียกว่า “หมอบรัดเลย์” เช่น การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินินรักษาโรคไข้จับสั่น

รัชกาลที่ 4 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มากขึ้น เช่น การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ไม่สามารถให้ประชาชนเปลี่ยนความนิยมได้ เพราะการรักษาพยาบาลแผนโบราณของไทย เป็นจารีตประเพณีและวัฒนธรรมสืบเนื่องกันมา และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของไทย


รัชกาลที่ 5 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งศิริราชพยาบาลใน พ.ศ.2431 มีการเรียนการสอน และให้การรักษาทั้งการแพทย์ทั้งแผนโบราณ และ แผนตะวันตกร่วมกันหลักสูตร 3 ปี 

แต่อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนการสอน และบริการรักษาทางการแพทย์ ทั้งแผนโบราณ และแผนตะวันตกร่วมกันเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีการขัดแย้งระหว่างผู้สอน และผู้เรียนเป็นอย่างมาก ด้วยหลักการแนวคิด และวิธีการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ทำให้ยากที่จะผสมผสานกันได้ 

นอกจากนี้ ยังมีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ในโรงเรียนแพทย์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2438 โดยพระยาพิษณุ ชื่อตำรา “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” ได้รับยกย่องให้เป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก 

ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเวชเห็นว่า ตำราเหล่านี้ยากแก่ผู้ศึกษาจึงได้พิมพ์ตำราขึ้นใหม่ ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป 3 เล่ม ซึ่งยังคงใช้เป็นตำราทางการแพทย์มาจนทุกวันนี้

รัชกาลที่ 6 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนโบราณ และต่อมาในปี พ.ศ. 2466 มีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์เป็นการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับประชาชน 

สาเหตุที่มีการประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติ ก็อันเนื่องมาจากการประกอบโรคศิลปะของผู้ที่ไม่มีความรู้ และมิได้ฝึกหัด ด้วยความไม่พร้อมในด้านการเรียนการสอน การสอบ และการประชาสัมพันธ์ ทำให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากกลัวถูกจับจึงเลิกประกอบอาชีพนี้ บ้างก็เผาตำราทิ้ง

รัชกาลที่ 7 

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ตรากฎหมายเสนาบดี แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็น “แผนปัจจุบัน” และ”แผนโบราณ” โดยกำหนดไว้ว่า

  1. ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยความรู้จากตำราอันเป็นหลักวิชาโดยสากลนิยม ซึ่งดำเนินและจำเริญขึ้น โดยอาศัยการศึกษา ตรวจค้น และทดลองของผู้รู้ในทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก 
  2. ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัย ความสังเกต ความชำนาญ อันได้สืบต่อกันมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำราอันมีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์

รัชกาลที่ 9 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในรัชสมัยนี้มีการจัดตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ ได้ก่อตั้งขึ้นที่วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2500 นับนั้นมาสมาคมต่างๆ ก็ได้แตกสาขาออกไป 

ปัจจุบันก็มีโรงเรียนแพทย์ แผนโบราณที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ใน ปี พ.ศ.2525 ได้ก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) ให้การอบรมศึกษา ด้านการแพทย์แผนโบราณแบบประยุกต์มาจนกระทั่งทุกวันนี้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำกายภาพบำบัด และนวดเพื่อรักษา จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Center of Applied Thai Traditional Medicine. Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University. (Available via: https://www2.si.mahidol.ac.th/en/center-of-applied-thai-traditional-medicine/about/)
Chokevivat, Vichai. (2005). The role of Thai traditional medicine in health promotion. The 6th global conference on health promotion. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/237617550_The_role_of_Thai_traditional_medicine_in_health_promotion)
Chotchoungchatchai, S., Saralamp, P., Jenjittikul, T., Pornsiripongse, S., & Prathanturarug, S. (2012). Medicinal plants used with Thai Traditional Medicine in modern healthcare services: A case study in Kabchoeng Hospital, Surin Province, Thailand. Journal Of Ethnopharmacology, 141(1), 193-205. https://doi.org/10.1016/j.jep.2012.02.019. ScienceDirect. (Available via: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0378874112001006)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป