การแพทย์แผนไทย ประเทศไทยมีการแพทย์พื้นบ้านกระจายอยู่ในชนบททั่วประเทศ
โดยภาคเหนือจะมีการแพทย์พื้นบ้านล้านนามีตำรา คัมภีร์ใบลานล้านนา ซึ่งมักจะจารึกเป็นภาษาธรรมล้านนา และมีการเรียนสืบทอดกันภายในครอบครัวหรือสืบทอดกันตัวต่อตัว ระหว่างครูและลูกศิษย์
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การแพทย์พื้นบ้านภาคกลางจะมีการบันทึกเป็นภาษาธรรม ภาษาขอม ภาษากลาง
การแพทย์พื้นบ้านภาคอีสานก็มีตำราใบลานมากมาย มักจารึกเป็นภาษาธรรมอีสาน และมีหมอพื้นบ้านจำนวนมากกระจายอยู่เต็มพื้นที่
ส่วนภาคใต้ แม้จะมีชาวมุสลิมเป็นจำนวนมาก แต่การแพทย์พื้นบ้านก็ยังมีความคล้ายคลึงกับทางภาคกลาง เว้นแต่ชื่อสมุนไพรจะเป็นภาษาใต้การแพทย์พื้นบ้านได้มีการรวมตัวสังคายนาเอกสารตำราหลายครั้ง
โดยบทบาทของพระมหากษัตริย์ในสมัยรัชกาลที่ 7 เคยตั้งโรงพยาบาลจากอีสานเหนือจดอีสานใต้เป็นร้อยแห่ง โดยมีการแบ่งหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน มีหมอ พยาบาล เภสัช ผู้จดสถิติ และผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งประวัติช่วงนี้ บางคนมักไม่ยอมกล่าวถึง เมื่อพูดถึงประวัติการแพทย์แผนไทย ซึ่งหมอ หรือบุคลากรในสมัยนั้นจะหมายถึงคนในสังคมสยามในพื้นที่นั้นนั่นเอง เพราะกษัตริย์ขอมยุคนั้นคงไม่สั่งหมอจากที่อื่นมาทำงานในโรงพยาบาลเป็นแน่
ในสมัยอยุธยา ก็มีการจัดทำตำราโอสถพระนารายณ์ มีการรวบรวมองค์ความรู้ แบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ เช่น หมอนวด หมอยา และหมอเด็ก เป็นต้น
ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ก็มีการระดมหมอพื้นบ้านทั่วประเทศมาทำการสังคยานาองค์ความรู้ จารึกไว้ที่วัดโพธิ์ เป็นความรู้ครบถ้วน ทั้งด้านการรักษาพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพ เช่น การใช้ยาการนวด และการบริหารด้วยท่าฤษีดัดตน
ดังนั้น ถ้าพิจารณาตามคำจำกัดความของสากลแล้วการแพทย์ดั้งเดิมของไทยไม่น่าจะเป็นเพียง Folk Medicine หรือ การแพทย์พื้นบ้าน เพราะมีการรวบรวมองค์ความรู้ ตรวจสอบจนเป็นแบบแผนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย มีการเรียนการสอน การสอบเพื่อรับใบประกอบโรคศิลป์และมีการใช้แพร่หลายไปทั่วประเทศ แม้จะไม่แพร่หลายไปยังนอกประเทศ แต่ก็มีการแพทย์ที่คล้ายคลึงกันในภูมิภาคนี้ เช่น ลาว พม่า เป็นต้น
ดังนั้น การใช้คำว่าการแพทย์แผนไทย แทนคำว่าแผนโบราณเดิม จึงเป็นคำที่เหมาะสมกับการเรียกตามสากลได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เพราะการแพทย์แผนไทย เป็นวิถีชีวิตการดูแลสุขภาพของคนไทยอย่างสอดคล้องกับวัฒนธรรมอันดีของไทย มีการใช้สมุนไพร การอบ การประคบ และการนวดไทย มีเอกลักษณ์เป็นแบบแผนไทย มีความรู้ที่สรุปเป็นทฤษฎี มีการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้อย่างกว้างขวางตามคำจำกัดความของ Traditional Medicine จึงสมควรได้รับการเรียกขานว่า การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) และเป็นหน้าที่ของลูกหลานไทย ที่ควรยกย่องภูมิปัญญาไทยให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานานาประเทศ และนำการแพทย์แผนไทยมารับใช้คนรุ่นใหม่อย่างมีศักดิ์ศรีต่อไป