ประวัติของการแพทย์แผนไทย ในสมัยสุโขทัย อยุธยา ไปจนถึงรัตนโกสินทร์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ประวัติของการแพทย์แผนไทย ในสมัยสุโขทัย อยุธยา ไปจนถึงรัตนโกสินทร์

>ประวัติแพทย์แผนไทยสมัยสุโขทัย


a5.gif ในยุคสุโขทัยในราวปี ค.ศ. 1370 ได้มีการรวบรวมอาณาจักรต่าง ๆ เข้าเป็นอาณาจักรขัยไล่อิทธิพลของขอมบูรณาการประเทศสยาม (ประเทศไทย) จนมีอาณาเขตกว้างขวางจากเหนือจดใต้ แต่ไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับการแพทย์เอาไว้ชัดเจนอาจพอจะสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีหมอพื้นบ้านทั่วประเทศ ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชน โดยหมอพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยบวชเรียนเป็นพระมาก่อน จึงมีความรู้พื้นฐานตามแนวพุทธร่วมกับประสบการณ์การรักษาโรคผสมผสานกับความรู้ในการใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่นและเชื่อว่าหมอยาแถบอีสานคงจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญดีมาก เพราะสืบทอดความรู้ที่เป็นระบบจากหมอพื้นบ้านทีมาจากอโรคยาศาลาที่สลายตัวไป และกระจัดกระจายออกไปเป็นหมอพื้นบ้านตามชนบท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประวัติแพทย์แผนไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา


a5.gif การแพทย์แผนไทยสมัยอยุธยารุ่งเรืองมาก ซึ่งตรงกับยุคมืดของการแพทย์อายุรเวทที่อินเดีย ไทยมีการบูรณาการองค์ความรู้ มีการแบ่งสาขาการให้บริการถึงขั้นตั้งเป็นกรมหมอนวด หมอยา หมอกุมาร มีป่ายา มีหมอหลวงที่มีย่ามแดงและตะบองแดง มีกฎหมายคุ้มครองป่า ซี่งหมอยาสามารถใช้ตะบองแดงนี้ชี้เก็บยาได้ทั่วแผ่นดิน และการนวดไทยน่าจะมีวิวัฒนาการมาจากการนวดพื้นบ้านจนพัฒนาเป็นการนวดแบบราชสำนัก มีการจัดทำคัมภีร์และตำรามากมาย แต่ในที่สุดได้ถูกทำลายลงจากการเสียกรุงให้พม่า เป็นที่น่าสังเกตว่าการสู้รบกับพม่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา เพราะไทยและพม่าต่างก็นับถือศาสนาพุทธ จึงเชื่อว่า พม่าได้นำเอาคัมภีร์ และตำราต่าง ๆ กลับไปด้วย โดยมิได้เผาทำลายไปหมดดังที่เข้าใจกัน เพราะมีบันทึกที่กล่าวไว้ว่าได้มีมิชชันนารีแก้ผ้าแล้วเอาคัมภีร์เทินศีรษะไว้ขณะถูกกวาดต้อนไปยังพม่า ซึ่งเชื่อว่าหมอยาไทยก็คงจะถูกกระทำแบบเดียวกัน อีกทั้งภาษาที่เขียนก็มีความคล้ายคลึงกัน จึงเชื่อว่าแม้ไทยจะถูกทำลายโดยพม่าถึง 2 ครั้ง ก็มิได้ทำให้คัมภีร์ตำราด้านการแพทย์แผนไทยสูญหายไปหมดสิ้น ดังนั้นเมื่อมีการกอบกู้เอกราชขึ้นมา จึงสามารถรวบรวมตำราคัมภีร์ต่าง ๆ ได้โดยง่าย

ประวัติแพทย์แผนไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น


 

a5.gif ในสมัยรัชกาลที่  1-3 ซึ่งเป็นยุคทองของการแพทย์แผนไทยอีกครั้งหนึ่ง มีการรวบรวมองค์ความรู้จากทุกเมืองมาเลือกสรรเอาแต่สิ่งที่ดีที่สุด จารึกไว้ในศิลาจารึกซึ่งมีแทบทุกสาขาวิชาจารีกไว้ตามศาลารายวัดโพธิ์ นับได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย อีกทั้งอาจกล่าวได้ว่าการสาธารณสุขมูลฐานเกิดขึ้นแล้วในสมัยนั้นเพราะมีการเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณะให้ประชาชนมาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทางด้านการแพทย์นั้นก่อนที่จะนำข้อความจารึกมีการสาบานตนว่า หมอที่บอกตำรับยานั้นเคยได้ใช้ดีมาก่อนแน่นอน หากว่าไม่จริงขอให้มีอันเป็นไป นับเป็นวิธีเดียวในสมัยนั้นที่จะทำมาตรฐานองค์ความรู้ การแพทย์แผนไทยที่จารึกไว้มีตำรายาทุกชนิด โรคต่าง ๆ ที่พบบ่อย ตำรานวดแผนนวด รูปปั้นฤาษีดัดตน 80 ท่า นับเป็นพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทำให้องค์ความรู้แผนไทยอยู่คู่แผ่นดินจวบจนทุกวันนี้

ประวัติแพทย์แผนไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย


a5.gif ในสมัยรัชกาลที่ 4-5 เป็นระยะที่มีวิกฤตการแพทย์แผนไทย โดยเริ่มมีอิทธิพลของการแพทย์แผนตะวันตกผ่านเข้ามาทางมิชชันนารี มีการนำวิธีการผ่าตัด และการฉีดวัคซีนเข้ามา ทำให้การแพทย์แผนไทยเริ่มถูกลดบทบาทลง แม้องค์พระปิยมหาราชจะทรงมองเห็นว่าการแพทย์แผนไทยอาจจะเสื่อมสูญจึงได้นำเข้ามาสอนในโรงเรียนแพทย์ แต่ในที่สุดก็มิสามารถที่จะผสมผสานกับการแพทย์แผนตะวันตกได้ จึงได้ยกเลิกการเรียนการแพทย์แผนไทยในโรงเรียนแพทย์ไปในที่สุด ในราวปี ค.ศ. 1904 ซึ่งเป็นยุคเดียวกับที่การแพทย์อายุรเวทของอินเดียเพิ่งเริ่มบูรณาการขึ้นมาใหม่ ต่อมาในสมัยรัชกาบที่ 6-7 ได้มีการออกกฎหมายควบคุมการประกอบโรคศิลปะขึ้น ส่งผลกระทบต่อการแพทย์แผนไทย ทำให้หมอโบราณส่วนหนึ่งได้เลิกประกอบอาชีพไป และมีการเผาตำราทิ้งไปบางส่วนเพราะเข้าใจผิดนับแต่นั้นมาการแพทย์แผนไทยได้ตกต่ำมาโดยตลอดจนกระทั่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 จวบจนปัจจุบัน นับเป็นเวลากว่าร้อยปี ที่การแพทย์แผนไทยได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Center of Applied Thai Traditional Medicine. Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University. (Available via: https://www2.si.mahidol.ac.th/en/center-of-applied-thai-traditional-medicine/about/)
Chokevivat, Vichai. (2005). The role of Thai traditional medicine in health promotion. The 6th global conference on health promotion. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/237617550_The_role_of_Thai_traditional_medicine_in_health_promotion)
Chotchoungchatchai, S., Saralamp, P., Jenjittikul, T., Pornsiripongse, S., & Prathanturarug, S. (2012). Medicinal plants used with Thai Traditional Medicine in modern healthcare services: A case study in Kabchoeng Hospital, Surin Province, Thailand. Journal Of Ethnopharmacology, 141(1), 193-205. https://doi.org/10.1016/j.jep.2012.02.019. ScienceDirect. (Available via: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0378874112001006)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป