fMRI

วิธีการทางภาพวินิจฉัยนี้จะช่วยแสดงการทำงานของแต่ละบริเวณในสมอง
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
fMRI

fMRI ย่อมาจาก Functional magnetic resonance imaging คือการทำ MRI (Magnetic resonance imaging – การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก) รูปแบบหนึ่งที่สามารถตรวจการทำงานของสมองโดยอาศัยความเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลของเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อสมองมีการทำงานมากขึ้น จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณเลือดมาเลี้ยงที่บริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้น fMRI จึงสามารถบอกถึงบริเวณที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง เช่นการคิด พูด หรือเคลื่อนไหวได้ ซึ่งสามารถช่วยแพทย์ในการติดตามผลของการเกิดโรคเส้นเลือดในสมอง อุบัติเหตุ เนื้องอกในสมอง หรือโรคต่าง ๆ เช่น อัลไซเมอร์ได้ และยังช่วยในการวางแผนการฉายรังสี การผ่าตัด หรือการรักษาเกี่ยวกับสมองอีกด้วย

เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปี 1990 โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Seiji Ogawa และ Ken Kwong

วิธีการทำ fMRI

ในการทำ fMRI จะเป็นการใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ (ประมาณขนาดของรถบรรทุก) ซึ่งจะใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในการสร้างภาพของอวัยวะและโครงสร้างต่าง ๆ ของร่างกายเช่นเดียวกับการทำ MRI ปกติแล้วจะใช้เวลาในการทำประมาณ 1 ชั่วโมง

ก่อนการทำ fMRI คุณอาจต้องฉีดสารทึบรังสีผ่านทางเส้นเลือดดำที่แขนหรือขาเพื่อช่วยทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น คุณอาจได้รับยาสลบก่อนการทำ fMRI หากคุณมีภาวะวิตกกังวลหรือกลัวที่แคบ โดยคุณจะนอนอยู่บนโต๊ะที่สามารถเลื่อนได้ โดยศีรษะจะวางอยู่ในอุปกรณ์ที่จะทำให้คุณไม่สามารถขยับได้ และอาจต้องใส่แว่นตาพิเศษ หรือหูฟัง หลังจากนั้นนักเทคนิกการแพทย์หรือรังสีแพทย์จะทำการเลื่อนตัวคุณเข้าสู่สนามไฟฟ้าของเครื่อง MRI แพทย์จะควบคุมการฉายภาพของเครื่องจากคอมพิวเตอร์นอกห้อง

โดยพวกเขาจะมองเห็น ได้ยินและสามารถพูดคุยกับคุณผ่านทางวิทยุสื่อสารระหว่างห้อง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณจะต้องนอนเฉย ๆ ตลอดการทำ fMRI และบางครั้งคุณอาจจะต้องมีการกลั้นหายใจในช่วงเวลาหนึ่งขณะทำ

โดยปกติแล้วการทำ fMRI ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่อาจรู้สึกไม่สบายตัวจากการต้องนอนอยู่นิ่ง ๆ ได้ และสายให้สารทึบรังสีจะถูกนำออกเมื่อทำ fMRI เสร็จ

ก่อนการทำ fMRI

ก่อนการทำ fMRI คุณควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพส่วนตัวที่รุนแรง เช่น โรคไตวาย รวมถึงประวัติการผ่าตัดก่อนหน้า และโอกาสในการตั้งครรภ์ขณะเข้ารับการทำ fMRI และคุณจำเป็นต้องถอดเครื่องประดับและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเหล็กออกทั้งหมดก่อนการทำ fMRI และแจ้งแพทย์หรือรังสีแพทย์ก่อนการทำหากคุณมีเหล็ก หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์อยู่ในร่างกาย  

หลังการทำ fMRI

คุณสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ทันทีหลังการทำ fMRI ยกเว้นแพทย์แจ้ง ซึ่งในบางกรณี ผู้ป่วยอาจมีผลข้างเคียงจากการฉีดสารทึบรังสี เช่น คลื่นไส้ ปวด หรืออาการแพ้ได้ หากมีอาการผิดปกติควรรีบแจ้งแพทย์ทันที



4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
PascalWallisch, Functional Magnetic Resonance Imaging (https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780123838360000242).
Juri D.Kropotov, Functional Magnetic Resonance Imaging (https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780124105133000036), .

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคืออะไร?

อ่านเพิ่ม