การทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุสร้างภาพของอวัยวะภายในร่างกาย เพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นอันตรายหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ การตรวจนี้ไม่ใช่หัตถการที่เป้นอันตราย และไม่ได้มีการใช้รังสีเอกซ์แต่อย่างใด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เตรียมตัวอย่างไรก่อนการมาตรวจ MRI
ก่อนการตรวจ MRI ควรเตรียมตัวดังต่อไปนี้
- รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้ตามปกติ หรืออาจต้องงดน้ำงดอาหารก่อนการตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ขึ้นอยู่ประเภทของการตรวจ
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่มีเหล็กหรือซิป และควรสวมเสื้อผ่าหน้าแบบกระดุม เผื่อต้องมีการเปลี่ยนชุดก่อนตรวจ
- ถอดเครื่องประดับออกทั้งหมด โดยเฉพาะตุ้มหูเหล็ก
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระเป๋าเสื้อและกางเกงไม่มีสิ่งของใดๆ และอย่าลืมถอดกิ๊บติดผมทั้งหมดออกจากผม
- แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการกลัวที่แคบ เนื่องจากแพทย์อาจพิจารณาให้ยานอนหลับเพื่อช่วยให้สามารถเข้ารับการตรวจได้
- แพทย์อาจฉีดสารทึบรังสีเข้าทางเส้นเลือดดำ เพื่อให้สามารถเห็นภาพจากการตรวจได้ชัดเจนมากขึ้น เพราะฉะนั้นอย่าลืมแจ้งแพทย์ หากมีอาการแพ้ต่อสารทึบรังสีใดๆ หรือหากมีโรคเกี่ยวกับไตและตับ
- แจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีวัสดุที่ทำจากเหล็กอยู่ภายในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ สะเก็ดระเบิด เหล็ก และวัสดุเทียมต่างๆ
ขั้นตอนการตรวจ MRI
ส่วนใหญ๋แล้วห้องตรวจ MRI มักจะมีอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้เครื่องกำเนิดแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม ระหว่างการตรวจ MRI ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องนอนนิ่งๆ อยู่บนโต๊ะแคบๆ ภายในอุโมงค์ขนาดใหญ่ ในขณะที่เจ้าหน้าที่เทคนิคจะทำการเดินเครื่อง MRI จากห้องที่อยู่ใกล้เคียง ระหว่างนี้ผู้เข้ารับการตรวจสามารถพูดคุยได้ผ่านทางไมโครโฟน ซึ่งบางคนอาจจะได้รับที่อุดหูเพื่อช่วยลดเสียงการทำงานของเครื่องที่ค่อนข้างดัง การตรวจนี้มักใช้เวลาระหว่าง 45-90 นาที
ระหว่างการตรวจ สนามแม่เหล็กของเครื่อง MRI จะผลักให้อนุภาคโปรตอนภายในไฮโดรเจนภายในร่างกายมาเรียงตัวกัน ก่อนที่จะปล่อยคลื่นวิทยุออกมาทำให้โปรตอนเหล่านั้นหลุดออกจากแถว และเมื่อปิดคลื่นวิทยุลง โปรตอนก็จะกลับมาเรียงแถวเหมือนเดิมพร้อมกับส่งสัญญาณเป็นคลื่นวิทยุออกมา คลื่นเหล่านี้จะถูกส่งไปยังตัวรับ ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะการสร้างภาพของเนื้อเยื่อภายในร่างกาย ภาพที่เกิดจาก MRI อาจจะเป็นทั้งภาพตัดขวางเป็นส่วนๆ หรือเป็นภาพ 3 มิติก็ได้
ใครบ้างที่จำเป็นต้องตรวจ MRI ?
ผู้ที่จะต้องเข้ารับการตรวจ MRI มักจะเป็นผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้
- มีเนื้องอกหรือความผิดปกติภายในตับ ตับอ่อน ม้าม ไต มดลูกและรังไข่ในผู้หญิง หรือต่อมลูกหมากและอัณฑะในผู้ชาย
- หลอดเลือดโป่งพอง เส้นเลือดสมองตีบ ไขสันหลังถูกทำลาย หรือความผิดปกติเกี่ยวกับตาและหูชั้นใน
- ความผิดปกติเกี่ยวกับข้อ เช่น ข้ออักเสบ การติดเชื้อที่กระดูก ปัญหาเกี่ยวกับข้อที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือการทำลายตัวเองซ้ำๆ หรือความผิดปกติของหมอนรองกระดูกที่กระดูกสันหลัง
- สุขภาพของหัวใจ ตั้งแต่ขนาด การทำงานของห้องหัวใจแต่ละห้อง การอักเสบหรือการอุดตันภายในเส้นเลือดหัวใจ หรือเพื่อประเมินการทำลายที่เกิดขึ้นภายหลังจากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหัวใจ