หัวแม่เท้าเอียง (Bunion หรือ Hallux Valugus) เป็นความผิดปกติของนิ้วหัวแม่เท้าที่มีการเคลื่อนและชี้เข้าหานิ้วเท้านิ้วที่ 2 ทำให้เกิดรอยนูนออกมาทางขอบนอกของหัวแม่เท้า
อาการของหัวแม่เท้าเอียง
ผู้ที่มีหัวแม่เท้าเอียง มักจะพบอาการดังต่อไปนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ปวดที่ข้อนิ้วหัวแม่เท้า และปวดมากขึ้นหากใส่รองเท้าคับ
- มีปัญหาในการเดิน
- มีการอักเสบของผิวหนังบริเวณขอบนอกของหัวแม่เท้า
- นิ้วหัวแม่เท้าชา
- รู้สึกแสบร้อนบริเวณหัวแม่เท้า
- มีตาปลาเกิดขึ้นบริเวณที่นิ้วเท้าเสียดสีกัน
ในช่วงเริ่มแรก หัวแม่เท้าจะมีอาการเอียงเพียงเล็กน้อย และจะเอียงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นิ้วหัวแม่เท้าอาจอยู่เหนือ หรือใต้ข้อต่อนิ้วเท้านิ้วที่ 2 ได้ และอาจดันให้นิ้วที่ 2 ไปติดกับนิ้วที่ 3 ด้วย
ในกรณีที่อาการรุนแรงมากขึ้น อาจพบภาวะแทรกซ้อนดังนี้
- การอักเสบของถุงน้ำในข้อ ทำให้นิ้วหัวแม่เท้ามีการอักเสบ และเจ็บ
- นิ้วเท้าแฮมเบอร์ (Hammer toe) เป็นความผิดปกติที่ข้อของนิ้วหัวแม่เท้ามีการโค้งขึ้น
- เจ็บเท้าส่วนหน้า (Metatarsalgia) มีการอักเสบบริเวณฐานของเท้า
สาเหตุของการมีหัวแม่เท้าเอียง
หัวแม่เท้าเอียงเกิดจากแรงกดที่กระทำต่อบริเวณข้อนิ้วหัวแม่เท้า ทำให้การลงน้ำหนักของกล้ามเนื้อและข้อต่อไม่เท่ากัน
สาเหตุอื่นๆ ที่อาจส่งผลให้หัวแม่เท้าเอียง มีดังนี้
- เท้าแบน และข้อหรือกล้ามเนื้อหลวม
- โรคเกาต์ (Gout)
- โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ หรือข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน
- โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบางชนิด เช่น มาร์แฟนซินโดรม (Marfan syndrome) เอห์เลอร์ดันลอสซินโดรม (Ehlers-Danlos syndrome) และดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
- การบาดเจ็บที่เท้า
- โรคทางระบบประสาท และกล้ามเนื้อบางชนิด เช่น สมองพิการ (Cerebral palsy) และโรคในระบบประสาท Charcot-Marie-Tooth
การรักษาอาการหัวแม่เท้าเอียง
การรักษาขั้นแรกของภาวะนี้ คือการรักษาแบบประคับประคอง และเน้นเรื่องการลดอาการ เช่น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- การใส่รองเท้าหัวกว้าง เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับนิ้วเท้า
- ใส่ที่คั่นนิ้วเท้า (Toe spacers) หรืออุปกรณ์ดัดนิ้วเท้า (Bunion splints)
- ใส่แผ่นรองรองเท้าหรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อช่วยกระจายน้ำหนักให้เท่ากันระหว่างการเดิน
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้มีอาการปวด เช่น การเล่นกีฬา
- ประคบร้อนหรือประคบเย็น หรือรับประทานยาในกลุ่ม NSAID เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือนาพรอกเซน (Naproxen) เมื่อมีอาการระคาย หรือเจ็บที่หัวแม่เท้า
- ฉีดยาสเตียรอยด์
หากยังคงมีอาการปวด และเดินลำบากหลังจากการรักษาแบบประคับประคอง อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
ในกลุ่มที่มีความผิดปกติไม่มาก แพทย์อาจทำการผ่าตัดแบบ Bunionectomy ซึ่งจะเป็นการตัดกระดูกส่วนเกินบริเวณด้านนอกของหัวแม่เท้าออก พร้อมกับจัดกล้ามเนื้อเส้นเอ็นและเอ็นยึดกระดูกของหัวแม่เท้าให้เข้าที่
หากมีความผิดปกติอยู่ในระดับปานกลาง แพทย์จะทำการตัดกระดูกที่ใกล้ข้อต่อกระดูกนิ้วเท้าออกด้วย เพื่อจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ก่อนจะยึดกระดูกด้วยสกรู หรือเหล็กดามระหว่างรอให้หายดี
สำหรับกลุ่มที่มีความผิดปกติรุนแรง แพทย์จะตัดกระดูกส่วนเกินด้านนอกของนิ้วหัวแม่เท้าก่อน แล้วจึงตัดกระดูกโดยรอบของฐานกระดูกนิ้วเท้าชิ้นที่ 1 ออก ก่อนจะทำการจัดตำแหน่งกระดูกนิ้วเท้าใหม่และยึดด้วยสกรูหรือเหล็กดามก่อนแก้ไขกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเอ็นยึดข้อ
อาการหัวแม่เท้าเอียงสามารถรักษาให้หายขาด และป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงจนถึงขั้นต้องผ่าตัดรักษาได้ หากเริ่มมีอาการดังที่กล่าวไปในข้างต้น แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะดีกว่า
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจกระดูก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ