กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยากลุ่ม NSAIDs ออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ จัดเป็นยาอันตรายที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น
  • ยาไอบูโฟรเฟนมี 3 รูปแบบคือ ยาน้ำ ประกอบด้วยตัวยาไอบูโพรเฟน 100 มิลลิกรัมในยา 5 มิลลิลิตร ยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม และ 400 มิลลิกรัม และยาทาภายนอก
  • ปริมาณยาที่ผู้ป่วยต้องรับประทาน จะแตกต่างกันไปตามอาการป่วยที่เกิดขึ้น และอายุของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยที่ต้องระมัดระวังการใช้ยาไอบูโพรเฟน ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ โรคตับ โรคหอบหืด และผู้แพ้ยาแอสไพริน
  • การใช้ยาไอบูโพรเฟนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน บวมน้ำ มีผื่นขึ้น และอาจร้ายแรงถึงขั้นเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ดีซ่าน หรือหัวใจวายได้
  • ถึงแม้จะรู้ข้อบ่งใช้ หรือกลไกการออกฤทธิ์ของยาชนิดต่างๆ แล้ว ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสม ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจเกิดการใช้ยาผิดโรคได้ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) เป็นยาในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดบวม 

ยา Ibuprofen ใช้รักษาอาการปวดจากโรคหลายชนิด เช่น ปวดหัว ปวดฟัน ปวดท้องประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ หรือโรคข้ออักเสบ อาการปวดจากไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตัวอย่างยี่ห้อยา Ibuprofen ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Ambufen, Borafen, Coprofen, G-Fen Syrup, G-Fen Tablet, Gofen 400 Clearcap, Heidi, Ibrofen, Ibuprofen, I-Profen, Mano-Bruzone, Nurofen, P-Fen, Rheumanox, Spedifen, Tonifen, Anufen, Aprofen, Brufen, Brufenin, Brugin, Bruprin, Brusil, Buflex, Bumed S/C, Bunofen, Cefen, Cenbufen, Duran, Eufen, Fafen, Greatofen, I Fen, Ibufex Paediatric, Ibukids, Ibulan, Ibulium, Ibuman, Ibumax, Ibupac, Junimol, Pippen, Probufen, Profen K.B., Profeno, Rabufen, Ruprofen, Schufen, Sifen 400, Sinprofen, Suphen, Tofen, Trofen, Tyhofen   

รูปแบบ และส่วนประกอบของยา Ibuprofen

ยา Ibuprofen มีจำหน่ายหลายรูปแบบ เช่น

  • ยารับประทานชนิดเม็ด ประกอบด้วย Ibuprofen ขนาด 200 หรือขนาด 400 มิลลิกรัม 
  • ยาน้ำ ประกอบด้วย Ibuprofen ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม ในยา 5 มิลลิตร 
  • ยาทาภายนอก ในรูปแบบครีม เจล และสเปรย์

กลไกการออกฤทธิ์ยา Ibuprofen

ยา Ibuprofen ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดินส์ (Prostaglandins) ในเนื้อเยื่อของร่างกาย และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนส 1 และ 2 (Cyclooxygenase: COX-1 และ COX-2) จึงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และลดไข้

ข้อบ่งใช้การใช้ยา Ibuprofen

ยา Ibuprofen ชนิดยาเม็ดรับประทาน 

ควรรับประทานยาพร้อมกับมื้ออาหาร หรือหลังอาหาร เนื่องจากยาอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้

ข้อบ่งใช้สำหรับลดไข้ 

ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 200-400 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 1200 มิลลิกรัม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 6 เดือน – 12 ปี ขนาด 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน

ข้อบ่งใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง

ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 200-400 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 1,200 มิลลิกรัม 

ขนาดการใช้ยาในเด็ก 4-10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ทุก 6-8 ชั่วโมง

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาข้อเสื่อม ข้ออักเสบรูมาตอยด์

ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 400-800 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 3,200 มิลลิกรัม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการปวดประจำเดือน 

ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 200-400 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 1,200 มิลลิกรัม

ยา Ibuprofen ชนิดยาทาภายนอก 

มีข้อบ่งใช้ คือ บรรเทาอาการปวด และอาการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ และข้อ 

ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ใช้ยาทาภายนอกความเข้มข้น 5% หรือ 10% ชนิดเจล ทาบริเวณที่มีอาการ

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Ibuprofen

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่ต้องรับประทาน หากปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ จำนวน 1 เม็ด โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน 

ในกรณีใกล้ถึงเวลารับประทานมื้อถัดไปแล้ว ให้รับประทานยามื้อถัดไป โดยข้ามมื้อที่ลืม ไม่ต้องเพิ่มขนาดยา

ข้อควรระวังของการใช้ยา Ibuprofen

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ แพ้ยาแอสไพริน (Aspirin) หรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีอาการปวดระหว่างผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG)
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคหอบหืด
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเลือดออกในทางเดินอาหาร
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยทารกที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออก
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยทารกที่มีสารบิลิรูบินสูง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Ibuprofen

ยา Ibuprofen อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการเลือดออก มึนงง ปวดศีรษะ ตื่นตัวผิดปกติ ปวดท้อง แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ ลดความอยากอาหาร ท้องผูก ท้องเสีย กลืนลำบาก อาเจียน บวมน้ำ ผื่นแดง หากอาการไม่ดีขึ้น หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์ 

ส่วนผลข้างเคียงรุนแรง ได้แก่ ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารรุนแรง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย แผลในกระเพาะอาหาร ดีซ่าน ตับอักเสบ หากมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ทันที

ข้อมูลการใช้ยา Ibuprofen ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

ยา Ibuprofen จัดอยู่ในกลุ่มยาประเภท C และ D คือควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร (โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หรือช่วงใกล้คลอด)

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยานี้จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Ibuprofen

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส และเก็บยาให้พ้นจากแสงแดด

ยา Ibuprofen เป็นยาอันตรายที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจเกิดการใช้ยาผิดโรคได้ อย่างไรก็ตาม หากหลังจากรับประทานยา อาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสม 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
University of Illinois-Chicago, Ibuprofen (Advil) Side Effects: What You Need to Know (https://www.healthline.com/health/pain-relief/ibuprofen-advil-side-effects), March 7, 2019
Yvette Brazier, What to know about ibuprofen? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/161071.php), June 21, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)