9 สาเหตุของอาการปวดฟัน

"รู้" เพื่อแก้ไขอาการสุดทรมานที่ทำให้กินอาหารไม่อร่อย นอนไม่หลับ และทำลายสมาธิในการทำงาน หรือการเรียนมาแล้ว
เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
9 สาเหตุของอาการปวดฟัน

อาการปวดฟัน ถือเป็นปัญหาทางทันตกรรมที่พบได้มากที่สุดทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหานี้ มีสถิติที่น่าสนใจว่า หากมีคนไปพบทันตแพทย์ด้วยอาการปวดฟัน 10 คน จะพบว่า ในจำนวนนี้มี 9 คนเป็นโรคฟันผุ

8 สาเหตุของอาการปวดฟัน

1. ฟันผุ

ฟันผุเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดฟัน ซึ่งแม้เพียงเล็กน้อยก็ส่งผลกระทบต่อเคลือบฟันแล้วเพียงแต่ยังไม่รู้สึกเจ็บปวด จะรู้สึกเจ็บปวดก็ต่อเมื่ออาการฟันผุมีความรุนแรงผ่านชั้นเคลือบฟันไปถึงเนื้อฟัน ซึ่งเป็นส่วนที่มีความอ่อนไหวอย่างมาก นอกจากนี้ในช่วงท้ายๆ ของฟันผุ หลุมฟันผุจะค่อนข้างลึกไปสู่โพรงประสาทฟันทำให้เกิดอาการปวดอย่างฉับพลัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้การติดเชื้อจากอาการฟันผุยังอาจทำให้เนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟันตายและเป็นสาเหตุของการเป็นหนองบริเวณปลายรากฟันได้  

2. โรคปริทันต์

พวกเราทราบดีว่า โรคปริทันต์ (โรคที่มีการทำลายอวัยวะรอบตัวฟัน) เป็นสาเหตุของเหงือกบวม เลือดออกตามไรฟัน แต่โรคปริทันต์ระยะรุนแรงสามารถทำให้เกิดอาการปวดฟันได้ โดยการติดเชื้อของเหงือกจะเกิดการอักเสบ บวม และส่งผลให้สูญเสียกระดูกเบ้าฟัน ซึ่งทำให้เจ็บปวดได้ รวมทั้งหากมีการติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้เกิดหนองในเหงือกได้

3. การหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ

อาจเป็นสาเหตุของรอยร้าวและฟันหัก ซึ่งคุณอาจทราบหรือไม่ทราบในเวลานั้น  อย่างไรก็ตาม ถือเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดฟันขั้นรุนแรง เมื่อรอยแตกวิ่งผ่านบริเวณเนื้อฟันซึ่งมีเส้นประสาทอยู่ ถึงแม้รอยแตกจะไม่ลึกแต่คราบสกปรกและแบคทีเรียก็สามารถสะสมในรอยแตกและเป็นสาเหตุของฟันผุได้

4. ฟันมีรอยแตก

บางครั้งคุณอาจจะมีประสบการณ์ปวดฟัน แต่ไม่มีสัญญาณของรอยฟันที่แตกออกและไม่ได้เป็นผลมาจากอาการฟันผุ หรือโรคเหงือก นี่อาจจะเป็นรอยแตกซึ่งมีขนาดเล็กมากจะเห็นได้เมื่อผ่านการเอกซเรย์เท่านั้น อาการนี้เรียกว่า "ฟันร้าว" ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากอุปนิสัยที่ไม่ดี เช่น การกัดฟัน ความอ่อนแอของฟันซึ่งเป็นผลมาจากการอุดฟัน ฯลฯ ในบางครั้งในการรักษาฟันที่เป็นหลุมก็อาจทำให้ฟันร้าวอันเนื่องมาจากแรงดันได้ โดยคุณจะรู้สึกเจ็บปวดมากเมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร

5. การกัดฟัน

การกัดฟัน สามารถทำให้ฟันฉีก หรือบิ่น เมื่อกัดฟันแรงๆ เนื้อเยื่อที่คอยพยุงฟันก็จะเจ็บปวด บางครั้งไม่เพียงแค่ฟันแต่อาจปวดถึงขากรรไกรและกล้ามเนื้อได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

6. การแปรงฟันไม่ถูกวิธี

การแปรงฟันไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้เหงือกร่นและทำให้รากฟันเผยออกมาทำให้เกิดการเสียวฟันได้ อาการเสียวฟันคืออาการไวต่ออาหารร้อนและเย็น ส่วนเครื่องดื่ม หรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดก็จะส่งผลต่อการกัดกร่อนและทำให้เกิดอาการเสียวฟันมากขึ้น ในบางรายอาจจะพบการสึกของตัวฟันได้อีกด้วย

7. ฟันคุด

เป็นฟันที่ไม่สามารถขึ้นทะลุเหงือกออกมาได้  เมื่อฟันคุดพยายามงอกออกแต่พื้นที่เหงือกไม่เพียงพอ ฟันคุดจึงเพิ่มแรงดันให้กับฟันที่อยู่ติดกันทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ ส่วนฟันคุดที่งอกออกได้บางส่วนก็ทำให้ยากที่จะทำความสะอาด เมื่อแบคทีเรียที่มากับอาหารสะสมใต้เนื้อเยื่อในบริเวณนั้นจะนำไปสู่การอักเสบของเหงือกรอบฟันคุด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการบวมแดงของเหงือก และเกิดความเจ็บปวดบริเวณกว้าง หากไม่ได้รับการรักษาจะนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงและนำไปสู่อาการเจ็บปวดที่รุนแรง

8. การจัดฟัน

การจัดฟันก็เป็นสาเหตุการปวดฟันที่พบได้บ่อยที่เกิดในช่วงสั้นๆ เมื่อทันตแพทย์ปรับเครื่องมือจัดฟันทำให้ฟันเคลื่อนที่ 

9. สภาวะทางร่างกายอื่นๆ

อาการปวดฟันบางครั้งก็ไม่ได้มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับฟันหรือขากรรไกรเลย แต่อาจเป็นสภาวะบางอย่างของร่างกายที่ส่งผลให้เกิดการปวดฟัน เช่น การติดเชื้อของไซนัส แรงดันจากไซนัสอาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณหลังฟันด้านบนสืบเนื่องมาจากความใกล้ชิดกับฟัน 

ในบางกรณีที่พบได้ยาก เช่น อาการปวดฟัน หรือปวดขากรรไกร อาจเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ อาการปวดฟันอาจมาจากโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า ซึ่งอาจปวดเป็น พักๆ และอาจปวดอย่างรุนแรงบริเวณใบหน้า

อาการปวดฟันสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากลายสาเหตุ ที่สำคัญยังสร้างความทรมานและรบกวนคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ได้ ทางที่ดีหากปวดฟัน อย่านิ่งนอนใจหรือเพียงแค่รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ แต่ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย นำไปสู่การรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงทีต่อไป 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย, ความรู้เรื่องจัดฟันสำหรับประชาชน (http://www.thaiortho.org/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB/)
Zakrzewska JM FACIAL PAIN: NEUROLOGICAL AND NON-NEUROLOGICAL Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry 2002;72:ii27-ii32.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม
โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) คืออะไร ?
โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) คืออะไร ?

เรียนรู้ว่าโรคเหงือกอักเสบคืออะไร และจะรักษาหรือป้องกันได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม
อาการของฟันผุ
อาการของฟันผุ

จะรู้ได้อย่างไรว่าฟันผุ อ่านเลย

อ่านเพิ่ม