การเลือกแปรงสีฟันและยาสีฟันที่เหมาะสมสำหรับคนที่มีอาการเสียวฟัน

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การเลือกแปรงสีฟันและยาสีฟันที่เหมาะสมสำหรับคนที่มีอาการเสียวฟัน

คู่มือสำหรับการเลือกแปรงสีฟันและยาสีฟันที่เหมาะสมสำหรับคนที่มีอาการเสียวฟัน การดูแลฟันที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเสียวฟัน การเลือกแปรงสีฟันและยาสีฟันที่เหมาะสมจะช่วยลดอาการเสียวฟันได้ในระยะยาว

แปรงสีฟันที่เหมาะสม

ฟันถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่มีโครงสร้างแข็งแรง แต่ก็อาจเสียหายได้ การเลือกแปรงสีฟันที่ผิดอาจทำให้ฟันเสียหายได้ คุณอาจละเลยเมื่อถึงเวลาในการเลือกแปรงสีฟัน มีแปรงสีฟันอยู่มากมายในท้องตลาด แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าแปรงอันไหนคือแปรงสีฟันที่เหมาะสม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • หลีกเลี่ยงการใช้แปรงเส้นแข็ง การแปรงฟันแรงๆด้วยแปรงที่แข็งอาจทำให้เคลือบฟันฉีกขาดและทำให้เหงือกร่น
  • การใช้แปรงขนอ่อน แปรงขนอ่อนจะไม่ระคายเคืองต่อเหงือกและรากฟัน โดยที่ยังคงประสิทธิภาพในการขจัดสิ่งสกปรกออกจากซอกฟัน และช่วยในการปกป้องเคลือบฟันได้เป็นอย่างดี
  • ขนแปรงบนแปรงสีฟันจะต้องเป็นรูปวงรี
  • ควรเลือกขนาดแปรงสีฟันที่เหมาะสมกับขนาดของช่องปากและฟัน
  • แปรงสีฟันที่ดีกว่าแปรงรูปแบบเดิมๆเช่น แปรงสีฟันด้วนคลื่นเหนือเสียง, แปรงสีฟันไฟฟ้า และอื่นๆ
  • แปรงสีฟันที่ชำรุด นอกจากจะทำความสะอาดฟันได้อย่างไม่ดีแล้ว อาจส่งผลเสียต่อเหงือกอีกด้วย ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุกๆ2-3 เดือน หรือควรเปลี่ยนทันทีเมื่อเส้นแปรงหมดสภาพ

ยาสีฟันที่เหมาะสม

การใช้ยาสีฟันแบบอ่อนโยนที่ใช้สำหรับฟันที่มีอาการเสียว ยาสีฟันเหล่านี้ช่วยลดอาการเสียวฟัน อีกทั้งมีฟลูออไลด์ที่ช่วยในการลดฟันผุ ยาสีฟันที่ช่วยในการลดอาการเสียวฟันทำงานโดยการอุดเนื้อฟันหรือลดอาการเสียวฟัน/การบล๊อกเส้นประสาท

  • การใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์แบบอ่อนโยน ฟลูออไรด์จะช่วยในการยับยั้งเส้นเลือดฝอยในฟัน ดังนั้นเส้นประสาทจะไม่ได้รับการกระตุ้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้เบกกิ้งโซดาหรือยาสีฟันแบบผง ซึ่งอาจส่งผลให้ฟันได้รับอันตรายเนื่องจากยาสีฟันแบบผงอาจทำให้เคลือบฟันถูกทำลายได้โดยตรง
  • ยาสีฟันที่มีโปแตสเซียมจะช่วยในการลดอาการเสียวฟัน โดยการบล็อกเส้นประสาทห้ามบ้วนปากหลังจากการแปรงฟันอย่างน้อย 30 นาที เนื่องด้วยการบ้วนปากอาจทำให้ประสิทธิภาพลดลง
  • ยาสีฟันที่มีอาร์จีนีน และแคลเซียมคาร์บอเนต ได้ถูกพิสูจน์ว่าช่วยในการลดอาการเสียวฟันโดยการนำยาสีฟันนวดลงไปโดยตรงบนฟันที่มีอาการเสียว โดยสามารถลดอาการเสียวฟันได้ในทันที
  • ยาสีฟันที่มีเคซีนฟอสโฟเปปไทด์-อาร์มอฟัดแคลเซียมฟอสเฟต (CPP-ACP) ช่วยลดการสูญเสียแร่ธาตุและช่วยในการสะสมแร่ธาตุให้กับฟัน

เคล็ดลับอย่างง่าย

ภายหลังจากที่คุณรับประทานหรือดื่ม อาหารที่เป็นกรด กรดจะทำให้เคลือบฟันอ่อนแอลง การแปรงฟันโดยทันทีภายหลังจากรับประทานหรือดื่มอาหาร อาจเพิ่มโอกาสให้ฟันเกิดการกัดกร่อน เราควรที่จะรออย่างน้อย 30 นาที ภายหลังอาหารเพื่อที่จะแปรงฟัน เพื่อรอเวลาให้น้ำลายในช่องปากทำให้กรดเป็นกลาง


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sensitive Teeth: Causes, Symptoms, Treatments, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/sensitive-teeth#1)
Home remedies for sensitive teeth plus causes and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324731)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม
ความรู้เรื่องโรคปริทันต์ฉบับสมบูรณ์
ความรู้เรื่องโรคปริทันต์ฉบับสมบูรณ์

ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับปริทันต์ ปริทันต์อักเสบ หรือโรครำมะนาด ปัญหาเกี่ยวกับฟันซึ่งพัฒนามาจากโรคเหงือกอักเสบ

อ่านเพิ่ม