โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง3 เท่า แต่สาเหตุของโรคที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคของการอักเสบเรื้อรังที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อหลายข้อต่อ ซึ่งเป็นสภาวะผิดปกติของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มองว่าเยื่อบุบริเวณข้อต่อร่างกายนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงเข้าไปทำลายและพยายามจะกำจัดมัน จนเป็นเหตุให้เกิดอาการปวดและอาการอักเสบเกิดขึ้น ซึ่งมักจะส่งผลกระทบบริเวณข้อเล็ก ๆ ที่มือ และเท้าเป็นอันดับแรก จากการสำรวจของ Arthritis Foundation พบว่า ผู้คนในสหรัฐอเมริกาเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์กว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งโรคดังกล่าวมักพบมากในคนที่มีช่วงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สาเหตุของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
เช่นเดียวกับโรคทางระบบภูมิคุ้มกันอื่น ๆ นักวิจัยยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุนั้นอาจเกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรียที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันไปทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย การสูบบุหรี่และประวัติของคนในครอบครัวที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่และไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ vs โรคข้อเสื่อม (Rheumatoid Arthritis vs. Osteoarthritis)
โรคข้อเสื่อม
อาการข้ออักเสบนั้นมีหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคข้อเสื่อมนั้นเป็น 2 โรคที่พบบ่อยมากที่สุด โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นเกิดจากการที่เยื่อบุข้อต่อเกิดการอักเสบขึ้นและมีการทำลายข้อต่อ แต่ในโรคข้อเสื่อมเกิดจากกระดูกอ่อนที่ปกคลุมบริเวณส่วนท้ายของกระดูกบริเวณข้อต่อมีการเสื่อมสลายจากการใช้งานตามปกติ
อาการและการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
อาการหลักของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ คือ จะมีอาการปวดบวมที่ข้อและมีอาการข้อติดหรือแข็ง
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) มักจะเริ่มเป็นตำแหน่งในส่วนของกระดูกชิ้นเล็กก่อน เช่น มือและข้อมือ ซึ่งอาการดังกล่าวจะเป็นในลักษณะสมมาตรกัน กล่าวคือ มักจะมีอาการควบคู่กันไปทั้ง 2 ด้านของร่างกาย อาการข้ออักเสบ มีดังนี้
- ปวด
- บวม
- ข้อแข็งหรือติด
- แดง
- ผิวหนังร้อนขึ้น
- ข้อผิดรูป
- มีลักษณะเป็นผิวนูนหรือมีก้อน Rheumatoid nodules รอบๆ ข้อ
อาการข้างเคียงของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นสามารถพบได้ทั่วร่างกาย ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจมีอาการข้างเคียงที่เกิดร่วมด้วย เช่น
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- รู้สึกไม่สบายตัว หรือ อ่อนแรงกล้ามเนื้อ
- มีไข้ต่ำๆ
- ความอยากอาหารลดลง
นอกจากนี้ สามารถพบอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่เป็นมากขึ้นแต่พบได้น้อย เช่น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ปวดบริเวณคอ
- ตาแห้ง
- ปากแห้ง
- หายใจเหนื่อย
- เจ็บขณะหายใจ
- มีอาการเจ็บปวด ชา หรือมีความรู้สึกปวดแสบร้อนบริเวณมือและขาทั้ง 2 ข้าง
- น้ำหนักลด
การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นไม่สามารถวินิจฉัยได้โดยการทดสอบเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด และอาจต้องทำการถ่ายภาพทางรังสีเพิ่มเติม เช่น การทำ X-ray, Magnetic Resonance Imagery (MRI) และอื่นๆ การตรวจเลือดเพื่อหาว่าคุณเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือไม่ ประกอบด้วย
- การตรวจค่าวัดการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง Erythrocyte sedimentation rate หรือ ระดับโปรตีน (C-reactive protein) เพื่อตรวจหาภาวะการอักเสบของร่างดาย
- ตรวจหาค่า Rheumatoid factor ซึ่งคือ แอนตีบอดีที่จะมีปริมาณสูงขึ้นในระยะแรกของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่สามารถพบได้ 80% ของผู้ป่วยทั้งหมด
- ตรวจหาแอนติบอดีอื่นๆ
- ปริมาณเม็ดเลือดแดงที่ลดลง
นอกจากนี้ การตรวจภาพทางรังสีวิทยา เช่น การทำ X-ray, MRI หรือ Ultrasound นั้นสามารถบอกถึงภาวะการอักเสบและการถูกทำลายบริเวณข้อได้ แต่จะสามารถพบลักษณะเช่นนี้ได้ในระยะที่โรคดำเนินไปมากหรืออยู่ในระยะท้ายแล้ว
การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถรักษาได้ด้วยยา การผ่าตัด และการทำกายภาพบำบัด
การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถเริ่มจากการใช้ยาลดการอักเสบได้ ซึ่งแพทย์มักจะให้ยาลดการอักเสบ ใน 3 กลุ่มหลัก เพื่อรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ดังนี้
- Disease-modifying anti-rheumatic drugs (DMARDs)
- Corticosteroids
- Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)
DMARDs สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
ยาในกลุ่ม DMARDs แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ในกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้น (Nonbiologic) และในกลุ่มที่ทำมาจากธรรมชาติ (Biologic)
ยาในกลุ่ม Nonbiologic DMARDs สามารถช่วยลดอาการอักเสบของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ไห้ข้อเสื่อมมากขึ้น ซึ่งยาในกลุ่ม DMARDs ที่ใช้บ่อยที่สุด คือ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- Arava (Leflunomide)
- Azulfidine (Sulfasalazine)
- Plaquenil (Hydroxychloroquine)
- Trexall (Methotrexate)
ส่วนยาในกลุ่มของ Biologic DMARDs นั้นจะไปขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบเป็นผลให้เกิดความเสียหายที่ข้อตามมา ซึ่งยาในกลุ่ม Biologic DMARDs มีดังนี้
- Actemra (Tocilizumab)
- Cimzia (Certolizumab)
- Enbrel (Etanercept)
- Humira (Adalimumab)
- Kineret (Anakinra)
- Orencia (Abatacept)
- Remicade (Infliximab)
- Rituxan (Rituximab)
- Simponi (Golimumab)
- Tofacitinib (Xeljanz, Jakvinus)
ซึ่งการใช้ยาในกลุ่ม DMARDs นี้จะเป็นการรักษาที่ใช้ระยะเวลานาน ซึ่งอาจนานเป็นหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนถึงจะเห็นผลชัดเจน ดังนั้น แพทย์อาจให้ใช้ยาชนิดที่สามารถรักษาอาการได้อย่างรวดเร็วและช่วยลดภาวะการอักเสบได้ เช่น ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ และ ยากลุ่ม NSAIDs
Corticosteroids
เพื่อรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยาในกลุ่ม Corticosteroids เช่น Prednisone และ Prednisolone เป็นยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบได้อย่างมาก แต่มักจะมีผลข้างเคียงมากเช่นเดียวกันจึงไม่ใช้รักษาในระยะยาว ยากลุ่ม NSAIDs ที่มีจำหน่ายทั่วไปที่ร้านขายยา เช่น
และในกลุ่ม NSAIDs ที่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ เช่น
- Clinoril (Sulindac)
- Daypro (Oxaprozin)
- Diclofenac (Cataflam, Voltaren, Cambia)
- Diflunisal (Dolobid)
- Feldene (Piroxicam)
- Indocin (Indomethacin)
- Ketoprofen (Orudis, Oruvail)
- Mobic (Meloxicam)
- Tolectin (Tolmetin)
- Trilisate (Choline magnesium trisalicylate)
การทำกายภาพบำบัด
นักกายภาพบำบัดจะสอนวิธีการออกกำลังอย่างถูกต้องเพื่อช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดีมากขึ้นและช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้การทำงานของข้อต่อที่มีปัญหาทำงานได้ดีมากขึ้น ซึ่งการทำกายภาพบำบัดดังกล่าวจะช่วยในการเรียนรู้วิธีที่จะช่วยให้คุณหายจากภาวะเครียดจากความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อ นักกายภาพบำบัดอาจใช้เฝือกอ่อนเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงและลดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อ
การผ่าตัดข้อต่อ
เมื่อมีการทำลายบริเวณข้อต่อ ทางเลือกเดียวที่จะช่วยให้ข้อต่อคุณกลับมาทำงานได้เช่นเดิม คือ การรักษาโดยการผ่าตัด ศัลย์แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อ
- ตัดส่วนของเยื่อบุข้อต่อที่มีการอักเสบบางส่วนหรือตัดออกทั้งหมด (Synovectomy)
- เย็บซ่อมเพื่อทำให้บริเวณเยื่อพังผืด (Fibrous tissue) และเอ็นยึดกล้ามเนื้อและกระดูก (Tendon) ที่หย่อนหรือได้รับความเสียหายนั้นตึงแน่นมากขึ้น
- นำข้อต่อมาเชื่อมกัน (Arthrodesis) เพื่อให้ส่วนที่มีรูปร่างโค้งงอหรือผิดรูปไปกลับมาเรียงตัวปกติและอยู่ในตำแหน่งมั่นคง
- นำข้อเทียม ซึ่งทำมาจากพลาสติก เซรามิก หรือเหล็ก มาใส่แทนบริเวณข้อต่อที่เสียหาย (Arthroplasty)
การรักษาด้วยตนเอง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษาตัวที่บ้านสามารถช่วยลดอาการโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และช่วยให้กลับมาทำงานได้ดีมากขึ้น ซึ่งการรักษาดังกล่าว มีดังนี้
- มีการศึกษาทางแพทย์พบว่าการออกกำลังกายจะช่วยทำให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้นยืดหยุ่นและจะช่วยสร้างกล้ามเนื้อเพื่อช่วยพยุงข้อต่อมากขึ้น
- ประคบเย็นหรือประคบร้อนซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อ
- ทาขี้ผึ้งหรือครีมชนิดร้อนที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาจะช่วยลดอาการปวดลงได้
- เรียนรู้วิธีที่ช่วยให้ผ่อนคลายเพื่อช่วยให้คุณสามารถรับมือกับอาการปวดได้
- หาอุปกรณ์เสริมที่ออกแบบมาเพื่อให้คุณทำกิจวัตรประจำวันได้ง่ายขึ้น เช่น ที่จับส้อม ที่เปิดขวด และที่แกะกระดุมเสื้อ
- เข้าร่วมกิจกรรมสังสรรค์เพื่อให้คุณมีอารมณ์ดี
วิธีการรักษาอื่นๆ
ก่อนทำการรักษาเสริมหรือเลือกวิธีการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติมนั้น ควรที่จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ดีเสียก่อน มีงานวิจัยสำหรับการรักษาทางเลือกอื่นๆ แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าแท้จริงแล้วสามารถรักษาโรคนี้ได้หรือไม่ ซึ่งการรักษาทางเลือกอื่นๆ มีดังนี้
- รับประทานอาหารเสริมซึ่งมีส่วนประกอบเป็นไขมันจากพีช เช่น น้ำมันโบราณ พริมโรส หรือผลแบล็คเคอร์แรนท์
- อาหารเสริมน้ำมันตับปลา
- อาหารเสริมที่มีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรสเผ็ดที่มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบได้
- ธารีบำบัด (Hydrotherapy) คือ การฉีดน้ำแร่
- การฝังเข็ม
- อาหารเสริมชนิดพิเศษ
- การฝึกไท่เก๊
- โยคะ
อาหารสำหรับคนเป็นโรคข้อรูมาตอยด์
การเลือกทานอาหารบางชนิดอาจให้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์เรื่องนี้ก็ตาม
ได้มีการค้นคว้าหาอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ หรือ RA โดยเฉพาะมานานหลายปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไหนที่พิสูจน์ว่ามีอาหารชนิดใดบ้างที่เหมาะสมกับพวกเขา อีกทั้งยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับผลจากการทานอาหารสำหรับคนเป็นโรคข้อรูมาตอยด์(RA) รวมถึงอาการของโรคด้วย ฉะนั้น ก่อนที่คุณจะเลือกทานอาหารที่เชื่อว่าช่วยบรรเทาอาการของข้อรูมาตอยด์ คุณต้องปรึกษากับแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถกินอาหารนั้นได้
การรับประทานอาหารบางประเภทอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคข้อรูมาตอยด์ได้ เช่น:
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา: จากการศึกษาพบว่ากรดไขมันโอเมก้า 3เป็นสารต้านอักเสบ น้ำมันปลามีอยู่ตามธรรมชาติในปลาที่มีไขมันสูง เช่น แซลมอน แม็คเคอเรล และปลาแฮริ่ง
Vegan diet: คนที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์บางคนก็หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำมาจากสัตว์ อย่างเนื้อสัตว์เอง เป็นต้น และผลิตภัณฑ์ใดๆก็ตามที่สัตว์เป็นผู้ผลิต เช่น น้ำผึ้งหรือผลิตภัณฑ์จากนม ผู้ป่วยบางรายบอกว่า อาหารประเภท Vegan diet ช่วยบรรเทาอาการของโรคได้
อาหารปลอดกลูเตน (Gluten-free) นมปลอดแล็กโทส (Lactose-free) หรือการทานอาหารด้วยวิธีตัดออก (Elimination diet): บางคนกล่าวว่า การแยกทานกลุ่มอาหารบางชนิดเหมาะกับพวกเขา นี่แสดงให้เห็นว่า โรคภูมิแพ้และอาการแพ้ทำให้อาการจากข้อรูมาตอยด์แย่ลง
อาหารแบบเมดิเตอเรเนี่ยน (Mediterranean diet): อาหารไฟเบอร์สูงประเภทนี้จะพบมากในอาหารทะเล ผักและถั่วต่างๆ และต้องใช้น้ำมันมะกอกเพื่อให้ไขมัน บางคนบอกว่า การทานอาหารเมดิเตอเรเนียนเป็นประจำจะช่วยควบคุมอาการโรคข้อรูมาตอยด์ได้
การอดอาหาร (Fasting): มีการถกเถียงกันเป็นอย่างมากเกี่ยวกับระยะอาหารที่ปลอดภัยและได้ผล แต่อย่าอดอาหารหรือทานเพียงแค่น้ำผลไม้อย่างเดียวโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อนโดยเด็ดขาด แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆที่ยืนยันว่าอาหารประเภทต่างๆมีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์ แต่สิ่งที่คุณควรทำที่สุดคือทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสมดุลกับร่างกาย เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารและหลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกรรมวิธีต่างๆ การใช้สีย้อมอาหาร หรือใส่สารเติมแต่งใดๆ หากคุณมีปัญหาหรือข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับอาหารการกิน คุณสามารถปรึกษากับนักโภชนาการที่มีใบอนุญาตได้ คุณควรปรึกษากับแพทย์ด้วยว่าควรทานอาหารประเภทไหนบ้างเพื่อให้ปลอดภัยและเหมาะกับคุณ
ภาวะแทรกซ้อน
ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป รวมถึงการไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ภาวะแทรกซ้อน มีดังนี้
- ข้อจะผิดรูปและสูญเสียการทำงาน
- มีอาการปวดเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการชาบริเวณมือและเท้า
- บริเวณเม็ดเลือดแดงลดลง หรือมีภาวะซีด ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเหนื่อยและอ่อนแรงง่ายขึ้น
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ผิวหนังผิดปกติ เช่น มีแผลพุพอง มีผื่น ตุ่มน้ำใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะรอบข้อต่อ
- Sjögren's syndrome โรคโจเกรน คือกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของการผลิตน้ำตาและน้ำลาย ทำให้เกิดอาการตาแห้ง ระคายเคืองตา แสบตา และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- กระดูกอ่อนแรงหรือกระดูกพรุน เมื่อได้รับยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าวมากขึ้น
- หายใจลำบากหรือมีอาการเจ็บขณะหายใจ ซึ่งบ่งบอกถึงภาวะการอักเสบของเยื่อบุของปอด เยื่อหุ้มปอด หรือมีการบวมหรือมีแผลในเนื้อปอด
- อาจมีปัญหาโรคหัวใจ เนื่องจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถก่อพยาธิสภาพที่เยื่อหุ้มหัวใจ หรือเส้นเลือดที่ทำหน้าที่ขนส่งเลือดสู่หัวใจได้ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นจะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดการอุดตันของเส้นเลือดหัวใจมากขึ้น
- กลุ่มอาการ Carpal tunnel syndrome หรือมีอาการบวมบริเวณข้อมือซึ่งทำให้เกิดแรงกดดันบริเวณเส้นประสาทของมือ ทำให้เกิดอาการชาและทำให้การเคลื่อนไหวของมือและนิ้วมือผิดปกติ
- เหงือกบวมและโรคเหงือกหรือโรคปริทันต์
- ไตและตับเสื่อมจากการใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายและเนื้อเยื่อมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงนั้นมีการอักเสบ
- มีปัญหาด้านอารมณ์และความกังวล ซึ่งอาจะเกี่ยวเนื่องจากความเครียดจากการมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังและสูญเสียการทำงานของอวัยวะในร่างกาย
- เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด Non-Hodgkin's lymphoma
- ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูงในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์หรือมีอาการแสดงหลังจากคลอดบุตร
มีอาการตรงโคนนิ้วโป้งมือ เกือบๆข้อมือ บวมปูดขึ้น และปวดมาก เป็นช่วงเวลาใช้งานเมาส์เวลาทำงานกับคอมพิวเตอร์ และส่วนมากจะเป็นตอนกลางคืน ปวดทรมานมาก อยากทราบสาเหตุคะ