เมื่อกล่าวถึงโรคข้ออักเสบคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า โรคข้ออักเสบเป็นโรคของผู้สูงอายุ หรือโรคคนแก่ แต่แท้จริงแล้วข้ออักเสบสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย
อย่างไรก็ตาม โรคข้ออักเสบไม่ใช่โรคใหม่ เนื่องจากมีการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์เก่าแก่อายุหลายร้อยปีที่มีลักษณะของข้ออักเสบอยู่ภายใน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคข้ออักเสบ
คือ ภาวะที่ก่อให้เกิดการอักเสบภายในข้อ มีอาการข้อติด และอาการบวม สามารถเกิดขึ้นได้ในวัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ โดยปกติแล้วลักษณะอาการจะประกอบไปด้วย อาการปวดข้อและอาการข้อติดที่จะทำให้ข้อขยับได้ยากและปวด
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ชาวอเมริกันกว่า 46 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 5 ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคข้ออักเสบ ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบมีจำนวนมากขึ้นจนน่าตกใจ
ปัจจุบันนักวิจัยได้ค้นพบโรคข้ออักเสบรวมกันแล้วมากกว่า 100 โรค และกำลังค้นพบมากขึ้นอย่างต่อเนื่องภาวะต่างๆ ที่ทำให้เกิดไข้และภูมิคุ้มกันบกพร่องนั้นเกี่ยวกับโรคข้ออักเสบมากน้อยเพียงใดก็เป็นที่เข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ
รูปแบบการรักษาใหม่ๆ ในปัจจุบันร่วมกับการออกกำลังกาย การใช้ยาและการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาการและชนิดของโรคข้ออักเสบ
ลักษณะสำคัญของโรคข้ออักเสบคือ อาการปวด อาการข้อติด และอาการบวม ซึ่งต่างก็มีผลต่อการทำงานของข้อ
โรคข้ออักเสบมีได้หลายรูปแบบและการอักเสบของข้อก็มีสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น โรคเกาต์ โรคแพ้ภูมิตนเองลูปัส (โรคพุ่มพวง) หรือโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคข้ออักเสบสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
- โรคข้อเสื่อม หรือโอเอ (Osteoarthritis: OA) เป็นโรคข้อเสื่อมพบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด มักพบในผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุมาจากการลอกหลุดของกระดูกอ่อนผิวข้อออกจากตัวกระดูก โรคข้อเสื่อมนี้พบมากในข้อเข่า ข้อศอก ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลังบริเวณเอว ต้นคอ และข้อมือ
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรืออาร์เอ (Rheumatoid arthritis: RA) เป็นโรคที่เนื้อเยื่อภายในข้อเกิดการอักเสบและระคายเคือง จะทำให้เกิดการทำลายของผิวข้อและทำให้ปวด โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มักเกิดกับข้อเล็ก เช่น ข้อมือ ข้อนิ้วมือ ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มักเป็นผู้หญิงอายุ 30 ถึง 50 ปี อย่างไรก็ตาม โรคนี้ก็ยังสามารถเกิดในเด็กได้
- โรคข้ออักเสบในวัยรุ่น หรือเจเอ (Juvenile arthritis: JA) โรคข้อกลุ่มนี้เป็นชื่อรวมของโรคข้ออักเสบทุกชนิดในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี สาเหตุของข้ออักเสบนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มักเกิดในหญิงมากกว่าชาย โรคข้ออักเสบในวัยรุ่นนั้นพบมากที่ข้อเท้า ข้อเข่า และข้อมือ แต่อาจพบในข้อสะโพก ข้อหัวไหล่ ขอขากรรไกร หรือข้อกระดูกต้นคอได้ ชนิดของโรคข้ออักเสบในวัยรุ่นที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์วัยรุ่น หรือ เจอาร์เอ (juvenile rheumatoidarthritis: JRA) อาจพบได้ในลักษณะการอักเสบหลายข้อ การอักเสบน้อยข้อ (น้อยกว่า 4 ข้อ) หรือการอักเสบทั่วร่างกาย
แนวทางการรักษาโรคข้ออักเสบ
การรักษาโรคข้ออักเสบมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เดิมนิยมรักษาด้วยยาแอสไพริน การใช้ความร้อน การดามข้อที่ปวด และการใช้ผ้าพันข้อที่ปวดเอาไว้แบบนักกีฬา แต่การดามข้อไว้มักทำให้อาการแย่ลงไปอีกเพราะจะทำให้ข้อเหล่านั้นขยับไม่ได้ วิธีที่ถูกต้องคือ เราควรใช้งานมันถ้าไม่อยากเสียมันไป
ทุกวันนี้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยพักข้อ แต่ไม่ใช่หยุดการใช้งานของข้อไปอย่างสิ้นเชิง วิธีนี้จะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
แพทย์ในปัจจุบันจะใช้วิธีการรักษาแบบผสมผสาน ได้แก่
- การออกกำลังกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนสะโพกและเข่า เพื่อช่วยในการรองรับน้ำหนักตัว
- การทำกายภาพบำบัด
- การใช้ยา
- การฉีดยาเข้าข้อ
- การควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากน้ำหนักที่มากมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับโรคข้ออักเสบ การควบคุมน้ำหนักจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดอาการปวด โดยเฉพาะอาการปวดที่เกิดจากโรคข้อเสื่อมโอเอร่วมกับการออกกำลังกล้ามเนื้อส่วนสะโพกและเข่าเพื่อช่วยในการรองรับน้ำหนักตัว
สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นจะใช้การรักษาที่เฉพาะเจาะจงลงไป ปัจจุบันมีการใช้ยาชีวภาพอย่าง ยาฮูมิร่า (Humira: ชื่อสามัญ adalimumab) และยาเอ็นเบรล (Enbrel: ชื่อสามัญ etanercept) ยาใหม่เหล่านี้ถูกใช้ร่วมกับยาเก่าอย่าง ยาเพรดนิโซโลน (prednisone) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าหากคุณและคนที่คุณรักมีอาการปวดข้อและข้อติด อย่าปล่อยให้พวกเขาต้องทุกข์ทรมานกับอาการเหล่านี้ การรักษาที่เหมาะสมจะทำให้อาการของโรคข้ออักเสบเกือบทุกชนิดทุเลาลงเป็นอย่างมาก
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจ รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
มีอาการตรงโคนนิ้วโป้งมือ เกือบๆข้อมือ บวมปูดขึ้น และปวดมาก เป็นช่วงเวลาใช้งานเมาส์เวลาทำงานกับคอมพิวเตอร์ และส่วนมากจะเป็นตอนกลางคืน ปวดทรมานมาก อยากทราบสาเหตุคะ