April 25, 2017 17:18
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
ข้ออักเสบ(Arthritis) เป็นโรคของข้อที่เกิดจากมีการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆของข้อ เช่น เยื่อบุภายในข้อ(Synovial membrane) เอ็นกระดูกและเอ็นกล้ามเนื้อที่ประกอบเป็นข้อ ถุงลดการเสียดสี(Bursa)ที่อยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆรอบๆข้อ ซึ่งการอักเสบที่เกิดขึ้นนี้ โดยทั่วไปจะทำให้เกิดอาการปวดข้อ ที่มักเกิดร่วมกับ ข้อติดขัดไม่สามารถเคลื่อนไหวและใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งข้ออักเสบ มักเป็นโรคเรื้อรัง แต่อาจมีการอักเสบ/มีอาการเป็นๆหายได้
แนวทางการรักษาข้ออักเสบ ได้แก่ การรักษาสาเหตุ และการรักษาตัวข้อที่อักเสบ
ก. การรักษาสาเหตุ: จะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย โดยแตกต่างกันไปตามสาเหตุ เช่น การรักษาโรคออโตอิมมูนเมื่อสาเหตุเกิดจากโรคออโตอิมมูน การ พักใช้ข้ออักเสบที่เกิดจากการใช้งานซ้ำๆ เช่น หยุดเล่นกีฬานั้นๆ เป็นต้น
ข. การรักษาตัวข้อที่อักเสบ: เช่น
-การใช้ยาต่างๆเพื่อลดการอักเสบ และลดอาการปวด เช่น ยาในกลุ่มยาแก้อักเสบ เช่น ยา NSAID ยาในกลุ่ม Corticosteroid
-การใช้ยาแก้ปวด กรณีมีอาการปวดข้อ
-การพักใช้งานข้อนั้นๆ
-การทำกายภาพบำบัดข้อนั้นๆ
-บางครั้งอาจต้องมีการผ่าตัดข้อนั้นๆ(เช่น การผ่าตัดใส่ข้อเทียม การดูดของเหลวออกจากข้อกรณีข้อบวมมากจากมีของเหลวคั่งในข้อ) ถ้าการรักษาทางยา และทางกายภาพบำบัดไม่ได้ผล
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
การรักษาโรคข้ออักเสบเบื้องต้นค่ะ
ในกรณีที่อาการปวดไม่รุนแรง แนะนำให้ผู้ป่วยลดกิจกรรมในชีวิตประจำวันลง พักผ่อนให้มาก ใช้ข้ออย่างระมัดระวัง และรับประทานยาตามกำหนด ร่วมกับการประคบอุ่น ประคบร้อน นอกจากนี้อาจใช้ยาระงับปวดอย่างพาราเซตามอลหรือยาบำรุงกระดูกอ่อน เช่น กลูโคซามีน และคอนโดรอิทีน ร่วมด้วย หากไม่ได้ผลแพทย์อาจสั่งยาแก้อักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์ เช่น แอสไพริน หรือไอบูโปรเฟน แต่แพทย์จะไม่แนะนำให้รับประทานยาแก้อักเสบเป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างแผลในกระเพาะอาหาร หรืออาจมีปัญหาต่อการทำงานของไต
การรักษาเมื่อมีอาการมาก
หากผู้ป่วยมีอาการข้อเสื่อมอย่างรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้รักษาข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัด ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน อาทิ
• การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อ เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็กโดยใช้กล้องขนาดเล็กเข้าไปตรวจสอบพยาธิสภาพของความผิดปกติบริเวณข้อได้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับการผ่าตัดเปิดข้อแบบปกติ บางกรณี แพทย์จะสามารถทำการรักษาความผิดปกติทันที อาทิ ตัดแต่งผิวข้อต่อที่เสื่อม หรือฉีกขาด หยิบเศษกระดูกที่อาจจะลอยอยู่ในข้อ ออกจากบริเวณข้อ
• การผ่าตัดเชื่อมกระดูก เป็นการเชื่อมกระดูกสองท่อนให้เป็นชิ้นเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสี ใช้กับข้อเล็ก ๆ ที่ไม่มีผลต่อการใช้งานมากนัก
• การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก ตัวอย่างเช่น การตัดแต่งแนวกระดูกให้ตรงและอยู่ในแนวใกล้เคียงปกติทำให้สามารถกระจายแรงได้ดีขึ้นเพื่อลดความเจ็บปวดของผู้ป่วย และอาจช่วยไม่ให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเร็วกว่ากำหนด
• การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม เป็นการใส่วัสดุทดแทนข้อที่เสื่อมสภาพซึ่งเป็นวิธีที่แพทย์จะเลือกใช้เป็นวิธีสุดท้าย เฉพาะในกรณีที่ข้อถูกทำลายอย่างมากแล้วเท่านั้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
โรคข้ออักเสบ มีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)