ทำไมอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ถึงแย่ลง?

เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ถึงแย่ลง?

เมื่อคุณเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการของคุณจะขึ้นๆ ลงๆ วันนี้คุณอาจสบายดี แต่เช้าวันถัดไปคุณอาจรู้สึกเจ็บ และมีอาการกำเริบโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะเป็นโรคที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่มีบางกิจกรรม อาหาร หรือสถานการณ์บางอย่างที่อาจกระตุ้นให้อาการแย่ลงได้ค่ะ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

1.ความเครียด

เมื่อคุณเครียด มันไม่ได้ส่งผลต่อศีรษะของคุณเท่านั้น แต่ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมามากขึ้น ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แม้ว่าไม่มีวิธีหลีกเลี่ยงความเครียดได้เสียทีเดียว แต่คุณสามารถป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นโดยวางแผนล่วงหน้า และดูแลตัวเองให้มากขึ้นเมื่อมีเรื่องเครียดๆ ถาโถมเข้ามา นอกจากนี้คุณอาจใช้เทคนิคที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายอย่างการนั่งสมาธิและการสูดหายใจเข้าออกลึกๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2.นอนไม่เพียงพอ

ในขณะที่คุณนอนหลับ กล้ามเนื้อจะซ่อมแซมตัวเอง และสมองของคุณจะผลิตสารเคมีที่ช่วยบรรเทาความปวด ดังนั้นถ้าคุณนอนไม่เพียงพอ มันก็สามารถทำให้เกิดปัญหาไม่สิ้นสุด คุณจะไม่สามารถนอนหลับได้สนิทเพราะมีอาการปวดข้อ และอาการปวดจะแย่ลงเพราะคุณไม่สามารถนอนหลับ หากคุณมีปัญหากับการนอน ให้คุณลองปรึกษาแพทย์ค่ะ

3.อาหารบางชนิด

แม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดยืนยันว่าอาหารมีผลต่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่บางคนที่ป่วยเป็นโรคนี้พบว่าตัวเองมีอาการดีขึ้นหลังจากงดทานอาหารบางชนิด เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เบคอน ข้าวสาลี ข้าวไรย์ นม กาแฟ อาหารแปรรูป หรือฟาสต์ฟู้ด ฯลฯ ถ้าคุณอยากปรับเปลี่ยนอาหาร ให้คุณทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

4.ใช้ร่างกายมากเกินไป

การทำความสะอาดโรงรถ การออกกำลังกายอย่างหนักที่ยิม หรือการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์เข้าอพาทเมนต์ใหม่ ล้วนแต่ทำให้ข้อต่อทำงานหนัก และอาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บในวันถัดมา อย่างไรก็ตาม คุณสามารถป้องกันไม่ให้อาการกำเริบโดยพักในระหว่างทำกิจกรรม หากคุณทำงานที่ต้องใช้ร่างกาย ให้คุณปกป้องข้อต่อโดยถือสิ่งของที่หนักด้วยสองมือ และงอเข่าเสมอเมื่อยกของ

5.ติดเชื้อ

การเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ และการเจ็บป่วยอื่นๆ ก็สามารถทำให้อาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์กำเริบขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การทานยาสามารถช่วยรักษาการติดเชื้อบางประเภทได้ แต่สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้หายจากโรคได้ก็คือ การพักผ่อน ซึ่งคุณสามารถปกป้องตัวเองจากโรคนี้โดยไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคปีละครั้ง

6.มีลูก

มีผู้หญิงเป็นจำนวนมากสังเกตว่าอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ดีขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ แต่สำหรับบางคน อาการของโรคจะกลับมากำเริบหลังจากที่เด็กคลอด ซึ่งสามารถทำให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องที่ยากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ให้คุณลองปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมอาการ และถ้าคุณให้นมลูก ยาที่คุณทานจะต้องปลอดภัยสำหรับทารกด้วยค่ะ

7.สูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มากขึ้น และมันสามารถทำให้อาการของโรคแย่ลงกว่าเดิม ดังนั้นถ้าคุณเป็นโรคนี้และไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ เห็นทีว่าคุณต้องปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้เลิกบุหรี่อย่างถาวร

อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นเรื่องสำคัญ แต่หากอาการยังคงกำเริบ คุณก็อย่าเพิ่งโทษตัวเอง แต่ให้คุณพักผ่อนมากขึ้น ดูแลตัวเอง และไปพบแพทย์ เพราะคุณอาจจำเป็นต้องทานยาเพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนยาจนกว่าอาการจะหายไป

ที่มา:https://www.webmd.com/rheumato...


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Top Ways You Might Worsen Rheumatoid Arthritis Symptoms. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/rheumatoid-arthritis/things-that-make-ra-worse/)
Why does stress cause my rheumatoid arthritis (RA) symptoms to get worse?. WebMD. (https://www.webmd.com/rheumatoid-arthritis/qa/why-does-stress-cause-my-rheumatoid-arthritis-ra-symptoms-to-get-worse)
Why Are My Rheumatoid Arthritis Symptoms Getting Worse?. WebMD. (https://www.webmd.com/rheumatoid-arthritis/why-ra-symptoms-get-worse#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป