ต้องให้นมบ่อยแค่ไหน: ตามที่ลูกร้อง vs. ตามกำหนดเวลา

จะช่วยส่งเสริมให้ทารกมีน้ำหนักที่เหมาะสมและมีน้ำนมเพียงพอต่อความต้องการได้อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ต้องให้นมบ่อยแค่ไหน: ตามที่ลูกร้อง vs. ตามกำหนดเวลา

คำกล่าวในอดีตที่ว่า “อย่าปลุกทารกที่กำลังนอน” อาจเป็นคำแนะนำที่ไม่ดีหากคุณกำลังเป็นคุณแม่มือใหม่ที่กำลังให้นมลูก แม้ว่าการปล่อยในทารกนอนนั้นจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับทารกในอดีต แต่การทิ้งช่วงการดูดนมให้ห่างกันมากเกินไปในช่วงสัปดาห์แรกๆ อาจทำให้น้ำนมลดลงและทำให้ทารกมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็นได้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นผลกระทบที่คุณไม่ต้องการให้เกิดขึ้น

จะต้องให้นมทารกแรกเกิดบ่อยแค่ไหน

ในตอนนี้คุณรู้แล้วว่าคุณอาจจะต้องปลุกทารกมาเพื่อให้ทานนมแต่จะต้องทานบ่อยแค่ไหน?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากคุณคลอดทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่าเกณฑ์ ควรจะต้องให้นมทารกบ่อยขึ้น มีผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการให้นมบุตรหลายคนที่แนะนำให้ให้นมอย่างน้อย 10-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง หรือก็คือทุกๆ 2 ชั่วโมงตลอดวันและไม่ควรห่างกันมากกว่า 4 ชั่วโมงในตอนกลางคืน

การให้นมทารกบ่อยขนาดนี้ไม่ได้เป็นการส่งเสริมความเอาแต่ใจของลูกแต่อย่างใด แม้ว่าในช่วงหลายสัปดาห์แรกและช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกอาจจะชื่นชอบการทำ cluster feeding ซึ่งหมายการให้นมทารกทุกๆ 45 นาที – 1ชั่วโมงติดต่อกันหลายชั่วโมง ให้มองว่าการให้นมรูปแบบนี้เป็นการสะสมเผื่อตอนกลางคืน เพราะนอกจากจะช่วยกระตุ้นการมีน้ำนมแล้วนั้น ยังทำให้ทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและอาจทำให้พวกเขานอนได้นานมากขึ้นอีกด้วย

เมื่อน้ำหนักกลับมาเท่ากับแรกคลอด

เมื่อทารกของคุณมีน้ำหนักเท่ากับช่วงแรกคลอดและเริ่มมีแนวโน้มที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแล้วนั้น (โดยทั่วไปทารกจะมีน้ำหนักลดประมาณ 7% ในช่วงสัปดาห์แรกและมักจะกลับมามีน้ำหนักเท่ากับแรกคลอดภายในปลายสัปดาห์ที่ 2) คุณสามารถผ่อนคลายตัวเองได้มากขึ้น

แทนที่จะต้องให้นมลูกตามตารางเวลา คุณอาจจะเลือกให้นมลูกตามความต้องการได้

สิ่งดีที่ควรระวังก็คือทารกยังคงไม่สามารถแยกกลางวันกับกลางคืนได้ ดังนั้นเธออาจจะนอนนานในช่วงตอนกลางวันและนอนสั้นๆ ในตอนกลางคืน หากคุณต้องการที่จะนอนตอนกลางคืนให้นานขึ้น คุณอาจจะลองปลุกทารกทุกๆ 4 ชั่วโมงในตอนกลางวันและดูว่าทารกต้องการดูดนมหรือไม่

แม้ว่าทารกจะไม่สามารถแยกนอนตามรูปแบบของวัน (นอนมากขึ้นในตอนกลางคืน) จนกว่าจะอายุ 3-5 เดือน แต่การที่กระตุ้นและให้นมทารกบ่อยในตอนกลางวันอาจช่วยให้คุณต้องตื่นขึ้นมาตอนกลางคืนน้อยลงได้

เกี่ยวกับการให้นมตามเวลา

ผู้ปกครองบางคนอาจมีความเห็นว่าเด็กทุกคนควรได้รับการให้นมตามตารางเวลา อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกในปัจจุบันได้แนะนำให้ทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงควรได้รับการดื่มนมเมื่อพวกเขามีอาการที่แสดงว่าหิวมากกว่าการให้ตามเวลา สิ่งที่สำคัญก็คือการแยกอาการของการหิวออกจากอาการหงุดหงิดอื่นๆ ที่ทารกทุกคนต้องเป็น คุณไม่จำเป็นต้องให้นมลูกทุกครั้งที่แกร้องโยเยหรือสะอึก แต่ควรให้นมเมื่อคุณรู้ว่าเธอหิวแน่ๆ ซึ่งการระบุความหิวที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นทางหนึ่งที่ช่วยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจในทารกที่โตขึ้นได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สายสวนวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter: IUPC)
สายสวนวัดความดันในมดลูก (Intrauterine Pressure Catheter: IUPC)

เมื่อกระบวนการคลอดใช้ระยะเวลานาน แพทย์อาจใช้สายสวนวัดความดันในมดลูกเพื่อใช้ติดตามการบีบตัวของมดลูกได้

อ่านเพิ่ม
เทคนิคการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ
เทคนิคการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ

ข้อมูล คำแนะนำทีละขั้นตอน และข้อดีข้อเสีย

อ่านเพิ่ม