มาฝึกให้ลูกน้อยหลับด้วยตัวเองดีกว่าค่ะ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มาฝึกให้ลูกน้อยหลับด้วยตัวเองดีกว่าค่ะ

ถ้าลูกน้อยของเราสามารถนอนหลับได้เองเหมือนผู้ใหญ่ เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนคงจะเบาแรงไปเยอะในการเลี้ยงลูก เพราะการนอนของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนนอนหลับได้ง่าย บางคนกว่าจะให้หลับได้ก็เล่นเอาพ่อแม่หมดแรง แถมเด็กบางคนยังชอบตื่นมากลางดึกร้องไห้จ้า ทำให้พ่อแม่ไม่ได้หลับได้นอนไปด้วย หากเราสามารถทำให้ลูกนอนหลับได้เอง หรือหากตื่นก็ยังสามารถนอนหลับต่อได้เองคงจะดีไม่น้อยนะค่ะ วันนี้เรามีเทคนิคมาแนะนำค่ะ

ให้พาลูกไปยังที่นอน ก่อนที่เขาจะหลับ

หลายๆ ครั้งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ มักจะปล่อยให้ลูกนอนหลับขณะที่ตนกำลังอุ้มลูกอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มพาดบ่า หรืออุ้มแนบอก การที่เด็กหลับขณะที่เราอุ้มอยู่นั้นจะทำให้เด็กติดค่ะ หมายความว่า ต่อจากนี้ไป เด็กจะไม่ยอมนอนจนกว่าเราจะอุ้มแกไว้ค่ะ และเมื่อเราเอาลูกไปวางบนที่นอนหลังจากที่หลับคาอกเราแล้ว เมื่อเด็กตื่นขึ้นมา เด็กจะร้องและไม่สามารถหลับต่อได้เอง เนื่องจากว่าสภาวะก่อนที่เขาจะหลับได้เปลี่ยนไปแล้ว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะพาลูกไปนอนยังที่นอนของเขาก่อนที่เขาจะหลับเสมอค่ะ หากเป็นช่วงที่กินนม แล้วเขาเผลอกินแล้วหลับละก็ ลองอุ้มแกไปที่นอนจากนั้นก็อาจจะกระตุ้นให้แกตื่นด้วยการลูบเบาๆ ที่หัวแม่เท้า หรือจักจี้ที่ฝาเท้าเบาๆ เพื่อเด็กรู้สึกตัวอีกครั้ง จากนั้นคุณค่อยให้แกนอนหลับค่ะ ฝึกแบบนี้บ่อยๆ จะทำให้เด็กชินกับที่นอนมากกว่าการนอนบนอกหรือบ่าของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ หรืออาจจะเลื่อนเวลาในการให้นมให้เร็วขึ้นอีกนิด เพื่อที่เขาจะได้กินนมหมด แล้วยังพอมีเวลาที่คุณจะพาแกไปยังที่นอนค่ะ

ใช้คำเดิมๆ ในการบอกลูกว่าได้เวลานอนแล้วนะ

การพูดกับลูก แม้ว่าลูกจะยังเป็นทารก หรือเด็กที่เริ่มโตแล้วก็ตาม เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้ค่ะ อย่าเพิ่งคิดว่าแกฟังไม่รู้เรื่องนะค่ะ หากคุณพาแกไปยังที่นอนแล้ว คุณควรที่จะใช้คำพูดเดิมๆ ซ้ำๆ ทุกครั้งในการบอกแกว่า ได้เวลานอนแล้ว น้ำเสียงควรจะเป็นโทนต่ำ ราบเรียบนะค่ะ เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กได้เรียนรู้ว่า เมื่อพ่อแม่พูดคำนี้ น้ำเสียงแบบนี้บนที่นอน นี่คือสัญญาณว่าได้เวลานอนแล้ว

ให้ลูกหลับด้วยวิธีเดียวกันเสมอๆ

ไม่ว่าจะเป็นการนอนตอนกลางวัน กลางคืน คุณควรที่จะฝึกให้เขาเรียนรู้ว่า เมื่อคุณปฏิบัติตามเคล็ดลับที่ 1 และ 2 แล้ว นั้นคือเวลาเข้านอนของเขาแล้ว แรกๆ เด็กอาจจะปรับตัวไม่ได้ แต่ว่าเมื่อเวลาผ่านไป เด็กๆ จะสามารถเรียนรู้ได้เองค่ะ คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทนและให้เวลากับลูกให้มากนะค่ะ

พยายามอย่าอุ้มลูกขึ้นมาเมื่อตื่น

หากลูกรู้สึกตัว อาจจะเพราะว่าฉี่หรืออึ หรืออาจจะเพราะได้ยินเสียงดังเลยตกใจตื่น หรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามที่เราเห็นว่าแกยังนอนไม่เต็มอิ่ม คุณไม่ควรที่จะอุ้มแกขึ้นมากล่อมนะค่ะ แค่เพียงพูดคุยในประโยคเดิมๆ ว่าได้เวลานอนแล้ว สัมผัสแกให้รู้ว่าคุณอยู่ข้างๆ และให้แกรู้สึกว่าปลอดภัยค่ะ จะสามารถแก้ไขปัญหาที่ต้องมาคอยอุ้มกล่อมลูกในยามดึกได้ค่ะ

คงสภาวะในห้องนอนของลูกให้เหมือนเดิมมากที่สุด

ก่อนที่เด็กจะนอนหลับไป สภาวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแสง อากาศ เสียง หรืออุณหภูมิในห้อง เด็กๆ ล้วนบันทึกไว้ก่อนหลับแล้วค่ะ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะเปลี่ยนหรือทำให้สภาวะห้องเปลี่ยนไป เพราะเมื่อเด็กตื่นขึ้น หากเขาเห็นว่าห้องไม่เหมือนเดิม เขาจะรู้สึกไม่ปลอดภัย และร้องไห้มากกว่าเดิมค่ะ

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คงจะอยากฝึกให้ลูกนอนหลับด้วยตัวเองแล้วใช่ไหมค่ะ สำหรับบางท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วเราควรจะเริ่มฝึกให้ลูกเริ่มนอนหลับได้ด้วยตัวเองเมื่อลูกอายุเท่าไรดีนั้น จริงๆ แล้วเด็กทารกแรกเกิดเราก็สามารถเริ่มฝึกได้แล้วค่ะ แต่ถ้าลูกไม่สบาย คุณควรที่จะยกเลิกการฝึกชั่วคราว และรอจนกว่าจะหายดี เพราะไม่อย่างนั้นเราคงจะไม่สามารถแยกได้ว่า ที่เด็กร้องไห้นั้นเป็นเพราะว่าเขาไม่สบาย หรือว่าเป็นเพราะว่าเขากำลังปรับตัวกับการฝึกนี้ค่ะ


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sleep Training: What It Is and When to Start. TheBump.com. (https://www.thebump.com/a/how-to-sleep-train)
Teach Your Baby to Sleep (In Just 7 Days). Parents. (https://www.parents.com/baby/sleep/issues/teach-your-baby-to-sleep-in-just-7-days/)
Self Soothing Baby: Techniques for Helping Baby Settle. Healthline. (https://www.healthline.com/health/baby/self-soothing-baby)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
คำแนะนำ 6 ข้อสำหรับการให้ลูกเลิกทานนมแม่
คำแนะนำ 6 ข้อสำหรับการให้ลูกเลิกทานนมแม่

การที่ฉันตั้งเป้าหมายว่าวันนี้จะเป็นวันที่ฉันให้ลูกเลิกดื่มนนมแม่

อ่านเพิ่ม
เทคนิคการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ
เทคนิคการบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ

ข้อมูล คำแนะนำทีละขั้นตอน และข้อดีข้อเสีย

อ่านเพิ่ม