กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วิธีในการวางแผนการคลอด

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิธีในการวางแผนการคลอด

วันที่คุณให้กำเนิดทารก ถือเป็นวันที่มีความสำคัญมากในชีวิตคุณ ดังนั้นการวางแผนการคลอดก่อนหน้านั้น จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าคุณต้องการให้การคลอดออกมารูปแบบไหน และเพื่อให้คนอื่นรู้ด้วยว่าคุณความต้องการของคุณคืออะไรบ้าง ดังนั้นเมื่อถึงวันแห่งการคลอด คุณจะได้มุ่งความสนใจไปที่สิ่งสำคัญที่สุดได้ นั่นก็คือลูกของคุณนั่นเอง

แผนการคลอดคืออะไร?

แผนการคลอดคือเค้าโครงของสิ่งที่คุณชอบหรือต้องการระหว่างการคลอดลูก ตัวอย่างเช่น แผนการคลอดอาจระบุว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • คุณต้องการให้ใครอยู่กับคุณขณะคลอด
  • คุณต้องการยาแก้ปวดหรือไม่ หรือ
  • ระหว่างคลอดคุณต้องการให้แสงไฟไม่สว่างจ้าเกินไป

ในแผนการคลอด คุณสามารถระบุอะไรก็ได้ที่คุณคิดว่ามันจะช่วยให้การคลอดของคุณเป็นไปอย่างง่ายดาย และคุณรู้สึกสบายที่สุด

อย่างไรก็ตามแผนการคลอดที่วางแผนไว้ไม่ได้ถือว่าเป็นแผนตายตัว เพราะคุณจะไม่มีทางคาดการณ์ได้เลยว่าในวันคลอดจริงจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทั้งคุณและแพทย์อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนขณะที่การคลอดเริ่มต้นขึ้น และแนะนำให้พยายามยืดหยุ่นเพราะอาจมีบางสิ่งไม่คาดคิดเกิดขึ้นขณะคลอดได้

ในแผนการคลอดควรประกอบด้วยอะไรบ้าง

แม้ว่าจะมีหลายเรื่องที่อยากใส่ไว้ในแผนการคลอด แต่แนะนำว่าให้พยายามทำให้สั้นที่สุด และทุกคนสามารถอ่านได้ง่าย

ต่อไปนี้คือตัวอย่างข้อมูลที่อาจถูกระบุไว้ในแผนการคลอด

ข้อมูลพื้นฐาน

  • เขียนชื่อ นามสกุลคุณ และแพทย์ที่ดูแลคุณ รวมถึงช่องทางการติดต่อ
  • ชื่อโรงพยาบาลที่วางแผนว่าจะไปคลอด
  • ชื่อบุคคลที่ต้องการให้อยู่ร่วมกับคุณขณะคลอด

บรรยากาศ

ให้คุณลองคิดว่าอะไรที่จะทำให้คุณรู้สึกสบายที่สุดขณะคลอด เช่น

  • ต้องการแสงไฟหรี่ไม่สว่างจ้าเกินไปหรือไม่?
  • คุณต้องการห้องที่เงียบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือ ต้องการเพลงเบาๆ เป็นพิเศษหรือไม่
  • รวมถึงคุณต้องการใครเป็นผู้ช่วยเหลือในการถ่ายภาพหรือถ่ายวีดีโอขณะคลอดหรือไม่

ความต้องการก่อนคลอด

หมายถึงความต้องการใดๆ ที่ต้องการขณะคลอด ตัวอย่างเช่น

  • คุณต้องการเดินไปมารอบๆ ได้โดยอิสระหรือไม่?
  • คุณต้องการอาบน้ำอุ่น หรือแช่อ่างอาบน้ำ?

ยาแก้ปวด

การจัดการกับอาการปวดที่เกิดขึ้นขณะคลอดถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา คุณอาจไม่ได้วางแผนที่จะบล็อกหลังเพื่อลดความรู้สึกปวดมาก่อน แต่คุณสามารถเปลี่ยนแผนได้ทันทีขณะคลอด หรือคุณอาจวางแผนไว้อยู่แล้วว่าคุณจะบล็อกหลังขณะคลอดเพื่อลดความรู้สึกปวด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากคุณได้วางแผนการคลอดไว้แน่ชัดแล้ว ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกในการบรรเทาอาการปวดด้วย รวมถึงถามแพทย์เกี่ยวกับคำถามที่สงสัยด้วย รวมถึงการฝึกลมหายใจหรือการนวด

ความต้องการขณะคลอด

ปัจจุบันมีทางเลือกหลายทางสำหรับการคลอดบุตร

  • ถ้าคุณวางแผนไว้ว่าจะคลอดลูกทางช่องคลอด คุณไม่ต้องการให้แพทย์ตัดฝีเย็บ (ตัดเพื่อขยายปากช่องคลอดในการคลอดลูก) ยกเว้นมีเหตุจำเป็นทางการแพทย์ หรือไม่?
  • คุณต้องการกระจกสำหรับส่องดูทารกขณะคลอดหรือไม่?
  • คุณต้องการให้แฟนคุณเป็นผู้ตัดสายสะดือหรือไม่?
  • คุณต้องการให้วางทารกบนหน้าท้องของคุณทันทีหลังการคลอดหรือไม่?

ถ้าคุณต้องการการผ่าตัดคลอด (C-section) คุณต้องการให้ใครเข้าไปพร้อมคุณในห้องคลอด

การให้นมและการดูแลทารกในโรงพยาบาล

เมื่อคุณคลอดทารกแล้ว คุณจำเป็นต้องคิดเกี่ยวกับการให้นมลูก และการดูแลลูกของคุณ ตัวอย่างเช่น

  • คุณต้องการให้นมลูกทันทีหลังจากคลอดเลยหรือไม่?
  • คุณต้องการใช้ขวดนมสำหรับให้นมทารกหรือไม่ หรือว่าต้องการใช้ทั้งขวดนม ร่วมกับ การให้นมจากเต้านมคุณ?
  • คุณต้องการให้ทารกอยู่กับคุณในห้องพักตลอดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลเลยหรือไม่ หรือต้องการให้อยู่ในความดูแลของห้องเด็กแรกเกิดบ้างบางช่วงเวลา?
  • ถ้าเป็นลูกชาย คุณต้องการให้ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศทารกที่โรงพยาบาลเลยหรือไม่

ใครคือคนที่ควรทบทวนแผนการคลอดของฉัน?

ทบทวนแผนการคลอดของคุณร่วมกับแฟนคุณ และใครก็ตามที่คุณต้องการให้อยู่กับคุณในห้องคลอด และต้องนำแผนการคลอดไปให้แพทย์พิจารณาด้วย เพราะว่าแต่ละโรงพยาบาล หรือห้องคลอดแต่ละที่ จะมีนโยบายเกี่ยวกับการคลอดกำหนดไว้  การทบทวนแผนการคลอดก่อนคลอดจะทำให้รู้ว่ามีอะไรที่ต้องปรับแก้ไขก่อนหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหา ความขัดแย้ง ที่อาจเกิดขึ้น

ฉันควรทำสำเนาเอกสารแผนการคลอดให้ใครบ้าง?

เมื่อคุณวางแผนการคลอดเสร็จแล้ว ให้ทำสำเนาดังนี้

  • 1 ฉบับให้แพทย์ของคุณเก็บไว้กับเวชระเบียนของคุณ
  • 1 ฉบับให้ไว้กับทางโรงพยาบาล หรือศูนย์คลอดบุตร
  • 1 ฉบับให้กับใครก็ตามที่คุณต้องการให้เขาอยู่กับคุณในห้องคลอดด้วย

หากเวลาคลอดมาถึงแล้ว แต่แพทย์ที่ดูแลคุณเป็นประจำไม่ว่าง เช่น ทำคลอดรายอื่นอยู่ แพทย์ท่านอื่นอาจเป็นผู้ทำคลอดให้กับคุณแทน

จริงๆ แล้ว ไม่จำเป็นต้องเขียนแผนการคลอดก็ได้ แต่ว่าสิ่งต่างๆ ที่ต้องการเหล่านี้ คุณต้องมีการปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกทุกอย่างในการคลอดและหารือกับแฟนของคุณในประเด็นดังกล่าวให้เรียบร้อย

https://www.webmd.com/baby/guide/how-to-create-a-birth-plan#1


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Birth plan: Your expectations and preferences. BabyCenter. (https://www.babycenter.com/calculators-birthplan)
The Bump Birth Plan Tool. TheBump.com. (https://www.thebump.com/a/tool-birth-plan)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป