“โมโนนิวคลิโอซิส” (Mononucleosis) หลายคนอาจไม่คุ้นหูกับโรคนี้เท่าไรนัก แต่รู้ไหมว่าเรามีโอกาสเป็นโรคนี้สูงมาก (และคุณอาจเคยเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัว) จากสถิติทั่วโลกพบว่าเด็กอายุ 5 ปี ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ถึง 50% และผู้ที่มีอายุ 25 ปี ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้สูงถึง 90 - 95% ส่วนในไทยพบว่าเด็กอายุ 15 ปีเคยติดเชื้อชนิดนี้มากกว่า 90% ด้วยอัตราการติดเชื้อที่สูงขนาดนี้ เราจึงมองข้ามโรคนี้ไม่ได้แล้ว
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โรคโมโนนิวคลิโอซิสคืออะไร?
โรคโมโนนิวคลิโอซิส หรือ โรคไข้และต่อมน้ำเหลืองโต (Glandular fever หรือ Mono) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์หรืออีบีวี [Epstein-Barr (EBV)] หรือไวรัสเฮอร์ปีสในมนุษย์ 4 หรือเอชเอชวี-4 [Human Herpesvirus 4 (HHV-4)] โดยเชื้อชนิดนี้จะแพร่กระจายผ่านน้ำลาย ทำให้มีอีกชื่อนึงว่า Kissing disease หมายถึงโรคที่ติดต่อกันผ่านการจูบ แต่การติดเชื้อนี้มักไม่ค่อยรุนแรงนัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องพบแพทย์ แต่มีน้อยรายที่เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
สาเหตุของโรคโมโนนิวคลิโอซิส
โรคโมโนนิวคลิโอซิสส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส EBV แต่บางครั้งก็อาจมาจากการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น ฮิวแมน ซัยโตเมกาโลไวรัส (Human Cytomegalovirus) แต่เป็นส่วนน้อย โดยเชื้อไวรัส EBV จะแพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่งของร่างกาย โดยเฉพาะน้ำลาย และมูกต่างๆ จึงสามารถติดต่อผ่านการจูบ ไอ จาม การใช้สิ่งของร่วมกัน การรับประทานอาหารร่วมกัน หรือการดื่มน้ำแก้วเดียวกัน นอกจากนี้ยังติดต่อผ่านทางเลือด น้ำอสุจิและการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะได้อีกด้วยแต่พบได้น้อย
เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส EBV เชื้อจะเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาว จากนั้นจะแพร่สู่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นต่อมที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย จึงเป็นเหตุให้ต่อมน้ำเหลืองบวม
หากผู้ใดติดเชื้อไวรัสชนิดนี้แล้ว เชื้อจะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต (คล้ายโรคเริม) และจะกำเริบขึ้นมาเมื่อร่างกายอ่อนแอ
เชื้อไวรัส EBV จะอยู่ในน้ำลายผู้ที่เคยติดเชื้อนานนับเดือน แม้ว่าอาการต่างๆ จะหายไปแล้วก็ตาม และยังสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้นานหลายปี ด้วยเหตุที่ติดต่อได้ง่ายและระยะการแพร่เชื้อที่นาน จึงทำให้อัตราการติดเชื้อของคนทั่วโลกสูงมาก ตามที่กล่าวไปข้างต้น
อาการของโรคโมโนนิวคลิโอซิส
อาการของโรคโมโนนิวคลิโอซิส มักไม่ร้ายแรงนัก แต่สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยอาการต่างๆ มีดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการหลักของโรคโมโนนิวคลิโอซิส
อาการของโรค มักเกิดหลังจากการติดเชื้อประมาณ 1-2 เดือน อาการที่เด่นชัด เช่น มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เจ็บคอ คออักเสบ มีผื่นขึ้น หากคลำที่คอหรือข้อพับแขนอาจเจอต่อมน้ำเหลืองโต (จึงเป็นสาเหตุของชื่อโรคไข้ต่อมน้ำเหลือง) ต่อมทอนซิลโต และตับและหรือม้ามโต เป็นต้น แต่หากเป็นการติดเชื้อในเด็กเล็กอาจแสดงอาการน้อยมาก หรือไม่แสดงอาการเลย
อาการของโรคโมโนนิวคลิโอซิส มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการคออักเสบ การแยกแยะความต่างของ 2 โรคนี้คือต้องคลำที่ท้องเพื่อตรวจว่าม้ามโตหรือไม่ หรืออาจเจาะเลือดเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ
ตามปกติโรคโมโนนิวคลิโอซิสไม่ใช่โรคที่รุนแรง จึงไม่จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา ร่างกายสามารถเยียวยาตัวเองได้ภายในเวลา 3 – 4 วัน แตกต่างจากโรคคออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา
จากที่กล่าวไปว่าโรคนี้ไม่อันตรายถึงชีวิต เว้นแต่บางกรณีที่ต่อมทอนซิลโตมากจนปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการหายใจลำบาก หายใจเข้า - ออก เสียงดัง กลืนลำบาก หรือมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย เริ่มปวดท้องรุนแรง ปวดศีรษะรุนแรง และมีอาการตึงต้นคอร่วมด้วย หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการเหล่านี้ต้องรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาทันที
ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการม้ามโตมากและเปราะบาง แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระแทกที่หน้าท้อง เช่น การเล่นกีฬา เพื่อป้องกันม้ามแตก
อาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น เหงื่อออก ไม่อยากอาหาร เจ็บปวดรอบหรือหลังดวงตา รอบตาบวม คอแดงและมีเมือก เกิดจุดแดงหรือม่วงบนเพดานปาก กดบริเวณท้องแล้ว เกิดภาวะดีซ่าน (ผิวหนังและตาขาวกลายเป็นสีเหลือง) อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นก่อนมีอาการหลักเพียงไม่กี่วัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ทั้งนี้ผู้ป่วยมากกว่า 1 ใน 10 ราย อาจมีอาการเหนื่อยล้ารุนแรง ซึ่งอาการนี้อาจยาวนานกว่า 6 เดือน นับตั้งแต่ติดเชื้อเริ่มแรก ซึ่งแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุของอาการนี้ได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเชื่อว่าอาการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอาการล้าเรื้อรัง (CFS) ที่ทำให้ร่างกายล้าต่อเนื่อง โดยการเริ่มออกกำลังกายเบาๆ ฟื้นฟูความแข็งแรงของร่างกาย จะช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าลงได้
การวินิจฉัยโรคโมโนนิวคลีโอซิส
แพทย์จะสอบถามอาการเบื้องต้นว่ามีไข้ เจ็บคอ หรือไม่ จากนั้นจะเริ่มตรวจร่างกาย เพื่อมองหาสัญญาณที่เด่นชัดของโรค เช่น การบวมของต่อมที่คอ ตับ และม้าม เป็นต้น หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อไวรัส EBV แพทย์มักจะตรวจเลือดเพื่อยืนยันการติดเชื้ออีกครั้ง
การรักษาโรคโมโนนิวคลีโอซิส
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโมโนนิวคลีโอซิส ส่วนใหญ่จึงรักษาตามอาการ เช่น หากมีไข้ จะให้ยาลดไข้อย่างพาราเซตามอนหรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)อย่างอิบูโพรเฟน เป็นต้น
แต่หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ต่อมทอนซิลบวมค่อนข้างมาก ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก มีภาวะโลหิตจางรุนแรง มีภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรือมีอาการเกี่ยวกับสมองหรือเส้นประสาท อย่างเช่นภาวะไข้สมองอักเสบแพทย์อาจใช้ยาปฏิชีวนะกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์กับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ Epstein- Barr Virus
การติดเชื้อ EBV นั้นนอกจากทำให้เกิดโรคโมโนนิวคลิโอซิสแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้อีกด้วย แต่ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้นับว่ามีโอกาสเกิดได้น้อยมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่ต้องกังวลมากนัก โดยภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวประกอบด้วย
- การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (ภาวะนี้จะไม่รุนแรงเท่ากรณีเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายถึงชีวิต)
- สมองบวม
- เส้นประสาทตาบวม
- ไขสันหลังบวม
- กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต
- อัมพาตด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย
- Guillain-Barre syndrome (กลุ่มอาการ/โรค กิลแลง-บาร์เร) คือกลุ่มอาการที่เกิดจากการที่เส้นประสาทหลายเส้นอักเสบพร้อมกันอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ซึ่งในรายที่รุนแรง อาจถึงขั้นเป็นอัมพาต
- เลือดและไขกระดูก มีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมามากกว่าปกติ
- ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง และเกิดการติดเชื่ออื่นๆ ได้
- เซลล์เม็ดเลือดลดลง ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลง ซึ่งทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย และเซลล์เม็ดเลือดขาวลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่นๆ เกล็ดเลือด ทำให้เลือดออกและฟกช้ำได้ง่ายขึ้น แต่อาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย และจะดีขึ้นเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์
- ม้ามฉีก ผู้ป่วยเกือบครึ่งจะมีภาวะม้ามโต ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ กับสุขภาพ แต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการม้ามฉีก แต่ถือว่าโอกาสต่ำมากโดยเกิดขึ้น 1 จาก 500 - 1,000 รายเท่านั้น สัญญาณหลักของม้ามฉีกคือ ความเจ็บปวดรุนแรงที่หน้าท้องด้านซ้าย นับว่าเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิต เพราะจะทำให้เลือดออกภายในอย่างรุนแรง ดังนั้นแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยงดเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมอาจมีโอกาสเกิดการกระแทกบริเวณหน้าท้อง
เชื้อไวรัส Epstein-Barr Virus กับมะเร็ง
โรคมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัส EBV ประกอบด้วย
- Burkitt lymphoma (มะเร็งในระบบน้ำเหลือง)
- Nasopharyngeal carcinoma (มะเร็งคอหอยส่วนบน)
- Hodgkin lymphoma and non-Hodgkin lymphoma (มะเร็งต่อมน้ำเหลือง)
- มะเร็งเนื้อเยื่อและมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell
เชื้อ Epstein-Barr Virus กับภาวะอื่นๆ
นอกจากการป่วยเป็นโรคโมโนนิวคลิโอซิสแล้ว การติดเชื้อไวรัส EBV ยังสามารถทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ปอดอักเสบ
- แผลเป็นบริเวณปอด
- ตับอักเสบ
- ตับอ่อนบวม
- กล้ามเนื้อหัวใจบวม
- มีปื้นขาวบนลิ้น
- ต่อมทอนซิลมีหนอง
- มีการติดเชื้อในโพรงจมูก
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
- ติดเชื้อแบคทีเรียที่กระดูก Mastoid ด้านหลังหู
การติดเชื้อเหล่านี้มักจะเกิดกับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำมาก ๆ เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์หรือติดเชื้อ HIV ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่กำลังรักษาด้วยเคมีบำบัดอยู่
การปฏิบัติตัวเมื่อป่วยเป็นโรคโมโนนิวคลีโอซิส
แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวดังนี้
- ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ
- พักผ่อนให้มาก เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเอง
- หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอแนะนำให้กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้
- หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องกระทบกระแทก เนื่องจากม้ามของผู้ป่วยจะบวมและเปราะบาง อาจเสี่ยงต่อภาวะม้ามฉีก ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะเป็นผลเสียต่อตับที่อ่อนแอจากการติดเชื้ออยู่แล้ว
- หลีกเลี่ยงการจูบ การรับประทานอาหารหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เพราะเชื้อสามารถแพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ ได้
- ค่อยๆ ให้ผู้ป่วยเริ่มออกกำลังกายเบาๆ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย
หากคุณมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำและเริ่มป่วยเป็นไข้และต่อมน้ำเหลืองโต คุณควรเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ และเพื่อให้แพทย์คอยสอดส่องสุขภาพของคุณอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการรักษาภาวะติดเชื้อทุติยภูมิต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ