ทำไมบางคนถึงจามหลังทานอาหาร?

เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมบางคนถึงจามหลังทานอาหาร?

ทำไมบางคนถึงจามหลังทานอาหาร?

การจาม คือ การตอบสนองตามธรรมชาติต่อสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในโพรงจมูกของเรา หรืออาจเกิดจากการหายใจในสภาพแวดล้อมที่เย็น การมองแสงสว่าง การถอนขนคิ้ว หรืออาจมีต้นเหตุมาจากการทานอาหารบางชนิด สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูสาเหตุของการจามหลังทานอาหารและวิธีป้องกัน มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง 

1. Gustatory rhinitis

Gustatory rhinitis เป็นภาวะที่ทำให้คนจามหลังทานอาหารโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองหรือบวมในจมูก อย่างไรก็ตาม Gustatory rhinitis ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ แต่มันเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทของจมูกมีความอ่อนไหวมากเป็นพิเศษต่อตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม สำหรับอาการของโรค Gustatory rhinitis นั้นมักเกิดขึ้นตอนทานอาหาร ซึ่งผู้ป่วยจะจาม น้ำมูกไหล และคัดจมูก ทั้งนี้การเกิดโรค Gustatory rhinitis มักพบได้ทั่วไปหลังทานอาหารเผ็ดหรือร้อน เช่น พริกไทย เครื่องแกง วาซาบิ ซุปร้อน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันไม่ให้จามโดยหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวกระตุ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. Snatiation Reflex

บางคนอาจจามหลังทานอาหารมื้อใหญ่ ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ Snatiation Reflex ทั้งนี้คนจะมีปฏิกิริยาดังกล่าวเมื่อกระเพาะอาหารเต็มและขยายออก และนั่นก็จะส่งผลให้เราจามได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการค้นพบสาเหตุที่แท้จริง แต่มันอาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

3. แพ้อาหาร

เมื่อบางคนทานอาหารที่ร่างกายมีความไวหรือแพ้ต่อสิ่งนั้น มันก็สามารถทำให้จาม และอาจมีอาการอื่นๆ อย่างการเกิดความรู้สึกคันที่ดวงตาหรือมีผื่นที่ผิวระดับเบา ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจมีปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงที่เรียกว่า Anaphylaxis ส่งผลให้บางส่วนในร่างกายบวมมาก และทำให้คุณหายใจลำบาก ซึ่งอาหารที่สามารถทำให้แพ้ คือ นม ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง และต้นถั่ว

4. โรคไข้หวัดธรรมดาหรือโรคไข้หวัดใหญ่

ในบางครั้ง คนที่ป่วยเป็นโรคหวัดหรือโรคอื่นๆ ก็สามารถจามหลังทานอาหารได้เช่นกัน การทานอาหารและการจามอาจดูเหมือนมีความเกี่ยวข้องกัน แต่ความจริงแล้วมันแยกจากกันค่ะ

วิธีป้องกันไม่ให้จามหลังทานอาหาร

เราไม่สามารถป้องกันการจามหลังทานอาหร แต่มันก็มีบางวิธีที่อาจช่วยลดอาการจามได้ ตัวอย่างเช่น

  • กลั้นหายใจในขณะที่นับ 1-10 หรือนานตราบเท่าที่คุณจะสามารถกลั้นหายใจได้ การทำเช่นนี้จะช่วยยับยั้งการจาม
  • บีบสันจมูก ซึ่งผลที่ได้จะเหมือนกับตอนกลั้นหายใจ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้จามหรืออาหารที่ทำให้แพ้ หากไม่แน่ใจว่าอาหารชนิดใดเป็นตัวกระตุ้น ให้คุณจดบันทึกอาหารที่ทาน หรือค่อยๆ ตัดอาหารแต่ละประเภทจนพบตัวการ
  • ทานอาหารมื้อเล็กลงตลอดทั้งวันแทนการทานแบบจัดเต็มในครั้งเดียว เพราะมันอาจกระตุ้นให้เกิด Snatiation reflex
  • ทานยาที่ซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ตัวอย่างเช่น ยา Pseudoephedrine ซึ่งสามารถช่วยลดอาการบวมในจมูก หรือความไวต่อสิ่งกระตุ้นที่สามารถทำให้จามหลังทานอาหาร
  • สเปรย์แอนตี้ฮิสตามีนอาจช่วยลดอาการจามหลังทานอาหาร สเปรย์จะไปขัดขวางการหลั่งฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการอักเสบที่สามารถทำให้เราจาม

อย่างไรก็ตาม การจามหลังทานอาหารแทบจะไม่ได้เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคต่างๆ แต่มันก็สามารถทำให้คุณรู้สึกรำคาญและระคายเคือง ณ ขณะนั้น นอกจากนี้การจามยังทำให้ไวรัสและแบคทีเรียแพร่ไปในอากาศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษา Gustatory rhinitis และ Snatiation Reflex แต่เราสามารถป้องกันโดยหลีกเลี่ยงการทานอาหารบางชนิด และไม่ทานอาหารมื้อใหญ่ครั้งเดียว หากคุณคิดว่าตัวเองแพ้อาหาร คุณก็อาจปรึกษาแพทย์เพื่อทดสอบปฏิกิริยาแพ้

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...321587.php


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sneezing After Dinner - Allergy Center. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/internal-medicine-specialist/sneezing-after-dinner.aspx)
Gustatory Rhinitis: Why Your Nose May Run When You Eat. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/gustatory-rhinitis-82824)
Sneezing after eating: Causes and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321587)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป