การเลิกบุหรี่มีหลากหลายวิธี การที่จะเลิกได้สำเร็จนั้นไม่ง่ายและไม่ยาก หากเปรียบการเลิกบุหรี่กับการทำศึกสงคราม การที่จะได้ชัยชนะกลับมานั้นจำเป็นต้องรู้จุดอ่อนจุดแข็งของฝ่ายตรงข้าม อย่างสุภาษิตที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การเลิกบุหรี่ก็เช่นเดียวกัน เราต้องรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเอง เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการบำบัดอย่างถ่องแท้ ซึ่งสิ่งที่ต้องเรียนรู้มีดังต่อไปนี้
1. ต้องรู้ว่าติดสารนิโคตินระดับไหน โดยใช้แบบประเมินระดับความรุนแรงของการติดสารนิโคตินด้วยตนเอง ดังนี้
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คะแนน
- คุณต้องสูบบุหรี่มวนแรกหลังตื่นนอนตอนเช้านานแค่ไหน
ภายใน 5 นาที หลังตื่นนอน = 3 คะแนน
ภายใน 6-30 นาที หลังตื่นนอน = 2 คะแนน
มากกว่า 30 นาที หลังตื่นนอน = 1 คะแนน
- คุณรู้สึกกระวนกระวายหรือลำบากใจไหมที่ต้องอยู่ในสถานที่ ที่มีการห้ามสูบบุหรี่ เช่น โรงภาพยนตร์ รถโดยสาร
ใช่ = 1 คะแนน
ไม่ใช่ = 0 คะแนน
- บุหรี่มวนใดต่อไปนี้ ที่คุณคิดว่าเลิกยากที่สุด
มวนแรกสุดตอนเช้า = 1 คะแนน
มวนอื่นๆ = 0 คะแนน
- ปกติคุณสูบบุหรี่วันละกี่มวน
มากกว่า 30 มวนต่อวัน = 3 คะแนน
21 - 30 มวนต่อวัน = 2 คะแนน
11 - 20 มวนต่อวัน = 1 คะแนน
- คุณสูบบุหรี่จัดภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังตื่นนอนและสูบมากกว่าช่วงเวลาอื่นของวันใช่หรือไม่
ใช่ = 1 คะแนน
ไม่ใช่ = 0 คะแนน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- คุณต้องสูบบุหรี่แม้ในขณะที่เจ็บป่วยมากจนไม่สามารถลุกจากเตียงได้
ใช่ = 1 คะแนน
ไม่ใช่ = 0 คะแนน
รวมคะแนน
5 -10 คะแนน หมายถึง คุณติดสารนิโคตินระดับรุนแรง
3 -4 คะแนน หมายถึง คุณติดสารนิโคตินระดับปานกลาง
1 - 2 คะแนน หมายถึง คุณติดสารนิโคตินระดับเล็กน้อย
ผลการติดนิโคตินในแต่ละระดับจะช่วยให้เราตัดสินใจว่าควรจะเลือก วิธีการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีไหน เช่น หากติดสารนิโคตินในระดับรุนแรงอาจจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญ หากติดสารนิโคตินระดับปานกลางหรือระดับน้อยก็ไม่น่าเป็นห่วงเรื่องอาการถอนนิโคตินมากนักซึ่งสามารถเลิกบุหรี่ได้ด้วยตนเอง
2. ต้องรู้ว่าเรามีพฤติกรรมเสพติดบุหรี่เป็นลักษณะใดโดยการประเมินลักษณะพฤติกรรมการเสพติดดังนี้ โดยให้ท่านเลือกข้อที่ตรงกับตัวเองมากที่สุด
การรู้ลักษณะการเสพติดของตัวเอง เป็นประเด็นสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ติดบุหรี่เข้าใจกระบวนการเสพ รู้ว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเสพ และสามารถนำไปปรับวิธีการหลีกเลี่ยงจากตัวกระตุ้นเหล่านั้นจนสามารถเลิกได้สำเร็จ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
3. เลือกวิธีการเลิกให้เหมาะสมกับตัวเอง โดยนำผลการประเมินข้างต้นมาประกอบในการตัดสินใจเลือกวิธี ดังนี้
- หากคุณติดสารนิโคตินระดับรุนแรงร่วมกับมีพฤติกรรมการเสพแบบติดสารนิโคติน ในกรณีนี้แนะนำให้รับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากการติดสารนิโคตินที่รุนแรงอาจทำให้เกิดอาการถอนนิโคตินหรือมีอาการทุกข์ทรมานทางร่างกายเมื่อหยุดเสพนิโคตินอย่างกะทันหัน แพทย์หรือจิตแพทย์จะใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการถอนนิโคติน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เลิกบุหรี่สามารถหยุดบุหรี่หรือนิโคตินได้นานขึ้นจนกระทั่งเลิกได้
- หากคุณติดสารนิโคตินในระดับปานกลาง หรือระดับเล็กน้อย ร่วมกับมีพฤติกรรมการเสพติดแบบติดทางจิตใจหรือติดพฤติกรรม ในกรณีนี้อาจเลิกด้วยตัวเองได้ง่ายกว่าเนื่องจากอาการถอนนิโคตินมักจะไม่รุนแรง ผู้ต้องการเลิกบุหรี่บางรายสามารถใช้วิธีหักดิบได้สำเร็จ
4. ในระหว่างเลิกบุหรี่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่อาจทำให้กลับไปสูบซ้ำได้อีก ซึ่งตัวกระตุ้นแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- ตัวกระตุ้นภายใน เป็นตัวกระตุ้นที่เกิดจากตัวเราเอง ได้แก่ ความเข้มแข็งทางจิตใจ กำลังใจ ความเครียด เป็นต้น การจัดการตัวกระตุ้นภายใน อาจต้องสร้างกำลังใจให้กับตัวเอง หรือหากำลังใจจากคนใกล้ชิด ตั้งเป้าหมายในการเลิกให้ชัดเจน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จัดการกับความต้องการอยากสูบให้ได้ ซึ่งสามารถใช้ได้หลายเทคนิค เช่น ผลไม่รสเปรี้ยว น้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น
- ตัวกระตุ้นภายนอก เป็นตัวกระตุ้นที่อยู่รอบๆตัว ซึ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเช่นกัน ได้แก่ เพื่อนที่สูบบุหรี่ วงเหล้า งานปาร์ตี้ เงิน เป็นต้น
ขอบคุณ แบบประเมินระดับความรุนแรงของการติดสารนิโคติน และแบบประเมินลักษณะพฤติกรรมการเสพติดจากมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่