กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Ephedrine (เอฟิดรีน) และ Pseudoephedrine (ซูโดอีเฟดรีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์เรื่อง Ephedrine และ Pseudoephedrine ยาในกลุ่มยาลดอาการคัดจมูก (Nasal decongestants) ที่ควรรู้ ตลอดจนข้อมูลน่ารู้เรื่องชื่อสามัญ ชื่อการค้า ประเภท ข้อบ่งใช้ การออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง และการพยาบาล หากคุณสนใจ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

Ephedrine

ชื่อสามัญ   Ephedrine hydrochloride

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อการค้า            Brondil

ประเภท                 ยาลดอาการคัดจมูกที่ได้ผลดี แต่ระยะเวลาออกฤทธิ์สั้น

ข้อบ่งใช้                ห้ามเลือดกําเดาไหลหรือใช้ห้ามเลือดเวลาผ่าตัดจมูก อาจใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืด

และไอเรื้อรัง

การออกฤทธิ์        

กระตุ้นปลายประสาท Adrenergic ให้หลัง Noradrenalin มีผลโดยตรงต่อตัวรับอัลฟา

และเบตา มีฤทธิ์คล้าย Adrenalin แต่มีฤทธิ์อยู่ได้นานกว่า กระตุ้นระบบประสาทกลาง มากกว่า และเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า โดยให้ผลตอบสนองตรงข้ามกับฮีสตามีน ผลของยาต่อเยื่อบุจมูกจะทําให้หลอดเลือดหดตัว และการสร้างน้ำมูกลดลง ลดการบวมคั่งของเนื้อเยื่อในช่องจมูก และมีฤทธิ์เป็นยาขยายหลอดลม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลข้างเคียง        

หากใช้ยานี้นาน ๆ ผลเสียที่เกิดขึ้น คือ อาการแน่นจมูกจะเป็นมากกว่าเดิม แม้จะหยอดยาสักเท่าไรจมูกก็ไม่ยอมโล่ง หรือจมูกโล่งเพียง 5-10 นาทีเท่านั้น ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดจาก การขยายตัวของเส้นเลือดหลังจากการหดตัวไปแล้ว และการขยายตัวของเส้นเลือดนี้ทําให้ แน่นจมูกอย่างมาก จึงควรใช้ยาหยอดจมูกในกรณีที่จําเป็นจริงๆ เท่านั้น ไม่ใช้ติดต่อกันเกิน 7 วัน เพราะจะทําให้ดื้อยาและเสพติดได้

การพยาบาล         ให้หยอดยาในท่าศีรษะต่ำและตะแคงข้าง ทิ้งไว้ 3-5 นาที ต่อจากนั้นจึงสั่งน้ำมูกออก ทําอย่างช้า ๆ อีก 1 - 2 ครั้ง หากยังมีน้ำมูกอีก เพื่อลดปริมาณยาที่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหาร และเกิดอาการข้างเคียงของยาน้อย ควรเลี่ยงการให้ยาใกล้เวลานอน

Pseudoephedrine

ชื่อสามัญ               Pseudoephedrine hydrochloride

ชื่อการค้า               *Actited, *Actited Compound, *Actifed DM Cough, *Actil, *Actiplex, *Adulfed,

*A-Mol Plus, “Antussia, Benadryl Decongestant, Bluco, “Brontus, Clarinase 24 Hour, *Clarinase Repetab/Clarinase Syrup, *Clinikold, *Cofed, *Colidine, *Comfy, Consinut, *Consudine, Co-Pyronil I, *Decolgen/Decolgen DE/Decolgen Plus/Decolgen Prin, *Hiscited, *lyafin, Kona, *Meditussin Clearcap, *Med-Actigen, *Medofed, “Milafed, *Nanated, *Nasolin, *Nasorest, *Nasorest Expectorant, *Neozep LX, *Nostrilet, *Nutacold, *Pharfed, Polamine, *Policol, Policold, *Polyfed, Pondactil, *Profed, *Prophedin, Pseudoephedrine Asian Pharm, Pseudoephedrine Medicine Products, Pseudoephedrine Medicine Supply, Pseudoephedrine Milano, *Rhinadine, Rhinar, *Rhinohist, Robitussin PE, *Robitussin Ps, *Sidan, *Sinusaid, Sudomed, Sudosian, *Sufed, Telfast D, *Tiffy Fu. *Tifed, *Triofed, *Tripo, *Tnprodnine, *Tylenol Cold, *Vefed, Vesprolid HCL, *Zyrtec-D

ประเภท                 ยาหยอดจมูก ยาหยอดจมูกส่วนใหญ่ประกอบด้วยยาหดเส้นเลือดหรือลดน้ำมูก โดยผสม Pseudoephedrine

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อบ่งใช้                 ลดน้ำมูกสําหรับผู้ป่วยที่มีอาการแน่นจมูกอย่างรุนแรง โดยที่ไม่สามารถที่จะทําให้อาการดีขึ้นได้จากการรับประทานยา

การออกฤทธิ์        

กระตุ้นปลายประสาท Adrenergic ให้หลั่ง Noradrenalin มีผลโดยตรงต่อตัวรับ 1 ทําให้หลอดเลือดหดตัว ช่วยทําให้ผู้ป่วยหายใจดีขึ้น

ผลข้างเคียง         

กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ มึนงง หลงลืม ชัก มองไม่ชัด กลัวแสง คลื่นไส้ อาเจียน เบืออาหาร ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น เจ็บยอดอก หายใจลําบาก ปัสสาวะผิดปกติ ซีด เหงื่อออก

การพยาบาล         

1. ควรระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจ เบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ ความดันในลูกตาสูง ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ

2. แนะนําผู้ป่วยอย่าใช้ยานี้เป็นเวลานาน ๆ  

3. ติดตามผลข้างเคียง เช่น มึนงง อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย เวียนศีรษะ มือสั่น แนะนําผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการขับรถ เป็นต้น โดยประเมินอาการผิดปกติต่างๆ จากสีผิว อุณหภูมิ การรับรู้ อารมณ์ ความรู้สึกส่วนปลาย การมองเห็น ความดันโลหิต ชีพจร การ หายใจ หากพบอาการผิดปกติต้องรายงานแพทย์ทราบ

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ปราณี ทู้ไพเราะ  ได้โดยการซื้อหนังสือ “คู่มือยา (Handbook of Drugs)”


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
gov, Pseudoephedrine and ephedrine: nasal decongestants (https://www.gov.uk/drug-safety-update/pseudoephedrine-and-ephedrine-nasal-decongestants), 11 December 2014.
ncbi.nlm.nih, Pseudoephedrine (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK501085/), 31 October 2018.
nhs, Pseudoephedrine (including Sudafed) (https://www.nhs.uk/medicines/pseudoephedrine/), 22 August 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)