กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

แผลที่กระจกตา (Corneal ulcers)

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แผลที่กระจกตา (Corneal ulcers) เป็นแผลเปิดที่บริเวณกระจกตา ซึ่งเป็นส่วนที่ปกคลุมม่านตาและรูม่านตา ส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบติดเชื้อ แต่ก็อาจเกิดจากปัญหาทางตาอื่นๆ ได้เช่นกัน ภาวะนี้อาจรุนแรงจนถึงขั้นทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
  • แผลที่กระจกตาส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากผิวกระจกตาถูกทำลาย เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราที่มักเกิดจากกิ่งไม้ หรือใบไม้บาดตา
  • ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดแผลที่กระจกตา เช่น  ขาดวิตามินเอ มีรอยโรคที่เส้นประสาทคู่ที่ 5 มีประวัติได้รับการกระทบ กระเทือน มีของทิ่มแทง หรือเสียดสีถูกกระจกตา มีสารเคมี หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ใช้ยาหยอดตาชนิดสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยระวังการกระทบกระเทือนที่กระจกตา โดยครอบตาด้วยฝาครอบตาใส (Eye shield) และหยอดตาเพื่อลดการอักเสบของม่านตา หยอดตาด้วยยาปฏิชีวนะ ป้ายตาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดขี้ผึ้ง ระหว่างนี้ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจตาและโรคตา

แผลที่กระจกตา (Corneal ulcers) เป็นแผลเปิดที่บริเวณกระจกตา ซึ่งเป็นส่วนที่ปกคลุมม่านตาและรูม่านตา ส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบติดเชื้อ แต่ก็อาจเกิดจากการมีภาวะตาแห้งอย่างรุนแรง หรือปัญหาทางตาอื่นๆ ได้เช่นกัน 

ภาวะนี้อาจรุนแรงจนถึงขั้นทำให้สูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของแผลที่กระจกตา

โดยปกติกระจกตาซึ่งมีลักษณะใสจะสามารถป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ได้ แต่ถ้าผิวกระจกตาหลุด หรือเป็นแผลถลอก กระจกตาจะอักเสบติดเชื้อได้ง่าย 

ในขณะที่มีการอักเสบติดเชื้อจะมีเม็ดเลือดขาวมาบริเวณนี้ ทั้งเม็ดเลือดขาวและเชื้อโรคจะหลั่งเอนไซม์ออกมาทำลายเนื้อเยื่อของกระจกตา ทำให้เป็นแผล และกลายเป็นแผลเป็นในที่สุด ทำให้กระจกตากลายเป็นสีขุ่นขาว การมองเห็นลดลง โดยเฉพาะหากมีแผลเป็นอยู่ตรงกลางกระจกตา

แผลที่กระจกตาส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากผิวกระจกตาถูกทำลาย เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้เชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ เชื้อ Staphylococcus aureus เชื้อ Pseudomonas aeruginosa และเชื้อ Streptococcus pneumonia 

นอกจากนี้เชื้อไวรัสก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้เช่นกัน ได้แก่ เชื้อ Adenovirus, Herpes simplex และเชื้อ Herpes zoster รวมถึงการติดเชื้อราที่มักเกิดจากกิ่งไม้ หรือใบไม้บาดตา เช่น เชื้อ Candida และเชื้อ Aspergillus

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เสี่ยงเกิดแผลที่กระจกตา 

  • มีปฏิกิริยาแพ้ 
  • ขาดวิตามินเอ 
  • มีรอยโรคที่เส้นประสาทที่ 5 
  • มีประวัติได้รับการกระทบ กระเทือน มีของทิ่มแทง หรือเสียดสีถูกกระจกตา
  • มีสารเคมี หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา 
  • ใช้ยาหยอดตาชนิดสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • หนังตาหลับไม่สนิทเนื่องจากเป็นอัมพาตหรือปากเบี้ยว 
  • ผิวของกระจกตาดำแห้ง ทำให้ติดเชื้อง่าย 
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคริดสีดวงตา โรคขนตาเก หรือเยื่อบุตาขาวอักเสบ 
  • มีประวัติใบข้าวบาดตา หรือฟางทิ่งตา

อาการของแผลที่กระจกตา 

  • ปวดตามาก 
  • ตาแดงมาก เคืองตา น้ำตาไหล 
  • ลืมตาไม่ค่อยขึ้น 
  • กลัวแสง ตาพร่ามัว 
  • ระดับการมองเห็นลดลงเพราะกระจกตาไม่สามารถหักเหแสงได้ 
  • มีขี้ตา หนังตาบวม ขี้ตาเป็นหนอง 
  • กระจกตาเป็นแผล และเป็นรอยฝ้าสีเทาๆ หรือสีขาว 
  • มีหนองในช่องหน้าม่านตา (Hypopyon) ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นที่ตาเพียงข้างเดียว 
  • มีอาการระคายเคืองเหมือนมีเม็ดทรายเข้าตา

การวินิจฉัยแผลที่กระจกตา

แพทย์จะสอบถามอาการของผู้ป่วย รวมถึงถามว่า มีประวัติการบาดเจ็บของกระจกตา การมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา เช่น ถูกใบไม้บาดตา เคยมีกระจกตาถลอกหรือกระจกตาอักเสบมาก่อน หรือมีประวัติการใช้สเตียรอยด์หยอดตาเป็นประจำหรือไม่ 

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จากนั้นจะมีการตรวจตาด้วยการใช้สารย้อมสี และตรวจตาด้วยกล้องจุลทรรศน์ตรวจนัยน์ตาชนิดลำแสงแคบ (Slit-lamp) ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นแผลที่กระจกตาได้อย่างชัดเจน ซึ่งหากผิวกระจกตามีการหลุดออกจะย้อมติดสีเขียว 

รวมทั้งอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยการขูดกระจกตา แล้วนำไปย้อมและเพาะเชื้อเพื่อหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ

การรักษาแผลที่กระจกตา

แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยระวังการกระทบกระเทือนที่กระจกตา โดยครอบตาด้วยฝาครอบตาใส (Eye shield) และจะต้องหยอดตาเพื่อลดการอักเสบของม่านตา หยอดตาด้วยยาปฏิชีวนะ ป้ายตาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดขี้ผึ้ง 

เมื่อรักษาแผลหายแล้ว หากแผลมีขนาดใหญ่ซึ่งมีผลต่อการมองเห็น แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา (Keratoplasty) และหากมีการอักเสบลุกลามรุนแรงออกมาภายนอกลูกตา แพทย์อาจต้องพิจารณารักษาโดยการผ่าตัดนำลูกตาออก (Enucleation)

การดูแลผู้ป่วยที่มีแผลที่กระจกตา

หลังการรักษา ผู้ป่วยควรดูแลตนเองตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ใช้ยาแก้ปวดและยาแก้อาการเคืองตาตามที่แพทย์แนะนำ 
  • หยอดตาบ่อยๆ และครอบฝาครอบตาตลอดเวลา เพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อ 
  • แยกของใช้กับผู้อื่น โดยเฉพาะผ้าเช็ดตัว หรือผ้าเช็ดหน้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ หรือแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น 
  • ไม่ขยี้ดวงตา
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังเช็ดตา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค 
  • พยายามไม่เพ่งแสงจ้า หรืออยู่ในสถานที่ที่มีแสงจ้า หากจำเป็นควรสวมแว่นกันแดด หรือเครื่องป้องกันดวงตาอีกชั้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับดวงตา ไม่ควรเพิกเฉย แต่ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที เพราะหากสายเกินไป โรคลุกลามรุนแรง คุณอาจต้องสูญเสียดวงตาไปตลอดกาลก็เป็นได้ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจตาและโรคตา จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Corneal Ulcer and Ulcerative Keratitis in Emergency Medicine: Background, Pathophysiology, Epidemiology. Medscape. (Available via: https://emedicine.medscape.com/article/798100-overview)
Corneal Ulcer: Background, Pathophysiology, Epidemiology. Medscape. (Available via: https://emedicine.medscape.com/article/1195680-overview)
Corneal Ulcer. National Center for Biotechnology Information. (Available via: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539689/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)