กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Pseudomonas Aeruginosa infection (ภาวะติดเชื้อซูโดโมแนว แอรูจิโนซา)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เชื่อว่า หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า “ติดเชื้อในกระแสเลือด” กันมาบ้าง แล้วเคยสงสัยไหมว่า เชื้อที่ว่านั้นคืออะไร จริงๆ แล้วการติดเชื้อในร่างกายเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ต้นเหตุหลักๆ มาจาก แบคทีเรียที่มีชื่อว่า Pseudomonas Aeruginosa ซึ่งหากติดเชื้อรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุของการติดเชื้อ Pseudomonas Aeruginosa

Pseudomonas Aeruginosa หรือ P. aeruginosa เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้หลายประเภท ส่วนใหญ่แล้วมักพบเชื้อชนิดนี้ในคนไข้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำในโรงพยาบาล โดยผู้ป่วยอาจติดเชื้อจากอุปกรณ์การแพทย์ที่ไม่สะอาด ติดเชื้อจากบุคลากรทางการแพทย์ระหว่างการรักษา การสวมเครื่องช่วยหายใจ สายสวนปัสสาวะ หรือสายน้ำเกลือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ผู้ที่มีร่างกายปกติ แต่สัมผัสกับสิ่งของ แหล่งน้ำ หรือสารคัดหลั่งที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน แต่อาการอาจไม่รุนแรงนัก เช่น อาจติดเชื้อจากสระว่ายน้ำ อ่างอาบน้ำที่ไม่สะอาด และอาจพบการติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน

อาการของการติดเชื้อ Pseudomonas Aeruginosa

อาการของการติดเชื้อขึ้นอยู่กับชนิดของการติดเชื้อ ดังนี้

  • การติดเชื้อในกระแสเลือด อาการที่พบ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว มึนศีรษะ ชีพจรเต้นเร็วและหายใจเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปัสสาวะน้อย
  • ภาวะปอดติดเชื้อ อาการที่พบ เช่น ไข้หนาวสั่น หายใจลำบาก ไอ มีเสมหะสีเหลือง เขียว หรือเป็นมูกเลือด
  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อาการที่พบ เช่น ปวดปัสสาวะบ่อย มีกลิ่นเหม็น มีสีขุ่น หรืออาจมีเลือดปน รู้สึกแสบขัดระหว่างปัสสาวะ
  • การติดเชื้อที่แผล อาการที่พบ เช่น มีการอักเสบบริเวณแผล แผลมีเลือดซึม เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่หู อาการที่พบ เช่น ปวดหู การได้ยินลดลง มึนศีรษะ เป็นต้น

การรักษาการติดเชื้อ Pseudomonas Aeruginosa

การติดเชื้อ Pseudomonas Aeruginosa ที่ไม่รุนแรง รักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะบางชนิด ขณะที่การรักษาการติดเชื้อที่รุนแรงจะรักษาได้ยากกว่า เนื่องจากบางสายพันธุ์เป็นเชื้อที่ดื้อยา โดยข้อมูลจาก CDC พบว่าการติดเชื้อ P. aeruginosa รุนแรงที่เกิดขึ้นภายในโรงพยาบาล เกิดภาวะดื้อยามากถึง 13% และการติดเชื้อดื้อยานี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยประมาณ 400 รายต่อปี

หากแพทย์พบว่า มีการติดเชื้อ จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบการดื้อยา และหายาที่เหมาะสมที่สุดในการฆ่าเชื้อ โดยมักจ่ายยาปฏิชีวนะ เช่น Aminoglycosides  Cephalosporins, Fluoroquinolones และ Carbapenems

อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้อจาก Pseudomonas aeruginosa ก็มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูง โดยเฉพาะจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและการติดเชื้อที่ปอด อัตราการเสียชีวิตมีช่วงที่กว้าง โดยผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อที่หูจะมีอัตราการเสียชีวิต 15 – 20% จนถึงผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่หัวใจห้องซ้ายซึ่งมีอัตราการเสียชีวิต 89%


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pseudomonas and Related Infections. Merck and the Merck Manuals. (Available via: https://www.merckmanuals.com/professional/infectious-diseases/gram-negative-bacilli/pseudomonas-and-related-infections)
Pseudomonas Aeruginosa - Symptoms, Risks, Treatment. Everyday Health. (Available via: https://www.everydayhealth.com/pseudomonas-aeruginosa/)
Pseudomonas Infection: Bacterium Risk Factors and Symptoms. WebMD. (Available via: https://www.webmd.com/a-to-z-guides/pseudomonas-infection#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)