กลุ่มยาอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides)

กลุ่มยาอะมิโนไกลโคไซด์คืออะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
กลุ่มยาอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides)

อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) เป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาการรุนแรง หรือเชื้อที่ดื้อยา โดยกลุ่มยาชนิดนี้เป็นยาปฏิชีวนะที่สามารถออกฤทธิ์โดยการฆ่าแบคทีเรียโดยตรง (Bactericidal) ซึ่งจะไปยับยั้งการสร้างโปรตีนบางชนิดที่ช่วยในการอยู่รอดของแบคทีเรีย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาอะมิโนไกลโคไซด์มักจะใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อที่รุนแรง ด้วยการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำสู่ร่างกาย อย่างไรก็ตาม ยาชนิดนี้มีด้วยกันหลายรูปแบบ ไม่ใช่แค่แบบฉีดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่างของยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ได้แก่

  • Gentamicin (ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดดำเท่านั้น)
  • Amikacin (ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดดำเท่านั้น)
  • Tobramycin
  • Gentak and Genoptic (หยอดตา)
  • Kanamycin
  • Streptomycin
  • Neo-Fradin (ชนิดรับประทาน)
  • Neomycin (ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดดำเท่านั้น)

คำเตือนและข้อระมัดระวังในการใช้ยาอะมิโนไกลโคไซด์

หลีกเลี่ยงการใช้ยาอะมิโนไกลโคไซด์ หากมีอาการแพ้ต่อสารที่เป็นส่วนผสมของยา รวมถึงมีปัจจัยดังต่อไปนี้ 

  • มีประวัติแพ้สารซัลฟา (ซึ่งมักพบเป็นส่วนผสมของไวน์และผลไม้แห้ง)
  • เป็นโรคไตและมีปัญหาทางการได้ยิน รวมถึงปัญหาด้านการทรงตัวและการควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา
  • มีโรคความผิดปกติของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis)
  • มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • มีลูกที่พึ่งคลอดหรือเด็กทารกที่ได้รับการรักษาการติดเชื้อที่รุนแรงโดยการใช้ยาอะมิโนไกลโคไซด์ 
  • อยู่ในช่วงรับประทานยา Theracrys (BCG live intravesical) Vistide (cidofovir) และ Zanosar (streptozocin)

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของการใช้ยาอะมิโนไกลโคไซด์

อะมิโนไกลโคไซด์ เป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์รุนแรง และมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงเช่นกัน โดยองค์กรอาหารและยา (The Food and Drug Administration: FDA) ได้กล่าวถึงคำเตือนในการใช้ยาชนิดรับประทานและการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียง ดังนี้

  • ทำลายโครงสร้างการได้ยินในหู ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน
  • ทำลายหูชั้นใน ทำให้เกิดปัญหาด้านการทรงตัว
  • ทำลายไต เช่น มีโปรตีนออกมาในปัสสาวะ ภาวะขาดน้ำ ระดับของแมกนีเซียมต่ำ
  • อัมพาตของกล้ามเนื้อลาย ซึ่งผลข้างเคียงและความรุนแรงดังกล่าวจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
everydayhealth.com, Aminoglycosides (https://www.everydayhealth.com/aminoglycosides/guide/), 10/20/2015
aafp.org, Aminoglycosides (https://www.aafp.org/afp/1998/1115/p1811.html), 1998 Nov 15

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)