กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคติดเชื้อซาลโมเนลลาคืออะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 3 พ.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
โรคติดเชื้อซาลโมเนลลาคืออะไร

การติดเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา (Salmonella) จะเรียกว่าภาวะซัลโมเนลโลซิส (Salmonellosis) สามารถติดต่อได้ผ่านการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อสัตว์ปีกดิบๆ ไข่ เนื้อวัว ผักและผลไม้ที่ไม่ได้ทำความสะอาด นอกจากนี้ สัตว์เลี้ยงบางชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู เต่า หรือกิ้งก่า ก็สามารถทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชนิดของเชื้อ Salmonella

เชื้อซัลโมเนลลา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • Typhoidal Salmonella เป็นกลุ่มของแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคไข้รากสาดน้อยหรือไข้รากสาด ประกอบด้วยเชื้อ Salmonella Typhi, Paratyphi A, Paratyphi B, และ Paratyphi C
  • Non-typhoidal Salmonella หมายถึงเชื้อซัลโมเนลลาสายพันธุ์อื่น ๆ ทั้งหมด โดยสายพันธุ์ที่พบบ่อยที่สุดคือ Salmonella Typhimurium และ Salmonella Enteritidis

อาการของการติดเชื้อ Salmonella

เชื้อซัลโมเนลลา กลุ่ม non-typhoidal สามารถทำให้เกิดท้องเสียเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรงได้ โดยมักมีอาการแสดงหลังจากสัมผัสแบคทีเรียไปแล้ว 12-72 ชั่วโมง อาการที่พบ ได้แก่

หากเป็นโรคไข้รากสาดน้อยสามารถทำให้เกิดไข้สูงลอย (39-40องศาเซลเซียส) และอาจทำให้เกิดอาการ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดท้อง เบื่ออาหาร และมีผื่นขึ้นร่วมด้วย 

ผู้ป่วยบางคนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อซัลโมเนลลาได้ ถ้าเชื้อนั้นมีความรุนแรงและส่งผลต่ออวัยวะอื่นนอกระบบทางเดินอาหาร เช่น กระดูก ข้อ ระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) หรืออวัยวะภายในอื่น ๆ รวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดด้วย

การรักษาการติดเชื้อ Salmonella

อาการของการติดเชื้อซัลโมเนลลาในทางเดินอาหาร จะหายไปได้เองใน 5-7 วัน หากเกิดภาวะขาดน้ำจากการท้องเสีย อาจจำเป็นต้องมีการให้สารน้ำทดแทน

ส่วนการให้ยาปฏิชีวนะ จะใช้ในกรณีที่มีการติดเชื้อขั้นรุนแรง หรือการติดเชื้อในคนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยยาปฏิชีวนะที่สามารถใช้รักษาได้ เช่น


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)