การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง ทั้งสมอง ไขสันหลัง และอวัยวะบริเวณรอบๆ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในประเทศไทย และนับว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางระบบประสาท
นอกจากนี้ในผู้ป่วยระยะแรกๆ หรือในรายที่อาการยังไม่รุนแรงมาก อาการแสดงของภาวะนี้ยังจำแนกจากอาการอื่นๆ ได้ยาก ดังนั้นการทำความเข้าใจเรื่องสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ความหมายของโรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง
โรคติดเชื้อในระบบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System Infection) คือ โรคที่เกิดจากเชื้อโรค หรือสิ่งก่อโรคเข้าไปในบริเวณของระบบประสาทส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นสมอง ไขสันหลัง เนื้อหุ้มสมอง น้ำเลี้ยงไขสันหลัง จนอาการติดเชื้อลุกลามไปทั่วอวัยวะของระบบประสาทส่วนกลาง
วิธีที่เชื้อโรค และสิ่งก่อโรคจะเข้าสู่ร่างกายนั้นมีหลายวิธี เช่น
- เข้าสู่ระบบประสาทโดยตรงจากการบาดเจ็บ หรือการผ่าตัด
- ติดเชื้อจากอวัยวะข้างเคียง หรือเชื้อที่ก่อโรคเข้ามาทางระบบประสาทส่วนปลาย ก่อนจะค่อยๆ ลุกลามไปยังระบบประสาทส่วนกลาง
- เชื้อ หรือสิ่งที่ก่อโรคหลายชนิด เช่น แบคทีเรีย (Bacteria) ไวรัส (Virus) ปรสิต (Parasite) เชื้อรา (Fungus) และพริออน (Prion) ซึ่งเป็นกลุ่มโปรตีนก่อให้เกิดโรคได้ แต่ละชนิดก็จะมีวิธีรุกล้ำเข้าไปในระบบประสาทส่วนกลางที่แตกต่างกัน
อาการของโรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง
อาการของการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลางจะมีลักษณะบางประการเฉพาะตัวของเชื้อ หรือสิ่งก่อโรคแต่ละชนิด อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลางยังมีอาการทางคลินิกร่วมกันที่พบได้บ่อย ดังนี้
- มีไข้ ซึ่งไข้เป็นอาการทั่วไปของการติดเชื้อทุกประเภท อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เป็นฝีในสมองอาจจะไม่มีไข้ก็ได้
- ปวดศีรษะ อาเจียนพุ่ง หรือตาพร่ามัว ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ความดันในกะโหลกเพิ่มสูงขึ้น
- ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมลง
- มีอาการแสดงของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น คอแข็ง (Stiff neck) ปวดศีรษะ กลัวแสง
- มีอาการชัก ซึ่งจัดเป็นอาการในระดับรุนแรง
- มีอาการปวดตามแนวระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ซึ่งอาจจะเกิดจากการติดเชื้อของกระดูกสันหลัง หรือการอักเสบของเส้นประสาท
โรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลางที่พบได้บ่อย
เนื่องจากสมอง และไขสันหลังซึ่งเป็นองค์ประกอบหลังของระบบประสาทส่วนกลางเป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อกัน เยื่อหุ้มสมอง และไขสันก็เชื่อมต่อกัน
นอกจากนี้น้ำเลี้ยงสมอง และไขสันหลังยังหมุนเวียนระหว่างสมองกับไขสันหลัง ทำให้เมื่อมีอาการติดเชื้อ การแพร่กระจายของเชื้อที่ก่อโรคไปยังบริเวณใกล้เคียงจึงเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
สมองและไขสันหลังยังมีส่วนสำคัญอย่างมากในการควบคุมการทำงานของร่างกายให้ปกติ หากเกิดความเสียหายขึ้นที่โครงสร้างเหล่านี้ จึงนำมาซึ่งความพิการ หรือสูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมาก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลางมีหลายโรค ในที่นี้จะขอแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับสมอง และเยื้อหุ้มสมอง กับโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับไขสันหลังและเยื้อหุ้มไขสันหลัง จะขอยกตัวอย่างของโรคที่น่าสนใจกลุ่มละ 1 ตัวอย่าง ดังนี้
1. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
โรคนี้อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ในกรณีของเชื้อแบคทีเรียจะมีอาการรุนแรงกว่า ส่วนการติดเชื้อไวรัสมีหลายงานหลายฉบับรายงานว่า สามารถหายได้เอง ส่วนอาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่พบได้บ่อย คือ
- ปวดศีรษะ
- คอแข็ง
- กลัวแสง
- มีไข้
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย คือ
- ฝีในสมอง
- ฝีที่เหนือและใต้ต่อเยื่อหุ้มสมอง
- เส้นประสาทสมองอักเสบ
- น้ำคั่งในโพรงสมอง
- อาการชัก
ส่วนวิธีการวินิจฉัยที่เป็นที่นิยม คือ การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture)
2. โรคกระดูกสันหลังติดเชื้อ (Pyogenic vertebral osteomyelitis)
อาจเกิดจากการลุกลามของการติดเชื้อบริเวณใกล้เคียงหลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง การแพร่กระจายของเชื้อที่ก่อโรคมาตามกระแสเลือด แต่ส่วนมากไม่ทราบสาเหตุของการติดเชื้อ แต่มักพบในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีโรคเบาหวาน อายุมาก หรือผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด
การวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังติดเชื้อทำได้ยากมาก เนื่องจากอาการจะค่อยๆ รุนแรงขึ้น อาจกินเวลานานถึง 3 เดือน อาการที่พบได้บ่อย คือ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ปวดหลัง
- ปวดคอ ร่วมกับมีอาการปวดร้าว (Radicular pain) ไปที่แขน หรือขา และมักปวดเมื่อเคลื่อนไหว
- มีไข้
- มีจุดกดเจ็บตามแนวกระดูกสันหลัง อาจพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อร่วมด้วย
การวินิจฉัยที่นิยม คือ การทำเอกซเรย์ (X-ray) และตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
นอกจาก 2 โรคที่ยกตัวอย่างไปข้างต้น ยังมีโรคติดเชื้อในระบบประสาทอีกมากมาย เช่น
- โรคพยาธิตืดหมูในระบบประสาท(Neurocysticercosis)
- โรคสมองอักเสบจากเชื้อเริม (Herpes simplex encephalitis)
- วัณโรค (Tuberculosis)
- โรคโปลิโอ (Poliomyelitis)
ซึ่งการติดเชื้อเหล่านี้ เมื่อระบบประสาทส่วนกลางเกิดความเสียหายในระยะรุนแรงมักจะนำไปสู่อาการที่ทำให้การเคลื่อนไหว หรือขยับร่างกายของผู้ป่วยเปลี่ยนไป เช่น
- ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ของกล้ามเนื้อครึ่งตัวล่าง (Paraplegia) ทั้งตัว (Quadriplegia)
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity) จนรยางค์แขน หรือขาหงิกงอผิดรูป
- มีอาการกล้ามเนื้อครึ่งซีกของร่างกายอ่อนแรง (Hemiplegia) ได้
นักกายภาพบำบัดจะมีบทบาทอย่างมากในการฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้กลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติที่สุด
วิธีการตรวจโรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง
วิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันการติดเชื้อในระบบประสาท ต้องอาศัยผลจากการซักประวัติ และตรวจร่างกายประกอบกัน
อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนที่สำคัญ และแม่นยำที่สุด คือ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีกระบวนการที่แตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อ หรือสิ่งก่อโรคที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ มีด้วยกันหลายวิธี ดังนี้
- การวิเคราะห์หรือเพาะเชื้อจากน้ำเลี้ยงสมอง และไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid) เลือด หนอง หรือสารคัดหลั่งอื่นๆ
- การตรวจวินิจฉัยด้วยการถ่ายภาพภาพทางรังสีวิทยา ได้แก่
- การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan: CT Scan)
- การตรวจวินิจฉัยโรคเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI) ของสมองและไขสันหลัง
- การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยการฉีดสารทึบรังสี (Nonionic water-soluble contrast media) เข้าช่องไขสันหลัง เพื่อดูการกดทับของของระบบประสาทบริเวณไขสันหลัง (Myelography)
- การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
นอกจากนี้ ในปัจจุบันการวินิจฉัยด้านพันธุศาสตร์ (Polymerase Chain Reaction (PCR)) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการช่วยวินิจฉัยเชื้อที่มีปริมาณน้อยหรือเพาะเชื้อยากได้ดีขึ้น
วิธีการรักษาโรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง
หลักการรักษาโรคติดเชื้อในระบบประสาทมีด้วยกัน 5 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้
- ตรวจหาเชื้อที่ก่อโรค (Pathogen)
- ให้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เพื่อกำจัดเชื้อที่ก่อโรค
- จัดการกับแหล่งกำเนิดที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ
- ผ่าตัด (Surgery) เมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่า สามารถช่วยแก้ปัญหา หรือลดความพิการที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
- ฟื้นฟูให้สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด
โรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลางมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย นอกจากนี้ ในระยะแรกๆ ของโรคที่ยังมีความรุนแรงน้อย อาการจะใกล้เคียงกับภาวะเจ็บป่วยทั่วไปที่พบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ปวดหลัง มีไข้ ปวดศีรษะ
ดังนั้นหากผู้ป่วยโรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลางไม่ได้รับการวินิจฉัย และรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจจะก่อให้เกิดความพิการถาวรได้ เช่น
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงถาวร เนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลาย
- กล้ามเนื้อหดเกร็งจนเกิดการผิดรูปของอวัยวะ
- การหดลีบอย่างถาวรของกล้ามเนื้อ
หากคุณสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงเกิดการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
และเมื่อเกิดความผิดปกติหลังจากได้รับเชื้อแล้ว การทำกายภาพบำบัดก็เป็นวิธีหนึ่งที่มีประโยชน์มากในการบรรเทาหรือชะลอความพิการที่จะเกิดขึ้น การเข้ารับการรักษาอย่างเร็วที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำกายภาพบำบัด และนวดเพื่อรักษา จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ