เนื้องอกในสมอง (Brain tumour) คือการเจริญเติบโตของเซลล์สมองที่แบ่งตัวผิดปกติและไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งอาจกลายเป็นเนื้องอกมะเร็ง (Malignant tumour) หรือเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้าย (Benign tumour) ก็ได้
เนื้องอกในสมองจะถูกจัดระดับ 1-4 ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของโรค เช่น ความรวดเร็วในการเจริญเติบโต และความสามารถในการฟื้นตัวของร่างกายหลังได้รับการรักษา โดยเนื้องอกในสมองชนิดไม่ร้ายจะถูกจัดเป็นเกรด 1 หรือ 2 ซึ่งหมายถึงการเติบโตช้า และโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำหลังได้รับการรักษาน้อยมาก
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ส่วนเนื้องอกมะเร็งจะถูกจัดเป็นเกรด 3 หรือ 4 และอาจจัดเป็นเนื้องอกปฐมภูมิ (Primary tumour) ซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์สมองเอง หรือเนื้องอกทุติยภูมิ (Secondary tumour) ซึ่งเกิดจากเซลล์มะเร็งนั้นได้แพร่กระจายมาจากที่อื่น โดยกลุ่มเนื้องอกมะเร็งมีแนวโน้มจะกลับมาเป็นซ้ำหลังจากได้รับการรักษาไปแล้ว
อาการของเนื้องอกในสมอง
อาการของเนื้องอกในสมองจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับส่วนของสมองที่ได้รับผลกระทบจากเนื้องอก โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และไม่ทุเลาไปตามเวลา
- มีอาการชัก
- คลื่นไส้ อาเจียน
- มีการเปลี่ยนแปลงทางความคิดหรือพฤติกรรม เช่น ปัญหาความจำ หรือการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ
- อ่อนแรง หรือเกิดภาวะอัมพาตที่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
- มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น หรือปัญหาเกี่ยวกับการพูด
สาเหตุของโรคเนื้องอกในสมอง
ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมองอย่างแน่ชัด แต่มีหลักฐานสนับสนุนว่าภาวะทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น โรคท้าวแสนปม (Neurofibromatosis type 1) โรคทูเบอรัส สเคลอโรซิส (Tuberous sclerosis) และการได้รับรังสีรักษามาก่อนหน้านี้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในสมองได้
เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?
หากมีอาการเบื้องต้นของโรคเนื้องอกในสมอง เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีอาการชัก คลื่นไส้ หรืออ่อนแรงเป็นประจำ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะถึงแม้จะไม่ได้เกิดจากโรคเนื้องอกในสมอง แต่ก็อาจเกิดจากโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้เช่นกัน
การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง
วิธีการรักษาโรคเนื้องอกในสมองที่นิยมที่สุด คือการผ่าตัด ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อที่ผิดปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ในกรณีที่แพทย์ไม่สามารถกำจัดเนื้องอกออกได้ทั้งหมด ก็อาจจำเป็นต้องใช้การรักษาอื่นร่วมด้วย เช่น การฉายรังสีรักษาการรักษาด้วยเคมีบำบัด เพื่อฆ่าเซลล์ที่ผิดปกติที่ยังเหลืออยู่
เป็นเนื้องอกในมดลูกอันตรายมากไหมค่ะ