กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตรวจ CT scans ทำให้เป็นมะเร็งหรือเปล่า?

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจ CT scans ทำให้เป็นมะเร็งหรือเปล่า?

สำหรับผู้ที่มีอายุมากแล้ว ความเสี่ยงจากการทำ CT จัดว่ามีเพียงเล็กน้อย

จากการประมาณ ชาวอเมริกันได้รับการทำ CT scans มากกว่า 70 ล้านครั้งในแต่ละปี สิ่งนี้ทำให้เกิดความกังวลขึ้น คือ การตรวจ ทำให้คนสัมผัสกับรังสี x-rays ซึ่งสิ่งที่เรียกว่ารังสีไอออไนซ์ (ionizing radiation) สามารถทำลายเซลล์ และทำให้เกิดมะเร็งตามมาได้ แต่ในผู้ที่มีอายุมากแล้ว การตรวจ CT scans ก็ไม่ได้มีความเสี่ยงมากนักเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้จากการวินิจฉัยที่ได้จากการตรวจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

“ความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการได้รับรังสีในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จากการทำ CT ส่วนช่องอกหรือช่องท้องเพื่อการวินิจฉัยนั้นน้อยมาก หรือไม่มีเลย” “ปริมาณรังสีนั้นต่ำมาก และใช้เวลามากกว่า 20 ปี จึงจะเกิดมะเร็งได้”

อย่างไรก็ตาม คุณก็ควรเข้ารับการตรวจเท่าที่จำเป็น และเลือกแนวทางอื่นที่ไม่ต้องสัมผัสกับรังสีหากเป็นไปได้

รังสีจากการทำ CT และมะเร็ง

ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับอันตรายจากรังสีมาจากการศึกษาในผู้ที่รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูที่ญี่ปุ่น นักวิทยาศาสตร์คำนวณความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งโดยอ้างอิงจากปริมาณรังสีที่ผู้รอดชีวิตได้สัมผัส และผู้รอดชีวิตเหล่านี้จำนวนกี่คนที่เป็นมะเร็งในเวลาต่อมา

ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจ CT เพื่อการวินิจฉัยในแต่ละครั้งจะถูกวัดในหน่วย millisieverts (mSv) พวกเราทุกคนล้วนได้สัมผัสกับรังสีตามธรรมชาติอยู่แล้วในระดับหนึ่ง ทั้งจากดวงอาทิตย์ โลก และแม้แต่จากสารเคมีตามธรรมชาติบางอย่างในร่างกายของเรา โดยเฉลี่ยแล้ว รังสีจากสิ่งแวดล้อม (background radiation) ในสหรัฐอเมริกา มีค่า 3.7 mSv ต่อปี การตรวจเอกซเรย์ปอด (ทำในสองท่า) จะทำให้ผู้รับการตรวจได้รับรังสีเฉลี่ย 0.01 mSv หรือประมาณว่าเท่ากับปริมาณรังสีที่คุณได้รับจากสิ่งแวดล้อมในแต่ละวัน

ปริมาณรังสีจากการตรวจ CT จะสูงกว่านั้น การสัมผัสกับรังสีจากการตรวจ CT ช่องอกคือ 7 mSv อย่างไรก็ตาม ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ของเครื่องตรวจเพื่อลดปริมาณรังสี ปริมาณรังสีแท้จริงที่ได้สัมผัสสามารถเหลือแค่ใกล้เคียงกับ 4 mSv การตรวจ CT ช่องอกโดยใช้รังสีในขนาดต่ำเป็นเวลา 15 วินาที เพื่อตรวจหามะเร็งปอดที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย ให้ปริมาณรังสีที่ได้สัมผัสเพียง 1.5 mSv

มากแค่ไหนที่เรียกว่ามากเกินไป?

ยิ่งคุณตรวจ CT มากเท่าไหร่ การสัมผัสรังสีในช่วงชีวิตของคุณก็ยิ่งมาก และความเสี่ยงของคุณก็มากตามไปด้วย ทาง American college of radiology แนะนำว่าให้จำกัดปริมาณรังสีที่ได้รับตลอดชีวิตจากการตรวจวินิจฉัยไว้ที่ 100 mSv ซึ่งเทียบเท่ากับการตรวจเอ็กซเรย์ปอด 10,000 ครั้ง หรือการตรวจ CT ช่องอก 25 ครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในการรักษาโรคเรื้อรังหลายชนิด ซึ่งรวมถึงมะเร็ง คุณอาจได้รับการตรวจ CT มากจนถึงระดับ 100 mSv ที่กำหนดไว้ได้ นั่นเป็นเพราะการรักษาอาจจำเป็นต้องใช้การตรวจ CT เพื่อติดตาม เพื่อตัดสินใจว่าการรักษาเป็นไปได้ดีเพียงใด และเฝ้าระวังการกลับเป็นอีกของมะเร็ง ในกรณีนี้ อันตรายจากมะเร็งที่เป็นอยู่มีมากกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการตรวจ CT scans

ความเสี่ยงของคุณคืออะไร?

ตำแหน่งของร่างกายที่มักเกิดมะเร็งที่สัมพันธ์กับการตรวจ CT มักเป็นที่ช่องอก ช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน ที่มีเซลล์ที่เจริญได้เร็ว และไวต่อรังสีมากกว่า ความเสี่ยงตลอดชีวิตจากการตรวจ CT ช่องท้องเพียงหนึ่งครั้งที่สัมผัสกับรังสี 8 mSv คิดเป็น 0.05% หรือโอกาสหนึ่งใน 2,000 ที่จะเป็นมะเร็ง ลองพิจารณาดูว่าความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากมะเร็งนั้นมีประมาณหนึ่งในสี่ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งจากสาเหตุใดก็ตาม และเพิ่มขึ้นตามอายุอีกด้วย ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจาก CT นั้นมีน้อยมาก โดยสูงกว่าปริมาณรังสีที่ได้สัมผัสจากสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เหตุผลคือ หากคุณได้รับการตรวจ CT ในช่วงวัยกลางคน และที่อายุมากกว่านั้น กว่าจะเกิดมะเร็งได้ก็ต้องใช้เวลานับสิบๆ ปี ในทางกลับกัน เด็ก หรือวัยรุ่น จะมีอายุขัยยืนยาวพอที่รังสีจากการตรวจ CT ซ้ำๆ ทำให้เกิดมะเร็งได้

ถึงแม้ว่าประโยชน์จากการตรวจ CT ในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี อาจคุ้มกับความเสี่ยง แต่ไม่ควรมีใครได้รับการตรวจ CT โดยไม่มีเหตุผลที่ดีพอ แม้จะเป็นผู้ที่มีอายุในช่วง 70-80 ปีก็ตาม เราจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องรังสีไอออไนซ์ ดังนั้น หากไม่จำเป็น ก็ไม่ควรต้องได้รับ ทำการตรวจ CT เท่าที่จำเป็น ในสถาบันที่มีอุปกรณ์ทันสมัยที่ให้ปริมาณรังสีเท่าที่ต้องใช้เท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ทำ CT Scan ช่องท้อง ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What are the Radiation Risks from CT?. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/radiation-emitting-products/medical-x-ray-imaging/what-are-radiation-risks-ct)
No evidence that CT scans, X-rays cause cancer'. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/306067)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะมีลมในช่องท้อง ท้องอืด และมะเร็งลำไส้ใหญ่
ภาวะมีลมในช่องท้อง ท้องอืด และมะเร็งลำไส้ใหญ่

ถอดรหัสสัญญาณแสดงอาการปวดในทางเดินอาหาร

อ่านเพิ่ม
รู้จัก “ไฟโบรสแกน” เทคโนโลยีตรวจตับแบบใหม่ที่หลายคนยังไม่รู้
รู้จัก “ไฟโบรสแกน” เทคโนโลยีตรวจตับแบบใหม่ที่หลายคนยังไม่รู้

ไฟโบรสแกน เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการตรวจโรคเกี่ยวกับตับ โดยจะใช้เพื่อตรวจหาไขมันที่สะสมอยู่ในตับและภาวะพังผืดในเนื้อตับโดยเฉพาะ

อ่านเพิ่ม