ไฟโบรสแกน (FibroScan) ศัพท์ใหม่ทางการแพทย์ที่หลายคนอาจไม่รู้จักและไม่คุ้นเคย ทำให้เกิดความสงสัยว่า มันคืออะไร และมีความสำคัญกับการรักษาทางการแพทย์อย่างไร
ไฟโบรสแกนคืออะไร
ไฟโบรสแกน เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการตรวจโรคเกี่ยวกับตับโดยจะใช้เพื่อตรวจหาไขมันที่สะสมอยู่ในตับและภาวะพังผืดในเนื้อตับโดยเฉพาะ ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บหรือเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหมือนกับการตรวจแบบเดิมๆ ที่ต้องใช้วิธีการเจาะตับ นอกจากนี้ก็สามารถตรวจก่อนป่วยได้อีกด้วย เพราะยิ่งตรวจก่อน รู้ก่อนก็จะยิ่งทำให้รักษาได้ทันและมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หลักการทำงานของไฟโบรสแกน
ทำงานโดยใช้เทคโนโลยี VCTETM (Vibration Controlled Transient Elastrography) โดยปล่อยคลื่นความถี่ 50 เฮิรตซ์ ที่ทำใหรู้สึกสั่นสะเทือนบรเิวณผิวหนัง ผ่านเขำ้ไปยังตับ และวัดความเร็วของคลื่นที่เคลื่อนกระจายผ่านเนื้อตับด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง แล้วเครื่องจะประมวลผลออกมาว่า มีปริมาณพังผืดในตับมากน้อยเพียงใด
ส่วนการตรวจหาไขมันในตับจะใช้เทคนิค CAP (Controlled Attenuation Parameter) โดยวัดการลดทอนของคลื่นเสียงความถี่สูงที่เข้าและออกจากตับ หากตับมีไขมันสะสมมากก็จะได้ผล CAP ที่สูงนั่นเอง
การตรวจด้วยเครื่องไฟโบรสแกนเจ็บหรือไม่
สำหรับการตรวจรักษาด้วยเครื่องไฟโบรสแกนไม่มีอาการเจ็บปวด หรืออันตรายใดๆ ทั้งสิ้น โดยจะใช้เวลาเพียงแค่ 5-10 นาทีเท่านั้น แต่ในขณะตรวจอาจจะรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับปลายหัวตรวจเล็กน้อย ฉะนั้นสำหรับใครที่ต้องตรวจเช็คสุขภาพตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกนก็หมดกังวลในเรื่องนี้ได้ แถมยังสามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้งโดยไม่เป็นอันตรายอีกด้วย
ขั้นตอนการตรวจไฟโบรสแกน
สำหรับขั้นตอนในการตรวจสุขภาพด้วยเทคโนโลยีไฟโบรสแกนมีขั้นตอนที่เรียบง่าย ไม่ยุ่งยากดังนี้
- ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องนอนหงายลงบนเตียงที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ โดยให้ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นไว้เหนือศีรษะของตนเอง
- แพทย์จะทาเจลที่หัวตรวจ หรือผิวหนังของผู้เข้ารับการตรวจเล็กน้อย ซึ่งเป็นตัวช่วยที่จะทำให้ผลในการตรวจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ใช้เครื่องมือตรวจไฟโบรสแกนตรวจวัดที่บริเวณกลางเนื้อตับประมาณ 10 ครั้งในจุดเดียวกัน
- รอผลที่ได้ โดยแพทย์จะแปลข้อมูลจากผลให้ผู้รับการตรวจทราบพร้อมให้คำแนะนำ หากพบว่า มีภาวะพังผืดและไขมันในตับสูงก็จะส่งตัวเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
คำแนะนำในการตรวจไฟโบรสแกน
- งดน้ำและอาหาร 3 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ
- ห้ามใช้ตรวจกับอวัยวะอื่นๆ เนื่องจากไฟโบรสแกนถูกออกแบบมาให้ใช้กับการตรวจความผิดปกติของตับเท่านั้นจึงไม่ควรใช้กับการตรวจอวัยวะอื่นๆ เพราะอาจจะทำให้เกิดผลกระทบจนเป็นอันตรายได้
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่ติดอุปกรณ์ในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pace maker) สามารถตรวจวัดได ้หากมีความจำเป็นต้องตรวจตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
- สำหรับผู้มีภาวะท้องมานซึ่งมีน้ำในช่องท้องมาก สามารถตรวจวัดได้และมีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยแต่จะไม่ประสบผลสำเร็จในการตรวจวัด เนื่องจากคลื่นของเครื่องไฟโบรสแกนที่ใช้ตรวจวัดจะไม่สามารถผานน้ำในช่องท้องได้
- สำหรับหญิงตั้งครรภ์ หากมีความจำเป็นต้องตรวจตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
อาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจความผิดปกติของตับ
จะรู้ได้อย่างไรว่า กำลังป่วยด้วยโรคตับซึ่งควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจโดยด่วน แนะนำให้สังเกตจากอาการและปัจจัยดังต่อไปนี้
- มีอาการตาเหลืองและตัวซีดเหลืองผิดปกติ เพราะนั่นอาจหมายถึงการทำงานของตับที่ผิดปกติไปจึงไม่สามารถขจัดสารที่ทำให้ตัวเหลืองได้นั่นเอง
- อ่อนเพลีย แม้จะนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและมักจะมีอาการอาหารไม่ย่อยบ่อยๆ เนื่องจากตับไม่สามารถหลั่งเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารออกมาได้
- มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคมะเร็งตับเพราะมีโอกาสที่บุคคลอื่นๆจะป่วยด้วยโรคนี้ได้สูง
- เป็นผู้ที่เคยดื่มสุราเรื้อรังหรือในปัจจุบันก็ยังดื่มอยู่ เพราะพิษสุราจะทำลายตับโดยตรง
ไฟโบรสแกนเป็นเครื่องมือในการตรวจความผิดปกติของตับที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยสามารถทราบผลได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพที่ดี ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรืออาการแทรกซ้อนใดๆ อีกด้วย ปัจจุบันมีการไฟโบรสแกนมาใช้ในทางการแพทย์อย่างแพร่หลายแทนวิธีตรวจแบบดั้งเดิม ดังนั้นหากใครมีอาการผิดปกติ หรือมีปัจจัยที่อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับสามารถเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องไฟโบรสแกนพร้อมทำการรักษาได้ทันที