ตับโต คือ ภาวะที่ตับมีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากเนื้อเยื่อตับทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรืออาจเกิดความผิดปกติขึ้นที่ตับ จนทำให้ตับทำงานแย่ลง
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%
ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่
อาการของภาวะตับโต
หากตับโตขึ้นเองตามปกติโดยที่ไม่ได้เกิดจากโรคอื่น จะไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ ขึ้นทั้งสิ้น แต่ถ้าตับโตขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ อาจพบอาการต่อไปนี้ร่วมอยู่ด้วย
- ดีซ่าน (Jaundice) หรืออาการตัวเหลือง ตาเหลือง
- ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง หรือมีก้อนที่ท้อง
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ขาและเท้าบวม
- ฟกช้ำง่าย
- ท้องบวม ท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น
และถ้าหากพบอาการปวดท้องอย่างรุนแรง มีไข้ อาเจียนมีเลือด หายใจลำบาก และมีเลือดปนออกมากับอุจจาระร่วมกับการมีตับโต ให้รีบโทรเรียกรถพยาบาลที่สายด่วน 1669 หรือรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเกิดจากภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์บางชนิด
สาเหตุของภาวะตับโต
ภาวะตับโต มักเกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- โรคมะเร็งที่แพร่กระจายจากตำแหน่งอื่นมาที่ตับ
- โรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Nonalcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD))
- ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด
- มะเร็งตับ (Liver Cancer)
- ตับแข็ง (Cirrhosis)
- ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส (Viral hepatitis)
- โรคตับจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic liver disease)
- ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) เป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปยังเส้นเลือดดำที่ตับ (Hepatic veins) ทำให้เกิดการคั่งของเลือดและทำให้ตับมีขนาดโตขึ้น
ในบางครั้ง อาจพบอาการตับโตได้จากสาเหตุต่อไปนี้
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
- มะเร็งมัลติเพิลมัยอีโลมา (Multiple myeloma) : มะเร็งของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งในไขกระดูกที่ชื่อว่า Plasma cells
- ภาวะเหล็กเกิน (Hemochromatosis) : เกิดจากการสะสมของธาตุเหล็กในตับมากเกินไป
- โรควิลสัน (Wilson’s disease) : ภาวะที่มีการคั่งของทองแดงในตับ
- โรคเกาเชอร์ (Gaucher’s disease) : โรคที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในตับ
- ตับอักเสบจากสารพิษ (Toxic hepatitis)
- การอุดตันของท่อน้ำดีหรือถุงน้ำดี (Bile duct or gall bladder obstruction) : ภาวะที่มีการคั่งของน้ำดีและมีการอักเสบภายในตับ
- ซีสต์ในตับ (Hepatic cysts) : การมีถุงของเหลวหรือถุงซีสต์เกิดขึ้นภายในตับ
พันธุกรรม ก็มีส่วนทำให้เกิดตับโตได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีบุคคลในครอบครัว มีประวัติเป็นโรคอ้วน โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune disorders) โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease) โรคตับเรื้อรัง (Chronic liver disease) และโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell disease)
การวินิจฉัยภาวะตับโต
ตับเป็นอวัยวะรูปสามเหลี่ยม ตั้งอยู่ด้านล่างกระบังลม (Diaphragm) ใต้ขอบล่างของซี่โครงขวา โดยแพทย์อาจตรวจพบอาการตับโตได้ขณะตรวจร่างกาย เพราะหากตับอยู่ในสภาพปกติ จะไม่สามารถคลำได้ด้วยนิ้วมือเพียงอย่างเดียว
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%
ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่
ในการพิจารณาสาเหตุของภาวะตับโต แพทย์อาจขอให้มีการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด : เพื่อดูว่ามีความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดหรือไม่
- ตรวจเอนไซม์ตับ (Liver enzymes) : เพื่อประเมินการทำงานของตับ
- ตรวจเอกซเรย์ช่องท้อง : เพื่อประเมินอวัยวะภายในช่องท้อง
- การตรวจซีทีสแกน (Computed Tomography (CT) Scan) : เพื่อให้ได้ภาพภายในช่องท้องที่ละเอียดมากขึ้น
- การตรวจเอ็มอาร์ไอ (Magnetic resonance imaging (MRI)) : เพื่อให้ได้ภาพที่จำเพาะเจาะจงต่ออวัยวะภายในช่องท้องซึ่งเป็นภาพที่มีความละเอียด
- การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) : เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงเพื่อประเมินตับและอวัยวะอื่นภายในช่องท้อง
หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรง แพทย์อาจแนะนำให้ทำเก็บชิ้นเนื้อที่ตับไปตรวจ (Liver Biopsy) ด้วยกล้องจุลทรรศน์
การรักษาภาวะตับโต
ทางเลือกในการรักษา จะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะตับโต แต่โดยทั่วไปแล้วแพทย์มักจะรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- การใช้ยา สำหรับรักษาภาวะตับวายหรือภาวะตับติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบ C
- การใช้ยาเคมีบำบัด การผ่าตัด หรือการฉายรังสี สำหรับโรคมะเร็งตับ
- การปลูกถ่ายตับ สำหรับผู้ที่ตับถูกทำลาย
- การรักษามะเร็งระยะแพร่กระจายที่จุดเริ่มต้นของมะเร็ง
- การหยุดดื่มแอลกอฮอล์ หรือหยุดการใช้ยาใดๆ ที่เป็นสาเหตุของตับโต
การป้องกันการเกิดภาวะตับโต
เนื่องจากมีปัจจัยด้านพฤติกรรมหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะตับโต ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้ เช่น
- รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากป่วยเป็นโรคเบาหวาน
- จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ หรือเลิกดื่มแอลกอฮอล์
- ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานสมุนไพร เพราะสมุนไพรหลายชนิดสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อตับได้
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%
ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่
ที่มาของข้อมูล
Verneda Lights and Rachel Nall, What Causes Liver Enlarged? (https://www.healthline.com/symptom/liver-enlarged), August 22, 2016.